ไอที
''เอแอลที'' รุกธุรกิจติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย เตรียมส่งมอบงานให้ รฟท. พร้อมลุยเจาะลูกค้ากลุ่มรัฐวิสาหกิจ


อินเตอร์เนชั่นแนล เกทเวย์ บริษัทในกลุ่มเอแอลที รุกธุรกิจติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายโทรคมนาคม เจาะลูกค้ากลุ่มรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานบริการสาธารณะรับเทรนด์เข้าสู่กระบวนการทำงานดิจิทัล ล่าสุดติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้วเสร็จตามสัญญา 445 สถานี อยู่ระหว่างรอส่งมอบและทดสอบระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายทุกสถานีตามส่วนภูมิภาคให้เข้ากับส่วนกลาง


 
นายสุพัฒน์ เอี่ยมวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารระบบโครงข่าย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เกทเวย์ จำกัด (IGC) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายโทรคมนาคมตามสถานีรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เสร็จสิ้นตามสัญญาทั้งสิ้น 445 สถานี และอาคารควบคุมการเดินรถ CTC รวมทั้งอาคารฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการส่งมอบอุปกรณ์เครือข่ายตามสัญญา และทำการทดสอบระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายทุกสถานีตามส่วนภูมิภาคให้เข้ากับส่วนกลางของการรถไฟแห่งประเทศไทย

 ?โดยอุปกรณ์เครือข่ายในโครงการประกอบไปด้วย อุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Switch), ระบบสื่อสัญญาณทางแสงแบบหลายช่องทาง (Dense Wavelength Division Multiplexing: DWDM), ระบบบริหารจัดการ(Network Management System: NMS), เครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable Network) และตู้พร้อมอุปกรณ์

ทั้งนี้บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เกทเวย์ จำกัด (IGC) ในนามตัวแทนกลุ่มกิจการร่วมค้าไอเอสไอ (ISI Consortium) ชนะการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ในโครงการจ้างเหมาจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ลงนามในสัญญาจ้างโครงการดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 

โดยโครงการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายดังกล่าว ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสารโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 (ระยะเวลา 5 ปี)ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานหลักให้เป็นรูปแบบดิจิทัล โดยมีโครงการด้านสารสนเทศหลักอื่น ๆ ที่จะร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสารโทรคมนาคมดังกล่าว เพื่อให้บริการในรูปแบบดิจิทัลในอนาคต อาทิเช่น โครงการพัฒนาระบบการเงินและการบัญชี โครงการพัฒนาระบบบริหารงานทรัพยากรบุคคล โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มธุรกิจเดินรถ และโครงการพัฒนาระบบการจัดการตั๋วโดยสารและสำรองที่นั่ง

?“ลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ หน่วยงานให้บริการสาธารณะ ที่มีความต้องการเครือข่ายสื่อสาร เพื่อใช้ในการจัดการ และการให้บริการ ซึ่งถือเป็นแนวโน้มในอนาคตที่ภาคธุรกิจ ทั้งเอกชน และรัฐวิสาหกิจต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานไปสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น” นายสุพัฒน์กล่าว

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 ธ.ค. 2563 เวลา : 11:29:45
26-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 26, 2024, 3:52 am