ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในสิบผู้ส่งออกเครื่องประดับชั้นนำในโลกและมียอดขายเครื่องประดับจากแร่เงินสูงสุดในมาร์เก็ตเพลซทั่วโลกถึง 23.8% ในปี 2563 (Bangkok Post, 2563) ดังนั้น อุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณีจึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงานแก่คนงานเหมือง ช่างเจียระไนเพชรพลอย นักออกแบบเครื่องประดับและผู้ค้าเครื่องประดับ อีกทั้งประเทศไทยยังได้รับการยอมรับว่ามีฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง มีช่างฝีมือที่มีความชำนาญและเทรดเดอร์ที่มีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยจุดแข็งสามข้อนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์มีความมั่นใจในศักยภาพของประเทศไทยว่าจะกลายเป็นผู้บุกเบิกและศูนย์กลางเครื่องประดับของโลก
ด้วยแรงสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของไทยทั่วโลก ซึ่งหันมาสนับสนุนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศไทย รวมถึงกำหนดเป้าหมายที่จะเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ และเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือ SMEs ที่จะก้าวขึ้นมาและคว้าโอกาสที่กำลังเติบโต
ด้วยความแน่วแน่ที่จะช่วยธุรกิจ SMEs และผู้ประกอบการชาวไทยที่จะเข้าสู่เวทีการค้าโลก เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรสได้เตรียมสามกลยุทธ์ที่จะช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสามารถแข่งขันได้ในมาร์เก็ตเพลซทั่วโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เข้าใจตลาดและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
เศรษฐกิจดิจิทัลสร้างโอกาสที่สำคัญให้กับธุรกิจขนาดเล็กโดยเปิดทางให้ร้านค้าอีคอมเมิร์ซได้มีส่วนร่วมในการค้าข้ามพรมแดน อีเบย์ปิดปี 2563 ด้วยยอดผู้ซื้อ 185 ล้านคน ซึ่งจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 11 ล้านคน (Smart Insights, 2564) เป็นที่คาดกันว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะเติบโต 35% ปีต่อปีถึง 220 พันล้านบาทในปี 2563 ซึ่งเท่ากับ 4-5% ของยอดการค้าปลีกทั้งหมด (Bangkok Post, 2564) มาร์เก็ตเพลซออนไลน์เป็นพื้นที่ที่กำลังเติบโตเหมาะสำหรับธุรกิจ SMEs ที่จะเข้ามามองหาประโยชน์
คุณรินทร์ลิตา ศรีโรจนภิญโญ หัวหน้าฝ่ายการตลาดของอีเบย์ ประเทศไทย อธิบายว่าเครื่องประดับประเภทอัญมณีแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สร้อยคอและจี้ที่ใช้อัญมณี” เป็นกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตสูงสุด สำหรับประเภทของอัญมณีที่ได้รับความนิยม ไพลินหรือซัฟไฟร์เป็นอัญมณีที่ได้รับความสนใจจากตลาดอย่างมากถึงกว่าครึ่งหนึ่งของตลาด โดยไพลิน สีฟ้าเป็นอัญมณีที่เป็นที่ต้องการสูงสุด ตามมาด้วยไพลินสีชมพู สำหรับเพชรนั้น ยังมีผู้ค้าในตลาดประเทศไทยจำนวนไม่มากซึ่งหมายความว่า ยังมีโอกาสที่ SMEs จะเติบโตได้ในกลุ่มนี้
บนอีเบย์มีผู้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับอยู่สองประเภทคือ ผู้บริโภคและผู้ซื้อเพื่อนำมาจำหน่าย โดยแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน ผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ในขณะที่ผู้ซื้อเพื่อนำมาจำหน่ายเป็นกลุ่มที่มีการซื้อสินค้าซ้ำและมองหาเครื่องประดับที่หลากหลายไว้ในสต็อกสินค้า จากการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อหาเครื่องประดับเพื่อมอบเป็นของขวัญ จึงมองหาข้อเสนอที่ดีที่สุดเสมอ ในขณะที่ ผู้ที่ซื้อเครื่องประดับเพื่อจำหน่ายมักนิยมเข้าร่วมการประมูลสินค้าเพื่อให้ได้สินค้าจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้บริโภคมักนิยมแอพอีเบย์บนโทรศัพท์มือถือมากกว่า ขณะที่ผู้ซื้อเพื่อนำมาจำหน่ายจะเข้าสู่อีเบย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มากพอๆ กับบนโทรศัพท์มือถือ เดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมคือช่วงพีคที่มียอดการซื้อสูงสุดจากผู้ซื้อทั้งสองประเภท
ยกระดับร้านค้าออนไลน์ของคุณและการจัดทำรายการสินค้า
ประสบการณ์ที่ลูกค้ามีต่อการได้พบเจอสินค้าหรือการบริการมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อ ลูกค้าคาดหวังความสะดวกสบายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ ขั้นตอนการเช็คเอาท์และการชำระเงินที่ง่ายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ซื้อของออนไลน์ นอกจากนั้น ผู้ขายควรมีทางเลือกที่ผู้ซื้อสามารถค้นหา เปรียบเทียบและซื้อสินค้าที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว
นอกจากกลไกการสั่งซื้อและระบบที่ต้องใช้งานง่ายแล้ว การออกแบบให้ลูกค้าสามารถหาสินค้าได้ง่ายและมีรายการสินค้าที่ถูกต้องก็มีความสำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ซื้อค้นหาสินค้า เขาอาจกำลังมองหาสีหรือขนาดที่เฉพาะเจาะจง หากผู้ขายมีสินค้าชิ้นนั้นแต่ไม่ได้ลงรายละเอียดที่ครบถ้วนบนรายการ อาจทำให้สินค้าถูกมองข้ามไปและขายไม่ได้
เคล็ดลับในการทำรายการของเครื่องประดับและอัญมณีที่มีประสิทธิภาพบนมาร์เก็ตเพลซออนไลน์อย่างอีเบย์คือการระบุประเภทของเครื่องประดับว่าเป็นเครื่องประดับชั้นดี นำเสนอสินค้าที่หลากหลายในราคาที่แตกต่างและจำหน่ายสินค้าที่มีใบรับรองจากสถาบันอัญมณีศาสตร์ที่มีชื่อเสียง
จำไว้ว่ายิ่งมีตัวเลือกมากเท่าไหร่ ร้านค้ายิ่งเติบโตมากเท่านั้น และยิ่งร้านค้าดูน่าเชื่อถือ ก็ยิ่งมีโอกาสในการขายแก่ผู้ซื้อเพื่อนำไปจำหน่ายมากขึ้น
ใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นโลจิกติกส์ในการจัดส่งสินค้าข้ามประเทศที่มีประสิทธิภาพ
ธุรกิจ SMEs ที่กำลังมองหาทางเพื่อเข้าไปมีส่วนในอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศในเอเชียที่กำลังเติบโตจะต้องสามารถมีข้อเสนอในเรื่องของการจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้แก่ลูกค้า ดังนั้น การร่วมมือกับผู้ให้บริการขนส่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กก้าวข้ามอุปสรรคที่ต้องพบในการส่งออกระหว่างประเทศในครั้งแรก ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลด้านกฏระเบียบระหว่างพรมแดน ไปจนถึงการดำเนินการผ่านขั้นตอนศุลกากรที่ซับซ้อน การเลือกผู้ให้บริการขนส่งที่ใช่จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs หลีกเลี่ยงความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เฟดเอ็กซ์อยู่บนเส้นตัดระหว่างเครือข่ายที่ทำการขนส่งกับเครือข่ายดิจิทัล เพราะสามารถขนส่งสินค้าโดยใช้ข้อมูลเป็นตัวสนับสนุน ช่วยให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างราบรื่นกับคลังสินค้า สู่ผู้ผลิต จนถึงลูกค้าที่อยู่ปลายทาง
การติดตามการจัดส่งแบบเรียลไทม์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกค้าซึ่งส่วนมากมีความกระตือรือร้นที่จะเช็ครายละเอียดของการจัดส่งทุกขั้นตอนไปจนถึงการมาถึงของพัสสดุที่สั่งไว้ การเลือกโซลูชั่นโลจิสติกส์ที่ตอบรับความคาดหวังของลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจ SMEs ไม่สามารถมองข้ามได้
เฟดเอ็กซ์มีทางเลือกที่หลากหลายในการจัดส่งพัสดุระหว่างประเทศให้กับลูกค้า การเปิดตัว FedEx® International Connect Plus (FICP) ซึ่งเป็นการรวมความรวดเร็วในการจัดส่งและราคาที่จับต้องได้ไว้ด้วยกัน ก็เป็นการขนส่งพัสดุสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามประเทศที่เปิดทางให้ธุรกิจจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลางและแอฟริกา (AMEA) ได้เพลิดเลพินไปกับการประหยัดการจัดส่งแบบระบุวันได้และลูกค้าได้รับความคุ้มค่าในการเลือกราคาที่เหมาะสมเพื่อจัดส่งสินค้าที่ต้องการ
FedEx International Priority Direct Distribution เป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นจากเฟดเอ็กซ์ที่มุ่งสนับสนุนผู้ค้าออนไลน์ในทุกๆ ตลาด โดยช่วยให้ผู้ขายสามารถส่งสินค้าจำนวนมากจากผู้ส่งรายเดียวในประเทศต้นทางไปยังลูกค้าหลายรายที่ประเทศปลายทาง โดยสินค้าจะผ่านกรมศุลกากรในรูปแบบพัสดุชิ้นเดียว จากนั้นพัสดุจะถูกจัดส่งตรงไปยังลูกค้าและผู้ค้าปลีกตามจำนวนสินค้าเป็นรายบุคคล อีกข้อหนึ่งที่เป็นประโยชน์คือ FedEx Delivery Manager ซึ่งช่วยให้ผู้ขายมอบทางเลือกให้กับลูกค้าในการระบุวันจัดส่ง ลูกค้าสามารถปรับการจัดส่งตามที่ต้องการรวมถึงเวลาและสถานที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
จากการที่ขนาดของตลาดเครื่องประดับในเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าถึง 130.49 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 (Fortune Business Insights, 2563) และการเติบโตของตลาดออนไลน์ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยที่เล็งเห็นโอกาสการเติบโตและมีศักยภาพที่จะปรับตัวได้เร็วจะเป็นผู้ที่อยู่รอดและไปได้ดีในโลกของอีคอมเมิร์ซ
ข่าวเด่น