บลจ.ไทยพาณิชย์ เพิ่มทางเลือก RMF 3 กองทุนใหม่ รับมือวัยเกษียณ เน้นหุ้นผันผวนต่ำทั่วโลก อสังหาฯ - โครงสร้างพื้นฐาน และหุ้นสหรัฐฯ
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัดเปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมออกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) อีก 3 กองทุน เพิ่มทางเลือกสำหรับนักลงทุนเพื่อการวางแผนเกษียณอายุในระยะยาวและสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของรายได้ เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน และประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น Low Volatility เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMLEQ) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMPIN) และ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMS&P500) มูลค่าจดทะเบียนกองทุนละ 3,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 3 - 9 กันยายน 2562 นี้ ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท
กองทุน RMF ที่ออกใหม่ทั้ง 3 กองทุน มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว สอดคล้องกับรูปแบบการลงทุนของกองทุนประเภท RMF โดยเป็นการคัดเลือกจากกองทุนคุณภาพที่ บลจ.เคยนำเสนอในรูปแบบกองทุนรวมไปแล้ว ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น Low Volatility เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMLEQ) เป็นกองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดในช่วงตลาดขาขึ้น และป้องกันการขาดทุนในช่วงตลาดขาลง โดยมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน AB Low Volatility Equity Portfolio จดทะเบียนที่ประเทศลักเซมเบิร์ก และอยู่ภายใต้ UCITS บริหารโดย Alliance Bernstein L.P ซึ่งลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
จุดเด่นของกองทุนหลัก AB Low Volatility Equity Portfolio คือ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลก มีการบริหารจัดการเชิงรุก (Active) โดยการคัดเลือกหุ้นในพอร์ตที่มีคุณภาพดี มีความผันผวนต่ำ ราคาถูก สามารถลดความผันผวนในพอร์ตโดยรวมได้ ปัจจุบันมีการกระจายการลงทุนในหุ้น 70 - 90 ตัว เน้นกลุ่มไอที การเงิน เฮลท์แคร์ และ สินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่นฯลฯ โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดในช่วงตลาดขาขึ้น และป้องกันการขาดทุนในช่วงตลาดขาลง เช่น ช่วงที่เป็นตลาดขาขึ้นกองทุนจะปรับตัวขึ้นตามตลาดประมาณ 90% หากเป็นช่วงขาลงจะปรับตัวลงตามตลาดประมาณ 70% โดยกองทุน AB Low Volatility Equity Portfolio มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 5.50% ต่อปี ย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 9.73% ต่อปี และย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 9.14% ต่อปี (ที่มา : AB Low Volatility Factsheet ณ วันที่ 31 ก.ค. 2562)
ด้านกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMPIN) เป็นกองทุนสินทรัพย์ทางเลือก มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสิงคโปร์ โดยมีกระบวนการลงทุนด้วยการคัดเลือกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ REITs ภายใต้กรอบการลงทุนคือ High Cash flow, High EPS Growth และ High Dividend Yield โดยพอร์ตจำลองการลงทุนโดยมีสัดส่วนการลงทุนในตลาดไทยประมาณ 50 – 70% และสิงคโปร์ประมาณ 30 – 50% มีอัตราจ่ายเงินปันคาดการณ์อยู่ที่ 5 – 6% และมีความผันผวนคาดการณ์อยู่ที่ 7 - 8% โดยกองทุนใช้ PF&REIT Total Return Index 50% และ FTSE Strait times REIT Index 50% เป็นดัชนีอ้างอิง รวมทั้งมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน (ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 2562)
โดยภาพรวมตลาด Property Fund /REITs ในตลาดไทยและสิงคโปร์มีอัตราจ่ายเงินปันผลที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับความผันผวน ดัชนี REIT ในไทยและสิงคโปร์ มีอัตราจ่ายเงินปันผลสูงอยู่ในอันดับต้นๆ ของกลุ่ม REIT ทั่วโลก ในขณะที่มีความผันผวนต่ำกว่า โดยตลาดไทย SETPREIT Index มีอัตราจ่ายเงินปันผลอยู่ที่ 5.0% ความผันผวน 6.7% และตลาดสิงค์โปร FSTREI Index มีอัตราจ่ายเงินปันผล 4.5% ความผันผวน 9.0% (คำนวณจากข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ณ ส.ค.2562)
ส่วนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMS&P500) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ SPDR S&P 500 ETF Trust (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารจัดการโดย State Street Global Advisors จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P500 มีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี S&P500 ซึ่งกองทุนหลัก SPDR S&P 500 ETF Trust นั้น สามารถสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 10.27% ต่อปี ย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 14.04% ต่อปี และย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 10.58% ต่อปี ในขณะที่ดัชนีอ้างอิงอยู่ที่ 10.42% ต่อปี, 14.19% ต่อปี และ 10.71% ต่อปีตามลำดับ(ที่มา : SPDR S&P 500 ETF Factsheet Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2562) และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นส่วนประกอบหลักของดัชนีตราสารทุนต่างประเทศ จึงถือว่าเป็นตลาดที่มีความสำคัญในการจัดสรรสินทรัพย์เพื่อกระจายความเสี่ยงสำหรับพอร์ตลงทุนในระยะยาว ปัจจุบันนี้ทางธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าสู่วัฏจักรการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงมองว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะยาวนั้นมีความผ่อนคลายลงจากช่วงก่อนหน้านี้ และหากทางสหรัฐฯสามารถตกลงนโยบายการค้ากับจีนได้สำเร็จจะเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในอนาคต
เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจานวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Centerโทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย
ข่าวเด่น