วิทยาศาสตร์
"ฟู๊ดมอร์ฟ" องค์กรส่งเสริม-ยกระดับขีดแข่งขันผู้ประกอบการ มุ่งเน้นใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจอาหาร


สำหรับงาน Food Innopolis International Symposium 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดย TMA และ Food Innopolis เมื่อเร็วๆ นี้ โดยในงานดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจอาหารทั้งจากในประเทศและระดับโลก มาร่วมบรรยายและเสวนาในหัวข้อต่างๆที่ล้วนเป็นเนื้อหาหลักใหญ่ ที่มุ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบนิเวศน์ด้านธุรกิจอาหาร (Food Industry Ecosystem )ของประเทศไทยสู่ระดับสากล

 
 
 
 
 
โดยในงานครั้งนี้ ดร.ไกรเสริม โตทับเที่ยง ผู้ก่อตั้งองค์กรฟู๊ดมอร์ฟ คอร์ปเปอร์เรชั่น (foodMorph Corp. - Founder) ได้ร่วมบรรยายถึงความสำคัญของการมีภาพใหญ่กำหนดทิศทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม วิสาหกิจเริ่มต้นด้านอาหารโดยเทคโนโลยี ของประเทศไทย Thailand FoodTech Landscapeบอกว่าองค์กรฟู๊ดมอร์ฟ ก่อตั้่งขึ้นเมื่อปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนโดยเอกชนเพื่อส่งเสริมและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารโดยใช้นวัตกรรมขับเคลื่อน 
 
นอกจากนี้ ดร.ไกรเสริม ยังได้กล่าวถึง ระบบความคิด (Mindset) นั้น  ได้ใช้หลักการ “ฆ่ามังกรที่รุกรานชาวบ้าน(Killing the Dragon in the Village) ซึ่งขยายความได้ว่า การที่ผู้คนในหมู่บ้านอาศัยอยู่ร่วมกันมีมังกรมารุกรรานรังแก (Villager’s pain)เปรียบได้ว่า มีปัญหาร่วมกัน นั่นคือการเริ่มต้นกำหนดจุดปัญหา (Problem identifying) จากนั้น จึงได้กำหนดหัวใจร่วม (One Heart)ว่าเป็นเหมือนการตั้งหน่วยงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่างร่วมกันก็คือ มีองค์กรฟู๊ดมอร์ฟ และอาศัย อาวุธ(Weapon) ในที่นี้ก็คือการกำหนดใช้นวัตกรรมในการจัดการกับการแก้ปัญหา 
 
และสุดท้าย คือ การจัดการกับมังกรร้าย (Kill the Dragon) นั่นคือการใช้เครื่องมือต่างๆที่สร้างขึ้นมาและใช้ความร่วมมือกันเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้แข็งแรงขึ้นจนสามารถฝ่าฟันปัญหาเดิมๆให้ผ่านพ้นไปได้ 
 
โดยในบริบทของธุรกิจอาหารที่ ดร.ไกรเสริม ได้อ้างถึงไว้นั้น คือ ปัญหาของการที่หน่วยธุรกิจต่างๆ ไม่ได้มีความสอดประสานร่วมมือกัน ต่างคนต่างพัฒนา ทำให้เสียโอกาสในการสร้างให้เกิดความเข้มแข็ง 
 
 
 
 
 
“องค์กรฟู๊ดมอร์ฟได้เล็งเห็นถึงช่องว่างดังกล่าว และได้มีความพยายามพัฒนาเครื่องมือขึ้นมา หนึ่งในนั้นคือการได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และสถาบันอาหาร ดำเนินการสร้างหลักสูตร Global Execeutive Mindset - GEM หลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจอาหาร เพื่อมาเพิ่มเติมแนวความคิด โดยต้องการให้เกิดการยกระดับธุรกิจสู่สากลโดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวแกนหลัก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจอาหารได้มาร่วมกันและสร้างเครือข่ายขึ้น”ดร.ไกรเสริม กล่าว
 
ดังนั้น องค์กรฟู๊ดมอร์ฟก็จะได้ก้าวเข้าสู่การสร้างความแข็งแรงสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups)โดยมุ่งเน้นเจาะกลุ่มผู้ที่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจอาหาร (FoodTech) 
 
ดร.ไกรเสริม บอกด้วยว่า แนวทางดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดภาพทิศทางของกลุ่มผู้เล่นหรือผู้ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจอาหาร ให้มีความชัดเจน เพื่อสร้างให้มีกลวิธี (Strategic)ในการยกระดับระบบนิเวศน์ทางธุรกิจอาหารให้ดีขึ้น  (Food Industry Ecosystem)
 
ทั้งนี้ ดร.ไกรเสริม ยังได้บรรยายสรุป เพื่อรวบรวมให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาทั้งในระดับโลก และระดับเอเซียแปซิฟิค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่ทำการเกษตร ปัญหาน้ำและสภาพอากาศแปรปรวน โดยสรุปรวมมาเป็นประเด็นปัญหาด้านอาหารทั้งสิ้น3ด้าน ประกอบด้วย 1. การขาดแคลนความสามารถในการผลิต (Lack of Productivity) 2. การผิดรูปทางด้านสายการจัดการห่วงโซ่อาหาร (Dysfunctions in Supply Chain) และ 3. ปฏิทรรศน์ทางการบริโภคอาหาร (Food Paradox)
 
 
 
 
จากการรวบรวมประเด็นปัญหาและกำหนดร่วมกลุ่มการจัดการดังกล่าว ทำให้เห็นได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก สามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อย่างมากมาย และได้แบ่ง ภาพใหญ่ เพื่อกำหนดทิศทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม วิสาหกิจเริ่มต้นด้านอาหารโดยเทคโนโลยีของประเทศไทย “Thailand FoodTech Landscape”ออกมาได้เป็น 2 หมวดใหญ่ คือ Supply และ Serve  
 
อีกทั้งยังแบ่งได้เป็น 15 ประเภทย่อยภายในนั้น ดังต่อไปนี้ 1.Food Safety&Tracibility 2.Food Preservation Technology 3.Supply Chain Innovation 4.Farm-to-Form Marketplace 5.Decision Support Apps 6.Food Waste&By Product 7.Artificial Intelligence 8. Ingridients&Processing 9.Manufacturing&Robotics 10. Packaging Solutions 11.Sustainable Protein 12.Novel Consumer Foods 13.Food Fortification 14.Biotechnology และ 15.Equipment&Hardแลware
 
นอกจากนี้ ดร.ไกรเสริม ยังได้เสนอแนวทางการสร้างให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีอาหาร โดยการจัดตั้ง โครงการบ่มเพาะ และเร่งรัด (Incubator & Accelerator Program) โดยมุ่งเน้นเพื่อติดอาวุธสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อให้มีการกำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่มีนวัตกรรม และสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ยกระดับอุตสาหกรรมธุรกิจด้านอาหารให้สามารถทำให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกมหาศาล โดยโครงการบ่มเพาะและเร่งรัดดังกล่าว ควรตั้งให้เป็นระดับประเทศ หรือเรียกว่า ทีมชาติ เพราะจะสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีนัยสำคัญและมีการกำหนดการพัฒนาได้อย่างมีกลยุทธ์ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 

LastUpdate 15/11/2561 15:04:39 โดย : Admin
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 6:51 am