นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการลงนามด้านวิชาการ ระหว่าง กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) ในการร่วมมือพัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัล ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคธุรกิจ ซึ่งมีนายจุรินทร์ กับ นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฯ ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ อาคาร จี ทาวเวอร์ ชั้น 39 กรุงเทพมหานคร
นายจุรินทร์ กล่าวถึงการที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดกับโลกในอนาคต โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลนำการค้า หรือ Digital Technology led commerce ผู้ประกอบการที่สามารถใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็ว อาจเป็นกุญแจสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนา โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสารแบบ 5G, เทคโนโลยี Cloud, Big Data, Robotics, Machine Learning, Artificial Intelligence และอื่น ๆ เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
นายจุรินทร์ กล่าวขอบคุณบริษัทหัวเว่ยที่ได้ให้เกียรติกับกระทรวงพาณิชย์ในการลงนามทำ MOU ร่วมกันในการจัดให้มีหลักสูตรในการให้ความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีขึ้นกับ SMEs และผู้ที่สนใจในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถที่จะมีตัวเลขทางการค้าเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอีคอมเมิร์ซ ความสำคัญของการลงนาม MOU สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปและประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องก้าวให้ทันโลกและต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับโลกที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะโลกยุคปัจจุบันกับสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มีความจำเป็นที่จะต้องทำนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและทวีความสำคัญยิ่งขึ้นใครตามเทคโนโลยีไม่ทันก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังและใครสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้าและใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะเป็นผู้ได้เปรียบในเวที ไม่เฉพาะเศรษฐกิจแม้แต่วิธีการเมืองและวิธีสังคมโลกก็ตามไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า กระทรวงพาณิชย์มีความเห็นว่าอย่างน้อยเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างสูงในการพัฒนาธุรกิจภาคเอกชนของประเทศควรจะประกอบด้วยอย่างน้อยเทคโนโลยี 5G ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วนอกจากนั้น iot (Internet of Things)ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง มีบทบาทมาระยะหนึ่งแล้ว จะต้องมีการพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง ขอให้พวกเราตามทัน เพราะหัวเว่ยไปเร็วมากรวมทั้งระบบคลาวด์ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเก็บข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูล เพื่อนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำทุกที่ทุกเวลา อย่างน้อย 3 ตัวนี้เป็นสิ่งที่เราจะมีความจำเป็นที่จะนำมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทย SMEs มีความสำคัญอย่างยิ่งปัจจุบันนี้ SMEs ถือว่าเป็นธุรกิจฐานรากที่จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตและจะทวีความสำคัญยิ่งยิ่งขึ้นไปเช่นเดียวกับหลายประเทศในโลก
ในประเทศไทยมี SMEs กว่า 2-3 ล้านราย นโยบายของกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญไม่เฉพาะการที่จะมุ่งพัฒนา SMEsให้สามารถนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประกอบธุรกิจให้ทันโลกเท่านั้น แต่เรายังมีความเห็นเพิ่มเติมว่าเด็กรุ่นใหม่โดยเฉพาะคนที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือกำลังจะเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัยที่จะก้าวเข้าสู่วงการธุรกิจต่อไปในอนาคต จะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนาหรือเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อที่จะเตรียมตัวสำหรับที่จะเป็น CEO ต่อไปในอนาคตเพราะฉะนั้นนอกจากนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ในการที่จะพัฒนา SMEs ให้สามารถใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลได้อย่างคล่องตัวเด็กรุ่นใหม่ก็จะต้องได้รับการเตรียมการเช่นเดียวกัน ตามโครงการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ริเริ่มขึ้นโดย NEA หรือสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ช่วยปั้น Gen Z ให้เป็น CEO หรือโครงการ CEO Gen Z ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนว่าภายในหนึ่งปีจะปั้นให้เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 12,000 ราย ได้ริเริ่มไปแล้วระยะหนึ่งโดยได้รวบรวมนักศึกษาที่ให้ความสนใจในมหาวิทยาลัยภาคเหนือ 7 มหาวิทยาลัยมารวมกันแล้วจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซทำการค้าออนไลน์ให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลถัดจากนี้ไปก็จะไปทำในภาคใต้มหาวิทยาลัยทุกแห่งที่สนใจ และไปทำกับภาคอีสาน ภาคกลาง ในกรุงเทพมหานครและจะเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย ทำ MOU กับกระทรวงพาณิชย์ในการจัดให้มีการโอนหน่วยกิต ถ้ามาอบรม CEO Gen Z หลักสูตรนี้ของกระทรวงพาณิชย์จะได้รับหน่วยกิตสำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไปด้วย ถือว่าเป็นความก้าวหน้าและเชื่อว่าภายในหนึ่งปี 12,000 คนจะเป็นทัพคนรุ่นใหม่สำคัญที่เป็นกำลังให้กับประเทศในการเพิ่มมูลค่าการค้า
ส่วน SMEs ที่เราทำในวันนี้ซึ่งตามเป้าหมายไว้ว่าเราจะทำให้ได้ภายในเวลารวดเร็ว 1,000 ราย โดยใน 3วันที่ผ่านมาทำได้ 250 ราย ที่ประเทศไทยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา SMEs และจะเป็นฐานกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไปในทุกในยุค New Normal ที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเราจับมือร่วมมือกันสามารถพลิกโควิดเป็นโอกาสได้ทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รายงานด้วยว่าบรรยากาศก่อนการเปิดงานสัมมนานายจุรินทร์ ได้มีการ VDO conference กับ Ms. Catherine Chen ซึ่งเป็นผู้บริหาร Corporate Senior Vice President. Director of the Board Huawei Technologies ด้วย
ข่าวเด่น