การตลาด
Scoop : ''อุตสาหกรรมโฆษณา'' เดือน ก.ค.เริ่มทรุดติดลบ 4% ''สื่อโรงหนัง'' อ่วมสุด ติดลบสูง 86%


จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขยายเป็นวงกว้าง และมีตัวเลขการติดเชื้ออยู่ในระดับหลัก 2 หมื่น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจากความเชื่อมั่นที่ลดลงดังกล่าว ทำให้การใช้งบเพื่อทำการตลาดมีการปรับตัวลดลงไปด้วย เช่นเดียวกับการใช้เม็ดเงินในการซื้อสื่อโฆษณา จากเดือนมิ.ย.ที่ยังเห็นตัวเลขเป็นบวกมาในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ตัวเลขเริ่มกลับไปอยู่ในแดนลบอีกครั้ง เห็นได้จากข้อมูลของ นีลเส็น ประเทศไทย ที่ระบุว่า เม็ดเงินโฆษณาในช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา มีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ประมาณ 4% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 7,272 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 7,544 ล้านบาท 


 
โดยสื่อที่มีการขยายตัวติดลบมากที่สุด คือ สื่อโรงหนัง ติดลบอยู่ที่ 86% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 38 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 269 ล้านบาท ตามด้วย สื่อเคเบิลทีวีและแซทเทลไลท์ทีวี ขยายตัวติดลบอยู่ที่ 52% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 63 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 132 ล้านบาท  สื่อนิตยสาร ขยายตัวติดลบอยู่ที่ 18% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 41 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 269 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์ ขยายตัวติดลบที่ 15% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 237 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 280 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่ ขยายตัวติดลบอยู่ที่ 15% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 338 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 396 ล้านบาท และสื่อวิทยุ มีการขยายตัวติลบอยู่ที่ 5% หรือมีมูลค่าอยู่ที่  282 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 297 ล้านบาท  
 

ส่วนสื่อที่ยังสามารถขยายตัวได้อยู่ในแดนบวก และมีอัตราการเติบโตมากที่สุด คือ สื่อในอาคาร มีอัตราการเติบโตที่ 43% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 40 ล้านบาท ตามด้วย สื่อนอกอาคาร มีอัตราการเติบโตที่ 11% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 462 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 418 ล้านบาท และสื่อทีวี  มีอัตราการเติบโตที่ 1% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 5,157 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 5,092 ล้านบาท ส่วน สื่ออินเตอร์เน็ต มีมูลค่าอยู่ที่ 596 ล้านบาท ไม่สามารถเทียบกับปีที่ผ่านมาได้ เพราะมีการเก็บข้อมูลใหม่ 
 

แม้ว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาของเดือน ก.ค.จะมีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ 4% แต่ภาพรวม 7 เดือนของปี 2564 ยังมีการใช้เม็ดเงินผ่านสื่อโฆษณาอยู่ในแดนบวก ด้วยการมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 7% หรือมีมูลค่าอยู่ที่  53,911 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 50,490 ล้านบาท โดยสื่อที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด คือ สื่อในอาคาร มีอัตราการเติบโตที่ 11% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 391 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 352 ล้านบาท ตามด้วย สื่อทีวี มีอัตราการเติบโตที่ 10% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 36,720 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 33,513 ล้านบาท และ สื่อนอกอาคาร มีอัตราการเติบโตที่ 5% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 3,574 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีมูลค่า 3,396 ล้านบาท  

สำหรับสื่อที่มีการขยายตัวติดลบมากที่สุด คือ สื่อเคเบิลทีวีและแซทเทลไลท์ทีวี ขยายตัวติดลบที่ 35% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 597 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 912 ล้านบาท ตามด้วย สื่อเคลื่อนที่ ขยายตัวติดลบที่ 23% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 2,169 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 2,799 ล้านบาท สื่อนิตยสาร มีการขยายตัวติดลบที่ 17% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 345 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 416 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์ ขยายตัวติดลบที่ 12% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 1,462 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 1,666 ล้านบาท 
 

สื่อวิทยุ มีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ 10% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 1,858 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 2,064 ล้านบาท และ สื่อโรงหนัง ขยายตัวติดลบที่ 7% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 1,809 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 1,941 ล้านบาท ส่วน สื่ออินเตอร์เน็ต มีมูลค่าอยู่ที่ 4,987 ล้านบาท ไม่สามารถเทียบกับปีที่ผ่านมาได้ เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลใหม่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจากการขยายตัวของสื่อทีวี ที่ยังสามารถเติบโตอยู่ในแดนบวกได้  ส่งผลให้สื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 60%   

ด้านอุตสาหกรรมที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณามากที่สุดในช่วงเดือนม.ค. - ก.ค. ที่ผ่านมา 3 กลุ่มแรก คือ กลุ่มอาหาร/เครื่องดื่ม (Food&Beverage) มีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 10,667 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% ตามด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล/เครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 8,912 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% และกลุ่ม Media & Marketing ซึ่งเม็ดเงินส่วนใหญ่มาจากการทำตลาดของธุรกิจการขายตรง โดยมีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 7,721 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% 
 

ส่วนบริษัทที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในช่วงเดือนม.ค. - ก.ค. ที่ผ่านมา 3 อันดับ ได้แก่ 
 
1.บริษัท ยูนิลีเวอร์(ไทย) โฮลดิ้งส์ จำกัด มีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 3,126 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 48% โดยแคมเปญที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในช่วงเดือนก.ค.ที่ผ่านมา คือ บรีส ช่วยขจัดคราบหนักเหนือกว่า มีการใช้เม็ดเงินผ่านทางสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 31 ล้านบาท ตามด้วย ซันซิล สีชมพู ช่วยจัดทรงง่ายขึ้น 5 เท่า หอมนาน 72 ชม มีการใช้เม็ดเงินผ่านทางสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท 

2.บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด มีการใช้เม็ดเงินผ่านสื่อโฆษณาคิดเป็นมูลค่า 1,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 31% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือน ก.ค. คือ เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู กลมกล่อม หอม ครบ มีการใช้เม็ดเงินผ่านทางสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 24 ล้านบาท ตามด้วย เนสท์เล่ เพื่อทุกหยดสะอาดใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น มีการใช้เม็ดเงินทางสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 19 ล้านบาท 

3.บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) จำกัด มีการใช้เม็ดเงินผ่านสื่อโฆษณา คิดเป็นมูลค่า 1,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 18% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา คือ รีจอยส์ สีเขียวใหม่ ผมสลวย กลิ่นหอมติดยาวนาน มีการใช้เม็ดเงินผ่านทางสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท ตามด้วย เฮดแอนด์โชว์เดอร์ เหนือกว่า 5 เท่า มีการใช้เม็ดเงินผ่านทางสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 27 ล้านบาท

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 14 ส.ค. 2564 เวลา : 16:35:55
07-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 7, 2024, 12:47 am