การค้า-อุตสาหกรรม
เตือนรับมือสงครามการค้าจับตาผลกระทบไตรมาส 4


นักเศรษฐศาสตร์ เตือนรับมือสงครามการค้า กระทบค่าเงินตลาดเกิดใหม่ดิ่งรุนแรง  ส่งผลต่อการส่งออก  เชื่อเห็นผลชัดเจนในไตรมาส

 

       

 

ดร.อนุสรณ์  ธรรมใ  คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  กล่าวถึงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มลุกลามเพิ่มขึ้น  รวมถึงผลกระทบสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้นว่า  การลุกลามของวิกฤติเศรษฐกิจและการดิ่งลงของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น   รวมทั้งเงินทุนระยะสั้นเก็งกำไรไหลเข้าตลาดตราหนี้ของไทยเพิ่มขึ้น   กดดันให้เงินบาทแข็งค่ามากขึ้นจนกระทบต่อภาคส่งออก                

ขณะที่ผลกระทบจากการขยายวงของสงครามทางการค้า  จะทำให้ปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสี่  ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาผลของการทำประชาพิจารณ์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มเติมมูลค่า 2  แสนล้านดอลลาร์หรือไม่  หากมีการตัดสินใจเดินหน้าเก็บภาษีจากจีนเพิ่มเติมอีก 2 แสนล้านดอลลาร์  คาดว่าจีนจะทำการตอบโต้ทางการค้าในระดับเดียวกัน จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกค่อนข้างมาก      

นอกจากนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศในตลาดเกิดใหม่  จะไม่สามารถหยุดยั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นรุนแรงและการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงของค่าเงินได้  การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด  ลดการขาดดุลงบประมาณ ลดภาระหนี้สินต่างประเทศ คือ ทางออกของวิกฤติค่าเงิน  ประเทศที่มีการเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด  ล้วนมีค่าเงินที่มีเสถียรภาพและไม่เป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีให้อ่อนค่าล     

อย่างไรก็ตามผลกระทบจากวิกฤติค่าเงินในตลาดเกิดใหม่นั้น  ยังกระทบไทยค่อนข้างจำกัด ขณะนี้ประเทศไทยมีการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับ 45-47 พันล้านดอลลาร์ มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากกว่า2  แสนล้านดอลลาร์  มีหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นไม่มาก อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานยังค่อนข้างต่ำ   สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของภาคธุรกิจแม้นเพิ่มขึ้น  แต่ยังคงเป็นการกู้เงินในประเทศเป็นหลัก  ดังนั้นหากเกิดกระแสเงินไหลออกและต้องชำระหนี้ต่างประเทศ   ภาคธุรกิจไทยอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถรับมือได้


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 ก.ย. 2561 เวลา : 09:31:52
16-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 16, 2025, 5:44 pm