หุ้นทอง
เกือบ 4 เดือนต่างชาติขายหุ้นไทย 1.5 แสนล้านหลังยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ได้แม้COVID-19ดีขึ้น


สถานการณ์ Covid-19 ในประเทศดีขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ล่าสุดวานนี้ (23 เท.ย.) พบผู้ติดเชื้อใหม่ 15 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 2,826 ราย ขณะที่จำนวนผู้รักษาหายต่อวัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 13 วันแล้ว โดยล่าสุดจำนวนผู้รักษาหายมี 244 ราย


 
 
 
 
 
ภาพรวมของสถานการณ์ COVID-19 ในไทยดีขึ้นจึงมีกระแสเรื่องที่รัฐบาลจะพิจารณาต่ออายุพ.ร.ก. ฉุกเฉินออกไปหรือไม่ รวมถึงพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง 

โดยเรื่องดังกล่าว ครม.จะมีการพิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า วันที่ 28 เม.ย.63  โดยฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ประเมินว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีกอย่างน้อย 1 เดือน ส่วนการผ่อนคลายมาตรการควบคุม เพื่อให้ธุรกิจกลับมาเปิดดำเนินการได้นั้น คาดจะให้ทำอย่างระมัดระวัง

มีอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือความคืบหน้าของพ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท โดยล่าสุดสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เผยรายละเอียดการกู้เงิน ดังนี้
1.การกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จะแบ่งเป็นการกู้ 6 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2563 (สิ้นสุดเดือนก.ย.63) และอีก 4 แสนล้านบาท จะกู้ในปีงบประมาณ 2564 (เดือนต.ค.2563 - เดือนก.ย. 2564) 
2.แหล่งที่มาของเงินกู้ (Source of Fund) จะมาจากในประเทศ ไม่ต่ำกว่า 80% ผ่านการกู้จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ หรือการออกตราสารหนี้ ส่วนอีก 20% จะกู้จากต่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา
3.เงินกู้ล็อตแรกจะมีจำนวน 7 หมื่นล้านบาท เพื่อนำมาใช้จ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 คนละ 5,000 บาท โดยออกเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) อายุ 4 ปี เสนอต่อธนาคารพาณิชย์ที่สนใจ ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงเทพ  (BIBOR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 0.97%
 
ฝ่ายวิจัยฯประเมินความคืบหน้าของพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทข้างต้น มองเป็นสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าเม็ดเงินหากออกมาได้ไม่สะดุดจะสามารถช่วยพยุงให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวน้อยกว่าที่ตลาดเคยประเมินไว้ว่าจะหดตัวราว 5-6% ได้

ผลกระทบของพ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทจะทำให้หนี้สาธารณะของไทย (Public debt/GDP) เพิ่มขึ้น โดยสบน.คาดว่าการกู้เงินจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 51.8% ในปี 2563 จากปัจจุบันที่ 42% และในปี 2564 เพิ่มเป็น 58% ซึ่งจะใกล้เคียงกับเพดานหนี้สาธารณะตามกรอบวินัยการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของ GDP 

ทั้งนี้จะกดดันความสามารถในการกู้เงินในอนาคตของรัฐลดลง เนื่องจากเผชิญข้อจำกัดจากเพดานหนี้ (Debt Ceiling) และความกังวลดังกล่าวอาจส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าได้ ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้าไทยอีก 
 

LastUpdate 23/04/2563 15:59:02 โดย : Admin
29-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 29, 2024, 8:54 am