ผลประชุม OPEC และ Non OPEC เมื่อปลายสัปดาห์มี 2 ประเด็นสำคัญที่เป็นแรงกดดันราคาน้ำมันดิบโลก ได้แก่ ประเด็นที่รัสเซียปฎิเสธข้อเสนอการตัดลดการผลิตน้ำมันดิบ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันของกลุ่ม OPEC ผิดจากที่ตลาดคาดว่ารัสเซียจะเห็นด้วย (ปัจจุบันรัสเซียผลิตน้ำมันดิบเป็นอันดับ 2 ของโลกราว 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 13.7%ของการผลิตทั้งโลก รองจากสหรัฐ 12.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (15.6%) และซาอุดิอาระเบียออกมาประกาศ เตรียมจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบให้เกินจากปัจจุบัน 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยตลาดคาดมีโอกาสผลิตขึ้นไปอยู่ที่ 12 ล้านบาร์เรลวัน
นอกจากนี้ยังจะปรับลดราคา OSP Premium น้ำมันดิบทุกประเภทของประเทศซาอุฯ คือ ราคาจะปรับลดลงจากเดือน มี.ค. คือ (ราคาน้ำมันที่ขายไปยังยุโรปปรับลดลงจากปัจจุบัน 8 ดอลลาร์, น้ำมันที่ขายสหรัฐลดลง 7 ดอลลาร์, น้ำมันที่ขายเอเชีย ลดลง 6 ดอลลาร์)
ดังนั้นบล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS คาดว่าประเด็นดังกล่าวจะยังกดดันให้ภาวะ Oversupply ของน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น อีกทั้งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงอยู่ และคาดจะยังคงใช้เวลาจะส่งผลกระทบต่อ Demand ความต้องการใช้น้ำมันโลกในอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง.
ฝ่ายวิจัย ASPS คาดว่าทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกจะผันผวนในทิศทางขาลงและหากพิจารณาค่าเฉลี่ยทั้งปี มีโอกาสต่ำกว่าสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2563 ของฝ่ายวิจัยฯที่กําหนดไว้ที่ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล เนื่องจากค่าเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ YTD อยู่เพียง 58.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ ราคาน้ำมันดูไบ ปัจจุบันอยู่ราว 47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ฝ่ายวิจัยฯได้ศึกษา Sensitivity Analysis หากราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าสมมติฐานทุกๆ 5 ดอลลาร์ จะกระทบต่อ Fair value ของ PTTEP (FV@B170) ปรับตัวลดลงจากปัจจุบันราว 10-14 บาทต่อหุ้น ขณะที่ PTT (FV@B56) กระทบราว 2-3 บาทต่อหุ้น ระยะสั้นแนะนำชะลอการลงทุน
ข่าวเด่น