การค้า-อุตสาหกรรม
การจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ นางกุลณี  อิศดิศัยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของ     กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนสิงหาคม 2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

ผลการจดทะเบียนธุรกิจ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนสิงหาคม

 • จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่  มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศในเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 6,446 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 5,964 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 482 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2560 จำนวน  7,159 ราย ลดลงจำนวน 713 ราย คิดเป็นร้อยละ 10

• ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 583 ราย คิดเป็น  ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 369 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 177 ราย คิดเป็นร้อยละ 3

มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่  ในเดือนสิงหาคม 2561  มีจำนวนทั้งสิ้น 23,233 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 26,354 ล้านบาท ลดลงจำนวน 3,121 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2560  จำนวน 47,354 ล้านบาท ลดลงจำนวน 24,121 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51

 ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน  โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 6,313 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.94 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท             มีจำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.84  และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.22  โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 ราย ได้แก่ ธุรกิจประกอบกิจการให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจโฮลดิ้ง และธุรกิจผลิต ประกอบ จำหน่ายซื้อขายกระเบื้องเซรามิก ธุรกิจละ 1 ราย โดยมีมูลค่าทุนรวมทั้งสิ้น 7,993 ล้านบาท

 

 

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ เดือนสิงหาคม

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น  ( วันที่ 31 .. 61)  ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน710,587 ราย  มูลค่าทุน 17.96 ล้านล้านบาท  จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 184,739 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.00  บริษัทจำกัด จำนวน 524,639 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.83  และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,209 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17

 ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน  ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 628,150 ราย คิดเป็นร้อยละ 88  รวมมูลค่าทุน 1.02 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6  รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 67,901 ราย  คิดเป็นร้อยละ 10 รวมมูลค่าทุน 1.83 ล้านล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 10 และช่วงทุนมากกว่า  100 ล้านบาท  จำนวน 14,536 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 รวมมูลค่าทุน 15.11 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ตามลำดับ 

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนสิงหาคม

จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,740 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน  1,688 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน  52 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2560 จำนวน 1,755 ราย ลดลงจำนวน 15 ราย  คิดเป็นร้อยละ

ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก   ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป  จำนวน 163 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  จำนวน 103 ราย คิดเป็นร้อยละ 6  และธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ  

มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ  ในเดือนสิงหาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,156 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 6,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,874 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2560  จำนวน 7,845 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจำนวน 2,311 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29

 ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน  โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 1,643 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.43 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.29 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.28

 

การคาดการณ์ตลอดปี 2561


อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (..- ..61)  มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 49,958 ราย  เพิ่มขึ้น จำนวน 878 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (..-..60) จำนวน 49,080 ราย ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัว อยู่ในเกณฑ์ที่ดีจากภาคการส่งออก รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค โดยมีดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน .. 61 สูงสุดในรอบ 64 เดือน อยู่ที่ระดับ 83.2 ตลอดจนการวางแนวทางในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น  สำหรับภาคการท่องเที่ยวถึงแม้จะมีเหตุปัจจัยลบมากระทบกับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวแต่ภาครัฐได้เร่งรณรงค์ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และมีการจัดโปรโมชั่นต่างๆเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว จึงคาดว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวให้ฟื้นกลับมาโดยเร็ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน การได้รับการลดหย่อยภาษี และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ รวมทั้งมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐมากยิ่งขึ้น และจากการที่กรมได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรมได้มีการปรับลดความยุ่งยากของขั้นตอนการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (Ease of Doing Business) โดยลดขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจโดยการรวมขั้นตอนการจองชื่อและจดทะเบียนนิติบุคคลออนไลน์เป็นขั้นตอนเดียวกัน (จากเดิมมี 2 ขั้นตอน) และลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่ยื่นผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 เมษายน 2561 จากเดิม 5,500 - 275,000 บาท เป็น 5,500 บาท   อัตราเดียว และการจดทะเบียนออนไลน์ e-Registration 3,850 บาท  กรมจึงได้คาดการณ์การ   จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตลอดปี 2561 ไว้ที่ไม่น้อยกว่า 80,000 ราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการประกาศใช้มาตรการการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายดังกล่าว  

 

การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือน สิงหาคม 2561

e – Certificate File

กรมได้ยกระดับการอำนวยความสะดวกในการรับบริการขอหนังสือรับรองนิติบุคคลแก่ประชาชนไปอีกขั้น โดยการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และส่งให้กับผู้ยื่นขอผ่านทางอีเมล์ อีกทั้งยังรองรับการจัดส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลในรูปแบบไฟล์ให้แก่หน่วยงานที่รับจดแจ้งโดยตรง ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและ         ลดขั้นตอนแก่ผู้ใช้บริการมีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 โดยในเดือนสิงหาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ รวม 1,881 ราย ซึ่งขอใช้บริการผ่านช่องทาง www.dbd.go.th

ขั้นตอนในการขอใช้บริการ

1. ยื่นขอรับหนังสือรับรองผ่านทางอินเทอร์เน็ต ชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง 

2. หนังสือรับรองนิติบุคคลที่ผ่านการตรวจสอบและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยนายทะเบียน จะถูกจัดส่งในรูปแบบไฟล์หนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ยื่นขอทางอีเมล์ พร้อมกำหนดรหัสการเปิดเอกสารไฟล์

3. ผู้ยื่นขอดาวน์โหลดเป็นรูปแบบไฟล์ PDF ส่งให้แก่หน่วยงาน

4. นายทะเบียนจะรับรองหนังสือนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการพิมพ์ออกเป็นเอกสารถือเป็นสำเนาและเป็นการรับรองของผู้พิมพ์ออก

5. สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในหน้าหนังสือรับรองฯ ผ่านทาง QR Code และตรวจสอบได้ภายใน 1 เดือน

6. อัตราค่าธรรมเนียม ไฟล์ละ 200 บาท

มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดของ ...ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ .. 2544 และฉบับแก้เพิ่มเติม ..2551

e - Secured

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียน           ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้น       ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือผ่านระบบ mobile application (ios และ android) บนสมาร์ทโฟน โดยตั้งแต่ วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 232,844 คำขอ  มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 5,003,871 ล้านบาท โดยมีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน

สำหรับเดือนสิงหาคม 2561 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 13,806 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 57,249 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ มากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 65.94 (มูลค่า 37,752 ล้านบาท)  รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง เครื่องจักร คิดเป็นร้อยละ 33.98  (มูลค่า 19,454 ล้านบาท)  และกิจการ คิดเป็นร้อยละ 0.07 (มูลค่า 43 ล้านบาท

ทั้งนี้ กรมได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ “กำหนดให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า เป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้” ขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับปรุงร่างกฎกระทรวงตามมติที่ประชุม ก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นลำดับถัดไป ซึ่งกรมได้กำหนดจัดสัมมนานำร่อง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการที่จะนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ก่อนที่ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ โดยจัดโครงการสัมมนา “ไม้ยืนต้นมูลค่าสูง” ทรัพย์ตัวใหม่ของหลักประกันทางธุรกิจ ในวันพุธที่ 12 กันยายน 2561  โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากกรมป่าไม้และ ... ร่วมเป็นวิทยากร

 


 

DBD e - Registration

 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เริ่มให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด) ผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) โดยการนำเทคโนโลยีมาให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล  ได้อย่างครบวงจร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งแต่วันที่  20 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา จนถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2561 มีผู้สมัครลงทะเบียน จำนวน 48,915 ราย ได้รับการอนุมัติและเข้าไปยืนยันการใช้ระบบ (Activate) จำนวน 26,204 ราย และมีการรับจดทะเบียนนิติบุคคล                   ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) จำนวน 8,079 ราย ซึ่งในปี 2561 (..-..) มีการรับจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) จำนวน 4,869 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 ของการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ทั้งหมด

            กรมได้พัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน เช่น การยืนยันตัวบุคคลและนิติบุคคล, การมอบอำนาจให้ผู้แทนรับจดทะเบียนแทน, การลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทที่ยื่นทางระบบอิเล็กทรอนิกส์การจองชื่อนิติบุคคลพร้อมจดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นตอนเดียว ซึ่งเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกและลดความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อระยะเวลาการเริ่มต้นธุรกิจจากเดิม 4.5 วัน ลดเหลือ 2 วัน นอกจากนี้กรมยัง  ลดค่าธรรมเนียมให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration ลงอีกร้อยละ 30 (3,850 บาท) จากเดิม 5,500 – 275,000 บาท

                รวมถึงการพัฒนาระบบ e-Registration ให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการใช้ระบบ ด้วยการเชื่อมโยงระบบการเงินกับธนาคารพาณิชย์ ปรับปรุงระบบเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น User Friendly และเพิ่มช่องทาง Smart Devices เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง พัฒนาระบบ e-Registration สามารถรองรับการให้บริการแบบ 2 ภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) เพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศ และเพิ่มช่องทางออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์



DBD e - Filing

        กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชนและนิติบุคคลทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558 เป็นต้นมา ในปีงบการเงิน 2560 นิติบุคคลที่ต้องส่งงบการเงินมี จำนวน 617,099 ราย โดยมีนิติบุคคลที่ส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD e-Filing  วันที่ 31 สิงหาคม 2561 จำนวน 472,341 ราย คิดเป็นร้อยละ 91 ของนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินแล้ว  โดยกรมได้เชื่อมโยงกับกรมสรรพากรให้นิติบุคคลที่ยื่นผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD e - Filing กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นการส่งงบการเงินให้กรมสรรพากร โดยอัตโนมัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร วันที่ 27 เมษายน 2561        

                โดยในปีนี้กรมพัฒนาระบบ DBD e - Filing ให้ง่ายและสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการนำส่งงบการเงินที่มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกรมมีเป้าหมายให้นิติบุคคลนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์              แทนการนำส่งในรูปแบบกระดาษ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่มีแนวทางขับเคลื่อนประเทศทั้งส่วนราชการ และภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีผ่านการบูรณาการในการทำงานตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล โดยกรมจะผลักดันการส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้เป็นการนำส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ 100% และขยายสู่การส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 100% ภายในปี 2562


e – Commerce

             เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ กรมได้รับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้ทำเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการในการยืนยันตัวตนของผู้ประกอบธุรกิจ หากมีข้อพิพาทสามารถติดตามหาตัวผู้ประกอบธุรกิจได้  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered ( ปี 46 – ..61) จำนวน 37,208 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (..61) จำนวน 801 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ประกอบด้วยนิติบุคคล จำนวน 8,601 ราย คิดเป็นร้อยละ 23 บุคคลธรรมดา จำนวน 28,607 ราย คิดเป็นร้อยละ 77 และมีร้านค้าออนไลน์ ที่ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered จำนวน 40,707 ร้านค้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (..61) จำนวน 882 ร้านค้า คิดเป็นร้อยละ 2  ธุรกิจที่ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered  สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่  ธุรกิจการแพทย์ สุขภาพ ยา สมุนไพร สปา จำนวน 7,520 ร้านค้า รองลงมาธุรกิจแฟชั่น/เครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ จำนวน 5,969 ร้านค้า  และธุรกิจคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ไอทีและซอฟแวร์ จำนวน 3,055 ร้านค้า ตามลำดับ  

           กรมได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับนโยบายการสนับสนุนธุรกิจ e - Commerce ดังนี้

           - การสร้างโอกาสทางการตลาด (e-Commerce Booster)  โดยการจัดงานส่งเสริมการค้าออนไลน์ต่างๆ

           - การผลักดันเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ (e-marketplace)  โดยกรมได้จัดทำเว็บไซต์ของดีทั่วไทยทำการคัดเลือกสินค้าประจำท้องถิ่นที่ดีเด่นดัง ขณะนี้มีจำนวน 125 ร้านค้า ( วันที่ 11 กรกฎาคม 2561) และได้คัดเลือกสินค้าจากงานแสดงสินค้าต่างๆ รวมทั้งขอความร่วมมือจากพาณิชย์จังหวัดในการคัดเลือกสินค้าที่เป็นของดี ของเด่นประจำจังหวัด มีสินค้าที่ผ่านการคัดเลือกจาก 38 จังหวัด จำนวน 144 ร้านค้า รวมสินค้าจำนวน 510 รายการ ซึ่งเป็นสินค้าเด่นของจังหวัดทั่วทุกภูมิภาค โดยอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลในเรื่องของ story telling  รูปภาพสินค้า และราคาสินค้าเพื่อนำขึ้นเว็บไซต์ คาดว่าจะมีร้านค้าของดีทั่วไทยมากกว่า 250 ร้านค้า นอกจากนี้ยังเชื่อมโยง e-logistic e-payment ของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยร่วมมือกับผู้ให้บริการขนส่งและการเงิน เพื่อให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าให้กับชุมชนและส่งเสริมการตลาดให้กับสินค้าชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป  

 - สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขอเครื่องหมายรับรอง DBD Registered  โดยประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยงานพันธมิตร เชื่อมต่อข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอเครื่องหมายรับรอง รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพร้านค้าออนไลน์ให้มีความน่าเชื่อถือ

 


DBD e - Service Application

        การให้บริการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล ด้วยการค้นหาจากรายชื่อหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลทั่วไป งบการเงิน รายชื่อร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลสมาคมการค้า          และหอการค้า รวมถึงข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกันธุรกิจ เพื่อใช้ในการตรวจค้นข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกัน เช่น ค้นหาตามทรัพย์สิน ลูกหนี้ และผู้ให้หลักประกัน เป็นต้น รวมทั้งมีบริการข่าวสาร กิจกรรม โครงการต่างๆ  และสถานที่ให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านมือถือ (Application: DBD e-Service)  สามารถใช้งาน ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ  iOS และ Android  โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2557  เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลได้ด้วยตนเอง สถิติผู้เข้าใช้บริการระบบสะสมจนถึงวันที่ 31สิงหาคม 2561  รวมทั้งสิ้น 8,631,654 ครั้ง โดยในเดือนสิงหาคม 2561  มีผู้ใช้บริการ จำนวน  560,380 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (..57 – ..61 = 8,071,274 ครั้ง) คิดเป็นร้อยละ 2

ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างพัฒนาระบบ DBD e-Service Application ให้สามารถรองรับการให้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e-Service)  ส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) จองชื่อนิติบุคคล และจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ให้บริการได้ประมาณกลางเดือน.............

e - Service

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้พัฒนาระบบการออกหนังสือรับรองที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐ : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)  โดยการเปิดให้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทาง Internet  หรือ  e-Service ในปี 2549  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการรับเอกสารทะเบียนนิติบุคคลและ   บการเงิน ให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับเอกสารได้ผ่านช่องทาง  Walk in   Ems   Delivery  และชำระเงินผ่านช่องทาง Internet Banking   ตู้ ATM   เคาน์เตอร์ธนาคาร


e - Certificate

นอกจากนี้ ในปี 2561 ได้เปิดการให้บริการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์และการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Sign) เพื่อให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบายรัฐบาล คือ  e-Certificate file  หนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ขอรับและจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ดำเนินธุรกรรมในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้บริการเมื่อ 15 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีผลใช้ได้ตามกฎหมาย โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ .. 2544 และฉบับแก้เพิ่มเติม .. 2551 ถือเป็นการนำร่องผลักดันให้หน่วยงานรัฐพัฒนาการบริการธุรกรรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มปริมาณการขอใช้บริการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับความสะดวก ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่าย โดยสามารถยื่นขอได้ทาง www.dbd.go.th

กรมได้เปิดให้บริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate)   ผ่านธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2555 โดยให้บริการผ่านธนาคาร 9 ธนาคาร ได้แก่ กรุงเทพ กรุงไทย ออมสิน กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต มิซูโฮ กรุงศรีอยุธยา และเกียรตินาคิน มีสาขาให้บริการ จำนวน 4,043 สาขา จนถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2561 มีสถิติผู้ใช้บริการ จำนวน 891,551 ราย โดยแบ่งเป็นให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 846,212 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 391,294 แผ่น  

โดยในเดือนสิงหาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 19,160 ราย โดยแบ่งเป็นการให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 18,042 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 8,528 แผ่น

แนวโน้มการขยายตัวในการให้บริการในปี 2561 (..-..)  มีการให้บริการ เพิ่มขึ้นจำนวน 15,400 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารได้เพิ่มการประชาสัมพันธ์และรวมบริการ  e-Certificate ควบคู่ไปกับบริการอื่นๆ ของธนาคาร


ISO/IEC 27001 : 2013 มาตรฐานการจัดการข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานภาครัฐที่พัฒนาคุณภาพการให้บริการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทันสมัยเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในการให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและปลอดภัย ดังนั้นกรมจึงได้มีการบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ (Information Security Management System: ISMS) ตามมาตรฐานการจัดการข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ เพื่อให้ข้อมูลและระบบงานสารสนเทศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีความปลอดภัย ถูกต้อง และพร้อมใช้งาน โดยในวันที่ 15 กันยายน 2560 กรมได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2013 โดยมีขอบเขตครอบคลุมถึงศูนย์คอมพิวเตอร์(Data Centre) ระบบจดทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) และระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ       (e-Secured Transaction)

ปี 2561 กรมได้ขยายขอบเขตของการบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ (Information Security Management System: ISMS) เพิ่มเติม โดยครอบคลุมระบบออกหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสาร         นิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Biz Document : e-Service, e-Certificate file) โดยผ่านการตรวจประเมินเรียบร้อยแล้วและคาดว่าจะได้รับการรับรองในเดือนตุลาคม 2561

การเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาคำขออนุญาตของทางราชการ .. 2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 21/2560 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ข้อที่ 17 มีเจตนารมณ์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การทำธุรกรรมกับภาครัฐ   ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  โดยการยกเลิกการขอสำเนาเอกสารทางราชการ (Zero Copy) จากประชาชนในการทำธุรกรรมหรือการติดต่อราชการ เพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการที่รวดเร็ว เป็นการอำนวยความสะดวก ลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาให้กับประชาชนในการติดต่อราชการทั่วประเทศ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และภาคธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่ปี 2553  เป็นต้นมา วันที่    31 สิงหาคม 2561 มีหน่วยงานที่เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อไปใช้ประโยชน์ในทางราชการและบริการประชาชนจำนวนทั้งสิ้น   69 หน่วยงาน


 

รางวัล เลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี .. 2561

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับรางวัล เลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี .. 2561 ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดี จากผลงานระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured)” ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์(Online) อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การยื่นคำขอ การชำระค่าธรรมเนียม การออกใบเสร็จ สามารถรองรับการยื่นคำขอจากทั่วประเทศและสามารถตรวจค้นข้อมูลได้ทันที ลดระยะเวลาและขั้นตอนการจดทะเบียน ลดการเดินทางมาติดต่อด้วยตนเอง (Zero touch) ลดการใช้เอกสาร (Paperless) รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายและงบประมาณภาครัฐ โดยได้รับมอบรางวัลจากรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 ก.ย. 2561 เวลา : 11:49:08
16-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 16, 2025, 9:06 pm