ซีบรา เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (สัญลักษณ์หุ้นในตลาดNASDAQ: ZBRA) ผู้นำตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องสแกนบาร์โค้ด และเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ได้รับการเสริมประสิทธิภาพด้วยซอฟต์แวร์และบริการเพื่อให้องค์กรสามารถมองเห็นข้อมูลทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ The Future of Fulfillment Vision Study (Asia-Pacific Edition) หรือ “เทรนด์ในอนาคตของบริการ Fulfillment” ซึ่งเป็นงานสำรวจที่มุ่งวิเคราะห์ว่าบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ (T&L) และธุรกิจค้าปลีกกำลังเตรียมตัวอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจแบบ on-demand.
อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) รายงานว่าในปี 2020 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 5.6 พันล้านบาท การเติบโตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนี้ส่งผลให้ธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมต้องปรับตัว โดยจากผลสำรวจของซีบราพบว่า ธุรกิจค้าปลีกจำเป็นต้องขยายศูนย์ Fulfillment center ให้มากขึ้นในขณะที่บริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สิบปีต่อจากนี้ไปจะเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของหลายภาคธุรกิจและผลสำรวจจากซีบราได้รวบรวมสิ่งที่ผู้นำธุรกิจและองค์กรกำลังมองหาในอีก 5 ปีข้างหน้ามารวบรวมไว้ในรายงานนี้
มร. ทาน อิ๊ก จิน, ผู้จัดการธุรกิจ Vertical Solutions, ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า "ด้วยแรงผลักดันจากเหล่านักช้อปที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและเชื่อมต่อการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต และบริษัทโลจิสติกส์จึงร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนบทบาทในรูปแบบที่ไม่มีมาก่อนเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ซื้อในด้านการจัดส่งสินค้าผ่าน omni-channelจากการศึกษาวิจัยในหัวข้อ Future of Fulfillment Vision Study ของซีบราพบว่า ร้อยละ 95 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกเห็นว่า อีคอมเมิร์ซกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการส่งมอบที่เร็วขึ้น เพื่อการตอบสนองแนวโน้มดังกล่าว บริษัทต่างๆ กำลังหันไปใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและ analytics เพื่อนำระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบที่ช่วยในการมองเห็นสินค้า และbusiness intelligence (เทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และสรุปภาพรวมของข้อมูลทางธุรกิจในหลายมิติ) ไปใช้ในซัพพรายเชนเพื่อแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบ on-demand ตามความต้องการของผู้ซื้อ"
จากผลสำรวจของซีบรา พบว่า ร้อยละ 67 ของบริษัทโลจิสติกส์คาดการณ์ว่าภายในปี 2023 จะสามารถจัดส่งพัสดุถึงที่หมายภายในวันเดียวกันได้ และร้อยละ 55 คาดว่าภายในปี 2028 จะสามารถให้บริการจัดส่งพัสดุได้ถึงที่หมายภายในสองชั่วโมง นอกจากนี้ ร้อยละ 96 ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะใช้บริการจัดส่งแบบ crowdsourced delivery หรือเครือข่ายผู้ขับขี่ที่เลือกให้บริการตามคำสั่งซื้อบางรายการภายในปี 2028
ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการปฏิบัติงานที่ธุรกิจค้าปลีกต้องการให้เกิดขึ้นโดย 7 ใน 10 ของผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยว่า จะมีผู้ค้าปลีกจำนวนมากขึ้นที่เปลี่ยนร้านค้าให้กลายเป็น fulfillment center ที่สามารถรองรับการคืนสินค้า ภายในปี 2023 ร้อยละ 99 ของร้านค้าปลีกวางแผนที่จะให้บริการแบบสั่งซื้อออนไลน์และรับของที่ร้านเพื่อให้การบริการFulfillment มีความคล่องตัวมากขึ้น
ขั้นตอนในการรับคืนสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับธุรกิจค้าปลีกและบริษัทโลจิสติกส์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 93 ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นพ้องกันว่า การรับและจัดการการคืนสินค้ายังคงเป็นเรื่องท้าทาย กระบวนการการรับคืนสินค้าในหลายธุรกิจยังมีข้อบกพร่องและต้องการการพัฒนา ปัจจุบัน ร้อยละ 58 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นธุรกิจค้าปลีกคิดค่าบริการเพิ่มกรณีคืนสินค้า และร้อยละ 71 ไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนนโยบายนี้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบกล่าวว่า เงินทุนเพื่อจัดตั้งและค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินการเพื่อให้บริการแบบomni-channel หรือบริการที่มีทั้งช่องทางอ๊อฟไลน์คือมีหน้าร้าน และออนไลน์คือมีเว็บไซต์ ถือเป็นความท้าทายหลัก โดยมีเพียงร้อยละ 42 ของซัพพลายเชนที่ตอบแบบสอบถาม ให้บริการในแบบ omni-channel ซึ่งขัดแย้งเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีผู้บริโภคกว่าร้อยละ 73 ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านทั้งช่องทางอ๊อฟไลน์และออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 55 ขององค์กรยังคงทำงานแบบใช้ปากกาและกระดาษจดซึ่งด้อยประสิทธิภาพในการรองรับการบริการแบบ omni-channel
ภายในปี 2021 ร้อยละ 99 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ให้บริการโลจิสติกส์ผ่าน omni-channel จะใช้คอมพิวเตอร์พกพาที่มีเครื่องสแกนบาร์โค้ด การอัพเกรดจากระบบงานแบบ manual ที่ใช้กระดาษและปากกาจัดทำเอกสาร ไปสู่การใช้คอมพิวเตอร์พกพาที่มีเครื่องสแกนบาร์โค้ดหรือแท็บเล็ตเพื่อช่วยปรับปรุงการจัดการโลจิสติกส์ผ่าน omni-channel ให้สามารถเข้าถึงระบบการจัดการคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ได้มากขึ้น
ในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นระดับผู้บริหารและมองการณ์ไกล ระบุว่า ซัพพรายเชนต้องมีโซลูชั่นส์ที่เชื่อมโยง มีข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ และเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็ว ความแม่นยำ และความคุ้มค่าในการขนส่งและแรงงานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจคาดว่า เทคโนโลยีใหม่ที่จะพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจ (หรือที่เรียกกันว่า disruptive technologies) มากที่สุด ก็คือ โดรน หรือยานพาหนะที่ไร้คนขับ/ขับขี่ได้เอง, เทคโนโลยีที่สวมใส่ไว้กับร่างกาย(wearable)และเทคโนโลยีพกพา รวมถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี RFID (radio-frequency identification) และแพลตฟอร์มการจัดการสินค้าคงคลังจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 เป็น 95 ในปี 2028 ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ tagging solution ที่ขับเคลื่อนโดย RFID จะช่วยให้สามารถมองเห็นข้อมูลสินค้าคงคลังได้ลึกลงไปถึงระดับรายการย่อยและเป็นปัจจุบันมากที่สุด ทั้งยังเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลสินค้าคงคลังและความพึงพอใจของผู้ซื้อพร้อมกับลดปัญหาสินค้าขาดหรือมีมากเกินความต้องการในสต๊อก หรือปัญหาความผิดพลาดในการเติมสินค้า
ซีบราเปิดตัวเครื่องพิมพ์แบบพกพารุ่นใหม่และโซลูชั่น RFID ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในและนอกสถานที่ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาในแวดวงการให้บริการด้าน fulfillment เครื่องพิมพ์แบบพกพา ZQ300 Series ใหม่ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้กับพนักงานขณะลงพื้นที่ ภายในคลังสินค้า หรือพนักงานหน้าร้าน ด้วยขีดความสามารถในการพิมพ์แบบon-demand ในขณะที่เครื่องอ่าน RFID แบบ fixed UHF รุ่น FX9600 จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าปริมาณมากในคลังสินค้าหรือที่ท่าเก็บสินค้าได้อย่างแม่นยำ
นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างมากในประเทศไทยสร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสทางธุรกิจ เราเห็นเทรนด์สำคัญๆในหลายธุรกิจซึ่งมีการปรับตัวเพื่อให้บริการผู้บริโภคทั้งแบบอ๊อฟไลน์และออนไลน์ มีการศึกษาและนำข้อมูลการใช้บริการของผู้บริโภคมาใช้ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการจัดส่งที่รวดเร็วมากขึ้น ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานโดยการใช้เทคโนโลยีอย่าง ปริ้นเตอร์และคอมพิวเตอร์แบบพกพาซึ่งให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในหน้าร้านค้าหรือลงพื้นที่พบลูกค้า”
จากรายงานพบว่า:
• ซีบราเผยผลสำรวจในหัวข้อ The Future of Fulfillment Vision Study (Asia-Pacific Edition) หรือ “เทรนด์ในอนาคตของบริการ Fulfillment”
• การศึกษาพบว่า ร้อยละ 67 ของบริษัทโลจิสติกส์คาดการณ์ว่าภายในปี 2023 จะสามารถจัดส่งพัสดุถึงที่หมายภายในวันเดียวกันได้ และร้อยละ 55 คาดว่าภายในปี 2028 จะสามารถให้บริการจัดส่งพัสดุได้ถึงที่หมายภายในสองชั่วโมง
• ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยว่า จะมีผู้ค้าปลีกจำนวนมากขึ้นที่เปลี่ยนร้านค้าให้กลายเป็น Fulfillment centerที่สามารถรองรับการคืนสินค้า และยอมับว่าการรับและจัดการการคืนสินค้ายังคงเป็นเรื่องท้าทาย
ปัจจุบัน ร้อยละ 55 ขององค์กรยังคงทำงานแบบใช้ปากกาและกระดาษจดซึ่งด้อยประสิทธิภาพ ในการรองรับการบริการแบบ omni-channel
· มีการคาดการณ์กันว่า การใช้เทคโนโลยี RFID (radio-frequency identification) และแพลตฟอร์มการจัดการสินค้าคงคลัง จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 เป็น 95 ในปี 2028 ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ tagging solution ที่ขับเคลื่อนโดย RFID ช่วยให้สามารถมองเห็นข้อมูลสินค้าคงคลังได้ลึกลงไปถึงระดับรายการย่อยและเป็นปัจจุบันมากที่สุด ทั้งยังเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลสินค้าคงคลังและความพึงพอใจของผู้ซื้อไปพร้อมกับลดปัญหาสินค้าขาดหรือมีมากเกินความต้องการในสต๊อก หรือปัญหาความผิดพลาดในการเติมสินค้า
• เครื่องพิมพ์แบบพกพาระดับกลาง ZQ300 Series มาพร้อมระบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินและฉลาก รวมถึงตัวเลือกในการเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่และการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เครื่องพิมพ์ ZQ300 ถูกพัฒนามาให้แข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม ตั้งแต่การใช้งานหน้าร้านค้าปลีกไปจนถึงคลังสินค้าและการใช้งานนอกสถานที่ ตัวเครื่องถูกปิดผนึกอย่างดีเพื่อป้องกันฝุ่นละออง สิ่งสกปรก และของเหลว ตามมาตรฐาน IP54 และได้รับการทดสอบอย่างเข้มงวดเพื่อให้สามารถทนต่อการหล่นและตกกระแทก
• ด้วยคลื่นวิทยุ (RF) ความถี่สูง เครื่องอ่านแบบ fixed RFID รุ่น FX9600 ให้ความแม่นยำสูงและช่วงระยะการสแกนที่ยาว แม้ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้คลื่นความถี่หนาแน่นหรือผ่านวัสดุที่ปิดกั้นคลื่นความถี่ได้มาก FX9600 ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่สมบุกสมบันมากๆ โดยสามารถทำงานได้แม้ในจุดที่เปียกชื้น เต็มไปด้วยฝุ่น มีความร้อนสูง หรือแม้กระทั่งอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์
ข่าวเด่น