ซีพี ออลล์ เดินหน้าสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสทรสาคร ต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง สู่การบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี ผ่านช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์สู่สังคม พัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่น พาไปรู้จัก “หนูเล็ก เบญจรงค์” แห่งชุมชนดอนไก่ดี จ.สมุทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง สร้างงาน สร้างอาชีพ มอบคุณค่าจากรุ่นสู่รุ่น
นายอำพา ยงพิศาลภพ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด บริษัทในกลุ่มซีพี ออลล์ กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าเอสเอ็มอีและสินค้าที่มีนวัตกรรม จากผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่นิยมจากประชาชน โดยบริษัททำหน้าที่เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ เพื่อส่งตรงถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านช่องทางที่หลากหลายของทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง อาทิ นิตยสารทเวนตี้โฟร์แคตตาล็อก, เว็บไซต์ www.24catalog.com, www.ShopAt24.com, www.amulet24.com, แอปพลิเคชัน, ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ เชื่อมโยงการซื้อทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ช้อปปิ้งสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง
“ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายผ่านทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง กว่า 20,000 รายการ โดยบริษัทได้ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมของซีพี ออลล์ในการส่งเสริมสินค้าเอสเอ็มอีที่ดีมีนวัตกรรมให้สามารถขายสินค้าได้หลายช่องทางมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบ Call Center รองรับการสั่งซื้อและให้ข้อมูลแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยรูปแบบการสื่อสารที่ครอบคลุมทั้งการรับสาย การใช้ live chat การสั่งซื้อผ่านไลน์ เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงขยายคลังสินค้าและเพิ่มจุดกระจายสินค้า เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการส่งสินค้า โดยสามารถส่งผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และส่งตรงถึงบ้านลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมี Store Hub เพื่ออำนวยความสะดวกให้เอสเอ็มอีในการฝากส่งสินค้าที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นใกล้เคียง ไปยังคลังสินค้าใหญ่ของทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ทำให้ช่วยลดค่าขนส่ง และประหยัดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายอำพากล่าว
ด้าน นางประภาศรี พงษ์เมธา หรือพี่หนูเล็ก เจ้าของผลิตภัณฑ์ “หนูเล็กเบญจรงค์” และเลขานุการกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี กล่าวถึงที่มาที่ได้เริ่มรู้จัก และหัดทำเครื่องเบญจรงค์ไว้ว่า หลังจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ จึงได้เข้ามาเป็นคนงานในโรงงานเสถียรภาพ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตจานชามที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในสมัยนั้น ที่นั่นเจ้าของโรงงานเองมีวัตถุดิบอยู่แล้วด้วยวิสัยทัศน์จึงตั้งแผนกเบญจรงค์ขึ้นมา จ้างอาจารย์มาจากเมืองจีน และอาจารย์จากศิลปากรมาสอนเขียนลายทั้งแบบจีน แบบไทย โดยให้พนักงานสองพันกว่าคนมาฝึกทำ ทำให้พี่หนูเล็กได้หัดเขียนลายจนชำนาญ
“ 20 กว่าปีมาแล้ว ทำงานโรงงานตั้งแต่ค่าแรงวันละ 60 บาท จนวันนึ้ค่าแรงเพิ่มเป็นวันละ 120 บาท ต่อมาโรงงานมีปัญหา คนที่มีความรู้ก็ไปรับจ้างเขาเขียนลาย คนที่มีทุนหน่อยก็ออกไปทำเอง แล้วมีคนลองเอาไปขายในกรุงเทพฯ ปรากฏว่าขายดี ตอนนั้นพ่อพี่อยู่บ้านนอก เขาเห็นว่าเรามีฝีมือก็เลยตามกลับมาทำเบญจรงค์ที่บ้าน เริ่มจากไม่มีอะไรเลย ทำกันแค่สองคน ต่อมาก็ขยายทำกันเองในครอบครัวก่อน ฝึกลูก ฝึกหลานนี่แหละ แล้วก็ขยายออกไปในพื้นที่ เชิญคนตกงานมาทำด้วยกันเป็นร้อยคนเลย ในชุมชนเขาก็ดีใจ ไม่ต้องออกไปทำงานไกล ไม่เสียค่ารถ ค่าน้ำมัน มารับงานไปทำที่บ้านได้ เราก็ให้ค่าตอบแทนเขาตามฝีมือ ตามผลงาน ตามความยากง่าย” พี่หนูเล็กเล่า
สำหรับเอกลักษณ์ของหนูเล็กเบญจรงค์ก็คือลายหนุมานมัจฉา นางเบญจกาย ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ของพี่หนูเล็กได้ไปอวดโฉมจำหน่ายอยู่บนเครื่องบินของสายการบินไทย นอกจากนี้ยังมีลายดั้งเดิมอย่างลายจากจีน ลายเทพพนม และลายใหม่ๆ ทำให้สินค้ามีความแตกต่างโดดเด่น จนได้รับความนิยมในหมู่ลูกค้าที่เป็นองค์กร ห้างร้าน และหน่วยงานมาสั่งทำเป็นประจำ
“นอกจากลายหนุมานมัจฉา ก็มีลายเก่าแก่ดั้งเดิมที่ใครก็มีสิทธิทำได้หมด แต่ที่เรามีเพิ่มเติมคือพยายามดัดแปลงเพื่อให้ได้ลายใหม่ องค์กรส่วนพื้นที่ก็จ้างอาจารย์มาออกแบบให้ ได้เป็นลายปลาทอง ซึ่งช่างของเราเก่งทำได้จึงได้ลายนี้มา แล้วก็ยังมีลายสีสันฤดูร้อน กุ้ง หอย ปู ปลา ที่ถือเป็นลายประจำจังหวัดสมุทรสาคร งานของเราละเอียด ใช้ทองเต็ม เราซื่อสัตย์ ไม่หลอกลวงลูกค้า ที่สำคัญต้องมีอัธยาศัยดี แล้วเราก็ไม่ได้บอกราคาสูงลิ่ว เอาที่เราอยู่ได้ เขาอยู่ได้ เลยมีลูกค้าประจำเยอะ อย่างสถาบันการศึกษา ห้างร้าน หน่วยงานต่างๆ ก็มาสั่งทุกปี ใส่ตราสัญลักษณ์ของเขา เอาไปเป็นของแจกในงานต่างๆ ลูกค้าเราดีมากๆ ไม่เคยเปลี่ยนใจไปจากเราเลย” เจ้าของผลิตภัณฑ์หนูเล็ก เบญจรงค์กล่าวเพิ่มเติม
พี่หนูเล็กพยายามจะขยายช่องทางจัดจำหน่ายผ่านออนไลน์หลายครั้ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีทีมงาน เข้ามาช่วยเหลือนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ของทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมากนับตั้งแต่นั้นมา
“ตอนทีมงานทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้งเข้ามาหา ก็เห็นความตั้งใจจริง เขาเอาความหวังดีมาให้ ทีมงานตั้งใจมาก มากันที 5-6 คน ยอมเหนื่อยให้เราเลย เราก็ดีใจ แล้วพอลงภาพสินค้าบนเว็บไซต์ปุ๊บ รุ่งขึ้นมีคนสั่งซื้อเลย มันเหลือเชื่อจริงๆ เดิมเราคิดว่าจะขายได้แต่กับคนในกรุงเทพฯ แต่ปรากฎว่าที่สกลนครก็มี จันทบุรีก็มี มันน่าปลื้มมากว่าเราเป็นชาวบ้านธรรมดา เราได้โอกาสมีตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ชุมชนก็อยู่ได้ด้วย ปัจจุบันมีสินค้าประมาณ 44 รายการ ที่ขายอยู่ในช่องทางออนไลน์ www.ShopAt24.com ส่วนในอนาคตตั้งใจว่าจะพัฒนาลายใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ก็ยังจะทำต่อไปเพื่อรักษาภูมิปัญญาตรงนี้เอาไว้ ให้รุ่นลูก รุ่นหลานมาสืบทอดไปภายภาคหน้าด้วย” นางประภาศรี กล่าวปิดท้าย
ข่าวเด่น