หุ้นทอง
ยักษ์ใหญ่ไอพีโอครองตลาด ฯ ในปี 2564 การซื้อขายสะพัดทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ดีลอยท์เปิดเผยข้อมูลตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณะชน (IPO) มีความคึกคักเป็นอย่างมากที่ในช่วง 10.5 เดือนแรกของปี 2564 จากข้อมูลโดยดีลอยท์ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ชี้ให้เห็นว่า บริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่าการระดมทุนไอพีโอเป็นประวัติการ โดยมีมูลค่า 9.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นไอพีโอของบริษัทจำนวน 121 บริษัทในปีนี้ สูงกว่ามูลค่ารวมตลอดทั้งปี 2563 การซื้อขายหุ้นไอพีโอยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงดำเนินอยู่ ด้วยจำนวนหุ้นไอพีโอเพิ่มขึ้น 6%  ทำให้มูลค่ารวมของการระดมทุนเพิ่มขึ้น 39% และมูลค่ารวมของตลาดไอพีโอสูงขึ้น 24% เมื่อเทียบกับ 12 เดือนในปีที่แล้ว โดยสรุปแล้ว มูลค่ารายได้หุ้นไอพีโอเพิ่มขึ้น 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าในตลาดทุนเพิ่มขึ้นถึง 36.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564


ประเทศไทยยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำที่สามารถระดมทุนจากไอพีโอได้สูงสุดในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปีที่สามติดต่อกัน  ตามด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม การเติบโตต่อเนื่องของเศรษฐกิจ  ค่าเงินที่มีความแข็งแกร่ง  อัตราดอกเบี้ยต่ำ  และสภาพคล่องของเศรษฐกิจในประเทศที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ในไทยสามารถระดมทุนหุ้นไอพีโอได้มีมูลค่าถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  นับเป็น 43% ของทุนที่ระดมได้ในปี 2564 โดย บริษัทปตท. นํ้ามัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (PTTOR) คว้าอันดับหนึ่งในกระดานผู้นำหุ้นไอพีโอของภูมิภาคในปีนี้ ด้วยจำนวนเงินจากระดมทุนเป็นจำนวน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถระดมทุนได้มากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นปีที่สองติดต่อกัน

 

นางวิลาสินี กฤษณามระ  Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “หุ้นไอพีโอยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสำหรับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หุ้นไอพีโอในปีนี้มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบริษัทน้ำมัน จนถึงบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ค้าปลีก และธุรกิจทางการเงิน ซึ่งเป็นที่ดึงดูดนักลงทุนจำนวนมาก เราคาดว่าจะมีหุ้นไอพีโอจากอีก 10 บริษัทเป็นอย่างน้อย มาเสริมตำแหน่งปีทองของไอพีโอของไทยในปีนี้  และหากพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment: MAI) เราน่าจะได้เห็นการเข้าตลาดของบริษัทด้านดิจิตัลและเทคโนโลยีของไทยมากขึ้น  เป็นการก้าวออกจากบริษัทในรูปแบบเดิม”

สำหรับฟิลิปปินส์ หลังจากการจดทะเบียนเข้าตลาด REIT ของ AREIT, Inc ในปี 2563 ซึ่งถือเป็นการเข้าตลาด ฯ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT) เป็นครั้งแรก  ในปี 2564 นี้ เราได้เห็นการจดทะเบียนของกอง REIT ขนาดใหญ่อีก 4 ราย ซึ่งสามารถระดมทุนเป็นมูลค่ารวมถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  เมื่อรวมกับ Monde Nissin Corporation ที่มีมูลค่าการจดทะเบียนเข้าตลาดสูงสุดเท่าที่เคยมีมา เท่ากับ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในปี 2564 ฟิลิปปินส์ สามารถระดมทุนได้มากกว่าสี่ปี่ผ่านมารวมกัน

PT Bukalapak.com Tbk ของอินโดนีเซีย สามารถระดมทุนได้สูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นมูลค่าการระดมทุนสูงสุดเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ อินโดนีเซียถือเป็นผู้นำอันดับต้นๆ ของมูลค่าการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ของภูมิภาค ด้วยจำนวนบริษัทที่เข้าตลาด 40 บริษัทในช่วง 10.5 เดือนแรกของปี 2564 เทียบกับ 51 บริษัท ณ สิ้นปี 2563 ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียประสบความสำเร็จในการระดมทุนรวม 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10.5 เดือนแรกของปี 2564 โดยมีมูลค่าจดทะเบียนเพิ่มขึ้นหกเท่าจาก 377 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 นางสาว อิเมลดา ออร์บิโต Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ อินโดนีเซีย  ให้ความเห็นว่า “ด้วยข่าวแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล ที่มีแผนจะนำรัฐวิสาหกิจ 14 แห่งเข้าตลาดฯ ความมุ่งมั่นในการส่งเสริมทางเลือกในการระดมทุนเพื่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่าน Acceleration Board รวมถึง การคาดการณ์การเข้าตลาดครั้งใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยี จากการเติบโตของตลาดเทคโนโลยีเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามองว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นการเข้าสู่ยุคใหม่ของการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์”

จำนวนการเสนอขายหุ้นไอพีโอของมาเลเซียกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 โดยได้แรงหนุนจากผู้ลงทุนหลัก ประกอบกับจำนวนเงินทุนที่ไม่ได้ลงทุนจำนวนมาก uninvested capital  ด้วยอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและบริษัทที่ต้องการเพิ่มสถานะและความสามารถในการเจาะตลาดทุนเพิ่มจำนวนมากขึ้น “ตลาดไอพีโอ ของมาเลเซียยังคงสดใสด้วยจำนวนบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาด ฯ จนถึงปัจจุบันเป็น จำนวน 24 บริษัท   ด้วยการเปิดตัวแผนแม่บทตลาดทุนครั้งที่ 3 (Third Capital Market Masterplan) โดย เอส ซี มาเลเซีย (SC Malaysia)  การปรับการดำเนินเป็นดิจิทัล และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม  เรามั่นใจว่าจะมีบริษัทอีกมากมายที่จะจดทะเบียนเข้าตลาด ฯ ในปี 2565   เรายังต้องจับตาดูผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาค จากนโยบายทางการคลังและนโยบายด้านกฎระเบียบ รวมถึงการรายงานความยั่งยืน ในตลาดโลก แต่เราคาดว่าปี 2565 จะเป็นปีที่คึกคักมาก” นายหว่อง การ์ ชุน Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ มาเลเซีย กล่าว

การเสนอขายหุ้นไอพีโอในสิงคโปร์มีปริมาณน้อยมากในช่วง 10.5 เดือนแรกของปี 2564 เนื่องจากไม่มี  REIT ที่ปกติแล้วจะเป็นตัวสนับสนุนตลาดทุนไอพีโอ  ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) สามารถระดมทุนไอพีโอได้เป็นจำนวน 270 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อตกลงเสนอขายหุ้นไอพีโอ 5 ราย ซึ่งประกอบด้วยการเสนอขายหุ้นไอพีโอ 1 รายบนกระดานหลัก  โดยระดมทุนได้ 233 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอีก 4 รายบนกระดาน Catalist ซึ่งสามารถระดมทุนรวมเป็นจำนวนเงิน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  โดยเปรียบเทียบ การซื้อขายที่ระดมทุนได้ 968 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อตกลงไอพีโอ 11 ราย ในปี 2563 ตลาดฯ สิงค์โปร์ยังคงมีความหวัง ด้วยการจดทะเบียนและยื่นเข้าตลาดของไอพีโอ REIT โดย Daiwa House Logistics Trust และ Digital Core REIT  ในวันที่ 19 และ 22 พฤศจิกายน 2564 ตามลำดับ  ในอีก 1.5 เดือนข้างหน้าจะเป็นไฮไลท์ของตลาดทุนของสิงคโปร์  ซึ่งคาดว่ากรอบการทำงานใหม่ในการจดทะเบียนบริษัทเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special Purpose Acquisition Companies – “SPAC”) ที่เปิดตัวในเดือนกันยายน 2564  จะช่วยให้ตลาดทุนของสิงคโปร์ฟื้นตัวจากการเสนอขายหุ้นไอพีโอที่แห้งแล้งในปีนี้ และกลับมาทำได้ดีกว่าปีที่แล้ว
 

นางสาว เท ฮวี ลิง Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ เซาท์อีสท์ เอเชีย และ สิงค์โปร์ กล่าวถึงตลาดทุนว่า “จากการเพิ่มกฎการเข้าจดทะเบียนในกลุ่มรองลงมาและการนำ SPAC เฟรมเวิร์กมาใช้ บริษัทที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยชื่อท้องถิ่นที่คุ้นเคย มีทางเลือกมากขึ้นและสามารถระดมทุนในการจดทะเบียนได้เร็วมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนไอพีโอจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะส่งผลกระทบในทางที่ดีและช่วยเพิ่มพลวัตของสิงคโปร์ ในการเป็นตลาดทุนระดับนานาชาติที่จัดหารูปแบบการเติบโตให้กับบริษัทที่ต้องการเข้าจดทะเบียนได้”
 

“องค์กรที่มีการเติบโตสูง สามารถเข้าถึงกองทุน Anchor ซึ่งเป็นกองทุนการร่วมลงทุนใหม่ที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลสิงคโปร์และเทมาเส็ก เพื่อระดมทุนจากสาธารณะในตลาดทุนของสิงคโปร์ ด้วยระบบนิเวศแบบองค์รวมที่ส่งเสริมให้บริษัทเข้าสู่การจดทะเบียนหุ้นไอพีโอ ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงตลาดทุนในกรอบระยะเวลาอันสั้น ทำให้การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์เป็นไปได้เร็วขึ้น ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการเข้าจดทะเบียนมากยิ่งขึ้นในประเทศสิงคโปร์” 

สำหรับการคาดการณ์ในช่วงที่เหลือของปีนี้และปี 2565 นางสาว เท ฮวี ลิง เชื่อว่ายังจะมีบริษัทที่จะจดทะเบียนเข้าตลาดในช่วงท้ายปี และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสามารถระดมทุนได้สูงทะลุหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินมูลค่าทุนรวมที่ระดมได้ทำได้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อภูมิภาคฟื้นตัวจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

นางสาว เท ฮวี ลิง กล่าวเสริมว่า “ทุกสายตาจับจ้องมาที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนี้ ด้วยสภาพคล่องจำนวนมาก เห็นได้ชัดจากรายชื่อบริษัทที่เข้าจดทะเบียนจำนวนมากในภูมิภาคนี้ กระแสในบริษัท SPAC และศักยภาพของบริษัทในรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ที่ยังถึงจุดสูงสุด ท่ามกลางความไม่แน่นอนในกลุ่มตลาดทุน บริษัทได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยศักยภาพการเติบโตและโอกาสที่ยังคงมีอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดิฉันมีความเชื่อมั่นว่าตลาดทุนในภูมิภาคนี้จะประสบความสำเร็จในปี 2565 ด้วยแหล่งเงินลงทุนที่หลากหลายและความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติในธุรกิจในเอเชีย”

หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ไม่รวมข้อมูล ไอพีโอ ในช่วง 16 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคม 2564

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 พ.ย. 2564 เวลา : 18:04:49
30-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 30, 2024, 5:42 pm