สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผนึก บริษัท อิออน เรียลลิตี้ (Eon Reality) ผู้นำเทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์จากสหรัฐอเมริกา เปิด “ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center” ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีความจริงเสมือนและเสมือนจริงแบบครบวงจรแห่งแรกของไทย พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันแบบก้าวกระโดด หนุนภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมเออาร์และวีอาร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนของการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์กร โดยภายในศูนย์แบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนการเรียนรู้ (Experience) เปิดประสบการณ์ใหม่ในการสัมผัสกับเทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ โซนวิจัยและพัฒนา (R&D) พร้อมให้บริการทางวิชาการรวมถึงการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AR และ VR โซนอคาเดมี (Academy) การเรียนการสอนที่จะสามารถเปิดให้กับนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมบรรยากาศศูนย์ดังกล่าวแบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยติดต่อผ่านเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/KMITL.IDC
ทั้งนี้ กิจกรรมการเปิดศูนย์ดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายแดน เลอเจสการ์ (Mr.Dan Lejerskar) ประธานคณะกรรมการ บริษัท อิออน เรียลริตี้ (Eon Reality) จากสหรัฐอเมริกา รวมถึงผู้บริหารจากหน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมงานจำนวนมาก ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของสถาบันได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/kmitlofficial และเว็บไซต์ www.kmitl.ac.th
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเกิดจากการมองเห็นเป็นภาพสามมิติ (3D) มาตั้งแต่วัยเด็ก แต่จากการเรียนรู้ในห้องเรียนนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือที่เป็นสองมิติ (2D) ดังนั้น เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของผู้คนมากยิ่งขึ้น การฝึกฝนทักษะการเรียนรู้และการทำงานยุคดิจิทัลในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังโดยเร็ว จะเห็นได้จากการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด ที่สถานศึกษาทั่วประเทศจำเป็นต้องจำกัดพื้นที่เรียนรู้ ปรับแผนการสอนรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงผู้เรียน อีกทั้งผู้ปกครองทางบ้านต่างต้องปรับตัว ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก สัญญาณอินเตอร์เน็ต และอื่นๆ อย่างไรก็ดี หากในอนาคตอันใกล้มีแฟลตฟอร์มดิจิทัลที่สามารถสร้างห้องเรียนเสมือนจริง หรือ Classroom Reality ที่สามารถเชื่อมโยงผู้สอนและผู้เรียนในพื้นที่เดียวกันได้ แต่ยังคงระยะห่างที่ปลอดภัย นับเป็นมิติใหม่แห่งการเรียนการสอนไทยในยุคดิจิทัลที่แท้จริง
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าในยุคเมทาเวิร์ส (Metavearse) ที่ได้เชื่อมคนเข้าสู่โลกเสมือนจริงได้อย่างไร้รอยต่อ จะช่วยให้การชีวิตของผู้คนเป็นไปอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากการนำบิ๊กเดต้า (Big Data) เข้าสู่กระบวนการประมวลผลและประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ อาทิ การจำลองภาพพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์ความปลอดภัยเชิงพื้นที่ก่อนเริ่มการก่อสร้าง การนำข้อมูลการจราจรมาประมวลผลเป็นการเฝ้าระวังการข้ามถนนของผู้คน ซึ่งสอดรับกับแนวคิด “KMITL FIGHT” ของสถาบันในการขับเคลื่อนประเทศอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการเดินหน้าพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รับศตวรรษที่ 21
ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันได้ขยายความร่วมมือกับ บริษัท อิออน เรียลลิตี้ (Eon Reality) ผู้นำเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) และเสมือนจริง (Augmented Reality) ระดับโลก ในการจัดตั้ง “ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center” (KIDC) ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีความจริงเสมือนและเสมือนจริงแบบครบวงจรแห่งแรกของไทย เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันได้อย่างก้าวกระโดด ตลอดจนสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเออาร์-วีอาร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมลดต้นทุนของการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์กร ทั้งนี้ เมื่อศูนย์ KIDC ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว จะปรากฏในแผนที่โลก (Global Map) ในเครือพันธมิตรของ IDC ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งพร้อมต่อการเชื่อมโยงการวิจัยและพัฒนา (Research & Develop) อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) สถาบันวิชาการปัองกันประเทศ (สปท.) บริษัท ออโตเดสก์ (Autodesk) บริษัทซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบสาธารณูปโภค/อุตสาหกรรม/อาคาร บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (AWS: Amazon Web Services (AWS) บริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการข้อมูล และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (True Corporation)
ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ศูนย์ KIDC ศูนย์กลางการเรียนรู้และศึกษาวิจัยเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารระหว่างมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาทิเทคโนโลยี Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR), Mixed Reality (MR) และรวมไปถึง Extended Reality (XR) ที่เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ในหลากกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรม อาทิ ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR ช่วยทันตแพทย์สแกนฟันของผู้ป่วยเพื่อพิมพ์ฟันปลอมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์ดังกล่าว แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนการเรียนรู้ (Experience) พื้นที่ที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาลองเล่นและสัมผัสกับเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ โซนวิจัยและพัฒนา (R&D) พื้นที่พร้อมให้บริการทางวิชาการรวมถึงการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AR และ VR โซนอคาเดมี (Academy) การเรียนการสอนที่จะสามารถเปิดให้กับนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมบรรยากาศศูนย์ดังกล่าวแบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยติดต่อผ่านเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/KMITL.IDC
ด้าน นายแดน เลอเจสการ์ (Mr.Dan Lejerskar) ประธานคณะกรรมการ บริษัท อิออน เรียลริตี้ (EON Reality) จากสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นการจัดตั้งศูนย์ KMITL interactive Digital Center เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ KIDC ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นผู้นำทางด้าน เทคโนโลยี AR และ VR ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ด้วยจุดแข็งของสถาบันที่พร้อมด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจำนวนมาก ซึ่งนอกจากศูนย์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านงานวิจัยและนวัตกรรมแก่สถาบันแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกด้าน AR และ VR เพื่อพัฒนางานวิจัยให้ก้าวหน้าตามลำดับ
ทั้งนี้ กิจกรรมการเปิดศูนย์ดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายแดน เลอเจสการ์ (Mr.Dan Lejerskar) ประธานคณะกรรมการ บริษัท อิออน เรียลริตี้ (Eon Reality) จากสหรัฐอเมริกา รวมถึงผู้บริหารจากหน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมงานจำนวนมาก ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของสถาบันได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/kmitlofficial และเว็บไซต์ www.kmitl.ac.th
ข่าวเด่น