Blockchain Trilemma หรือสามเหลี่ยมของโลก Blockchain เป็นแนวคิดของ Vitalik Buterin หรือผู้ก่อตั้ง Ethereum ที่คนในวงการคริปโตคุ้นหน้าคุ้นตากันอย่างดี โดยได้ระบุคุณสมบัติที่ดีของ Blockchain ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ Security ความปลอดภัย, Scalability ความสามารถในการขยายขนาดของเครือข่าย และ Decentralization การกระจายศูนย์
1.Security ความปลอดภัย ความสามารถของระบบ Blockchain ที่สามารถรันการทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ติดขัด ปลอดภัยจากการโดนโจมตี หรือ Attacks, Bugs และปัญหาอื่นๆ ที่ไม่คาดฝัน
2.Scalability ความสามารถในการขยายขนาดของเครือข่าย ที่เครือข่าย Blockchain นั้นๆสามารถรองรับธุรกรรมที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด แม้ ณ ขณะนั้นจะมีผู้ใช้งานจำนวนมากก็ตาม
3.Decentralization การกระจายศูนย์ หรือก็คือ เครือข่าย Blockchain ใน Chain นั้นๆ ไม่อาศัยตัวกลางมาคอยตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้น แต่จะใช้ผู้คนที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆมาคอยจัดการข้อมูลการทำธุรกรรมแทน ซึ่งผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการของความเป็น Decentralization ได้ใน Scoop “Blockchain เบื้องหลังการสร้างมูลค่าให้ Digital Asset”
แต่ในความเป็นจริง Developers หรือเหล่าผู้พัฒนา จะสามารถเลือกให้ Blockchain ของตนมีคุณสมบัติได้เต็มที่เพียงแค่ 2 คุณสมบัติเท่านั้น ไม่สามารถพัฒนาให้ Blockchain ของตนมีคุณสมบัติครบทุก 3 องค์ประกอบได้ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่เอื้อที่จะให้คงคุณสมบัติเอาไว้ได้ทั้งหมด แต่อย่างไรเสีย การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าทางการเงิน เรื่องของ Security หรือความปลอดภัย ย่อมเป็นข้อบังคับตายตัวที่ในทุกๆ Blockchain จะต้องยืนพื้นเอาไว้
ทางเลือกของระบบ Blockchain ที่เกิดขึ้น จึงถูกแยกออกไปเป็น 2 ทาง นั่นก็คือ
1.เครือข่าย Blockchain ที่โดดเด่นในเรื่องของ Scalability ที่ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้รวดเร็วทันใจ และเสียค่า Gas หรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำ
2.เครือข่าย Blockchain ที่มีความเป็น Decentralization อย่างแท้จริง ปราศจากการควบคุมโดยอำนาจศูนย์กลาง ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของโลกคริปโต ซึ่ง Blockchain ของ Ethereum มีคุณสมบัติในเรื่องของ Security และ Decentralization ควบคู่กันตรงตามข้อ 2 แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไปในเรื่องของ Scalability ได้กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นของ Chain Ethereum นั่นก็คือ ปัญหาการทำธุรกรรมที่ติดขัด และค่า Gas ที่แพงเอาเรื่อง ด้วยขนาดของเครือข่ายที่มีอยู่อย่างจำกัด หากยิ่งอยู่ในช่วงที่มีการทำธุรกรรมที่รอการยืนยันอยู่เป็นจำนวนมาก ก็เปรียบได้กับการจราจรในตัวเมืองกรุงเทพในช่วงเวลาพีคๆ ที่รถทุกคันต่างมุ่งหน้าไปยังถนนสายเดียวกัน แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือรถติดอย่าบอกใคร ซึ่งกว่าเราจะดิ้นหลุดออกไปได้หรือทำธุรกรรมได้สำเร็จ ก็ต้องเสียค่า Gas ไปในจำนวนที่มหาศาลเลยทีเดียว
ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นของ Ethereum นี้ ทำให้ต่อมามีเครือข่าย Blockchain ที่ได้พัฒนาขึ้นและ(ชักจูงให้) ได้รับกล่าวขานว่า Chain ของตนนั้นเป็น “Ethereum Killer” หรือมาเพื่อล้มพี่ใหญ่ Ethereum เช่น BSC, Solana, Polygon หรือ Avalanche เป็นต้น โดยจะเข้ามาแก้ปัญหาที่ Ethereum ทำไม่ได้ ซึ่งก็คือเรื่องของ Scalability นั้นเอง
Chain เหล่านี้ จึงโดดเด่นในเรื่องของการทำธุรกรรมที่รวดเร็วและมีค่า Gas ที่ถูก แต่นั้นก็แลกมากับการที่ Chain เหล่านั้น ไม่ได้เป็น Decentralization อย่างแท้จริง 100% อย่างตัวของ BSC ที่เกิดมาเน้นในเรื่องของ Scalability แบบชัดเจนและมีความปลอดภัย แต่ความปลอดภัยที่ BSC มีนั้น มันมีพื้นฐานมาจากความเป็น Centralized หรือมีอำนาจศูนย์กลางที่สูงมากๆ โดยผู้พัฒนาสามารถมีอำนาจเข้าไปจัดการได้หลายเรื่อง เช่น ทาง BSC เคยทำการบล็อก Address กระเป๋าของเจ้าของ Meerkat Finance แพลตฟอร์ม DeFi บน Chain BSC ที่ได้ทำการ Rugpull หอบเงินที่ขโมยมาเต็มกระเป๋าไม่ให้ถอนเงินออกไปได้ ซึ่งหากเป็น Chain ของ Ethereum ทั้ง Vitalik และ Developers คนอื่นๆ ก็ไม่สามารถเข้ามายุ่งวุ่นวายกับ Address กระเป๋าเราได้ เนื่องจากความเป็น Decentralization
จริงๆแล้วทาง Ethereum รับรู้มาตลอดถึงปัญหาดังกล่าว และได้พยายามพัฒนาตัวเอง จาก Ethereum 1.0 ที่เป็นอยู่ใน ณ ขณะนี้ ให้อัพเกรดในด้านของการขยายขนาดของการทำธุรกรรม และลดค่า Gas ให้ได้มากที่สุดเป็น Ethereum 2.0 โดยยังคงรักษาความเป็น Decentralization และคงความ Security เอาไว้ดังเดิม ซึ่งเป็นการพยายามสร้างสมดุลของสามเหลี่ยมในโลก Blockchain ให้ไม่ต้องทิ้งใครคนใดคนหนึ่งไว้กลางทางอีก โดยจะเปลี่ยนจากการใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof of Work ที่ใช้การขุดด้วยพลังงานไฟฟ้า ไปเป็นระบบ Proof of Stake ไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรอีกต่อไป และเป็นมิตรกับโลกมากขึ้น แต่ผู้ตรวจสอบจะต้องวางเงินค้ำประกันแลกมากับสิทธิที่สามารถเข้าไปตรวจสอบและได้รับเหรียญ Ethereum เป็นค่าตอบแทน หรือก็คือ จากการประกอบเครื่องเพื่อมาขุดเหรียญ ที่เราพอได้ยินกันมาบ้างว่า มีคนเปิดเหมืองขุดเหรียญ Bitcoin หรือ ขุด Ethereum
โดยต่อไปเมื่อ Ethereum 2.0 พัฒนาได้เสร็จสมบูรณ์ ก็จะเปลี่ยนเป็นวิธีการ Staking แทน แต่กว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จนั้น อาจกินเวลาไปถึง 2-4 ปีเลยทีเดียว ฉะนั้นเลยต้องมีการแก้ปัญหาในระยะสั้น-ระยะกลางนี้ก่อน จึงได้เกิดการพัฒนาอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า Ethereum Layer 2 เป็น Scaling Solution เปรียบได้กับการสร้างทางด่วนขึ้นมา เพื่อระบายรถบนเส้นทางที่ติดอยู่ หรือก็คือ Ethereum Layer 1 ในตอนนี้ให้วิ่งฉิวออกไปได้อย่างไม่ติดขัด ทำให้การเดินทางรวดเร็วมากขึ้น และค่า Gas ก็ถูกลงอย่างมากด้วย
โดยใน EP.2 ทาง “AC News” จะมาเจาะลึกถึงเทคโนโลยี Ethereum Layer 2 เพื่อสร้างความเข้าใจในจักรวาล Ethereumให้มากขึ้น กับ “ทำความรู้จัก Ethereum EP.2: Ethereum Layer 2 ฉบับย่อยง่ายมือใหม่ก็เข้าใจได้”
ข่าวเด่น