หุ้นทอง
2 หุ้น "CENTEL-SEAFCO" หุ้นพื้นฐานดี ลงลึก มีโอกาสฟื้นตัวแรง แนะซื้อสะสม


ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ประเมินว่าไวรัส COVID-19 ที่เกิดพร้อมกันทั่วโลกปี  2563 ทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัวและตลาดหุ้นปรับฐานแรง หากพิจารณาวิกฤตครั้งนี้เทียบกับวิกฤตแต่ละครั้ง โดยดูจากปัจจัยแวดล้อม เทียบกับวิกฤตซัพไพร์มที่เกิดในสหรัฐฯปี 2552 มีความคล้ายกันในหลายประเด็น ได้แก่ 

 
 
 
เศรษฐกิจหดตัวคล้ายกัน คือ World GDP Growth ปี 63 คาด -1% yoy เทียบกับวิกฤตซัพไพร์ม World GDP Growth -0.1% ขณะที่ไทยคาดการณ์ GDP Growth ปี 2563 (Consensus เช่น ธปท.คาด -5.3% yoy, Worldbank คาด -5% ASPSคาด -1.4%) เทียบกับวิกฤตซัพไพร์ม GDP Growth ไทย หดตัว -0.7%
 
 
 
 
 
มาตรการกระตุ้นการเงิน ปัจจุบันทั่วโลกปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เช่น สหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่ 0.25% รวมถึง ไทยที่ปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ 0.75% ต่ำกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 และอัดฉีดเงินเข้าซื้อพันธบัตร QE หลายประเทศ ปัจจุบันใช้วงเงินมากกว่าวิกฤตซัพไพร์ม
 
 
 
 
 
และมาตรการกระตุ้นการคลัง เศรษฐกิจที่ชะลอทั่วโลก ทำให้เห็นรัฐบาลกลาง เร่งอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และช่วยเหลือผ่านมาตรการภาษี เช่น สหรัฐ อัดฉีดงบประมาณวงเงินราว 2.16 ล้านล้านเหรียญ (10%ของGDP) เช่น ให้เงินแก่ประชาชน 1000 ดอลลาร์ต่อคน , ชดเชยการหยุดงาน, ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น
 
ญี่ปุ่น พิจารณางบประมาณฉุกเฉินกว่า 108 ล้านล้านเยน (9.89 แสนล้านเหรียญ) หรือประมาณ 20% ของ GDP เพื่อช่วยครัวเรือนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
 
ขณะที่ไทยเตรียมจัดหาเงินวงเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 3-4 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท หรือราว 10% ของ GDP ไทย หลังจากการประชุม ครม.รอบพิเศษเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วได้ข้อสรุปสำคัญ ซึ่งจะนำเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติวันนี้ หลักๆคือ Funding เงินทุน เพื่อรองรับมาตรการทั้งการช่วยเหลือประชาชนและดูแลตลาดเงินและตลาดทุนรองรับผลกระทบ COVID-19 หลักๆ 2 ทาง คือ
 
มาตรการด้านภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ประกอบด้วย 1.พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท (50.8% ของวงเงินรวม)
2.การปรับลดงบประมาณรายจ่ายของแต่ละกระทรวงลง 10% วงเงินประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท (3-3.5% ของวงเงินรวม)
 
มาตรการด้านภาคการเงิน(Financial Sector) ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แก่ 1.พ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน วงเงิน 4 แสนล้านบาทเพื่อให้ธปท. เข้าไปซื้อตราสารหนี้ผ่านกองทุนที่ตั้งขึ้น (20.3% ของวงเงินรวม)

2. พ.ร.ก. Solf Loan วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยเหลือภาคธุรกิจ และลูกหนี้ของธนาคารในกลุ่มต่างๆที่ได้รับผลกระทบ (25.4% ของวงเงินรวม)

โดยรวมแล้ว 2 เม็ดเงินรวมเข้าระบบราว 1.9 ล้านล้านบาท ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าจะมีส่วนทำให้ GDP Growth ไทยปี 2563 ติดลบน้อยลงและถือเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น โดยกลยุทธ์การลงทุนในเดือนเม.ย.แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่ปรับฐานลงมาแรงในช่วงที่เกิด COVID-19 แต่เวลาฟื้นมีโอกาสฟื้นได้แรงกว่าตลาด

 
 
 
สำหรับ Top Picks วันนี้เลือก CENTEL และ SEAFCO โดยในส่วนของ CENTEL แม้ฝ่ายวิจัยประเมินบริษัทขาดทุนในปี 2563 ราว 111 ล้านบาท และ Turn Around เป็นกำไร 1,118 ล้านบาท ในปี 2564 แต่ราคาหุ้นปรับฐานลงมากว่า 40%ytd จน Upside เปิดกว้างมากบวกกับ CENTEL มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งสุดในกลุ่ม
 
โดยมีสัดส่วนหนี้สิ้นที่มีภาระดอกเบี้ย เทียบส่วนของผู้ถือหุ้น IBD/E ณ สิ้นปี 2562 เพียง 0.62 เท่า ถือเป็นโอกาสดีในการเข้าสะสม เพื่อหวังผลระยะกลางถึงยาว
 
SEAFCO หนึ่งในหุ้นกลุ่มก่อสร้างที่ราคาปรับตัวลงแรงกว่า 30% ตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากได้รับ Sentiment เชิงลบ จากประเด็น COVID-19 โดยฝ่ายวิจัยฯคาดว่าทิศทางกำไรไตรมาส 1 ปี 2563 ยังโดดเด่นจากการรับรู้รายได้โครงการใหญ่พร้อมกัน เช่น โครงการทางด่วนดาวคะนอง-พระราม 3, หมอชิต คอมเพล็ก และดุสิตธานี 

ขณะที่ Backlog ปัจจุบันสูงอยู่ที่ 2.57 พันล้านบาท สามารถ Secured รายได้ปีนี้ไปแล้วกว่า 87% หากพิจารณาด้าน Valuation ถือว่าน่าสนใจ โดยให้ Dividend Yield ปี 2563 สูงถึง 6.34%และPER ซื้อขายเพียงแค่ 8 เท่า จึงถือเป็นโอกาสสะสม
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 เม.ย. 2563 เวลา : 15:10:29
29-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 29, 2024, 6:57 am