DAOs ไม่ใช่คำทับศัพท์ภาษาไทยว่าดาว แต่มันย่อมาจาก “Decentralized Autonomous Organizations” แปลให้เข้าใจก็คือหมายถึง บริษัทหรือองค์กร (Organization) ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยการมีเทคโนโลยี Blockchain แบ็คอัพไว้ ซึ่งรันระบบขององค์กรด้วยการเขียน Code ที่เรียกว่า Smart Contract (การกำหนดเงื่อนไขหรือตกลงการกระทำต่างๆมาเขียนลงเป็น Code และนำ Code นั้นเก็บลงในกล่องของ Blockchain ที่จะไม่มีใครแก้ไขอะไรได้อีก หากตรงนี้ถ้าผู้อ่านอยากศึกษาแนวคิดของ Blockchain ให้เข้าใจ สามารถย้อนไปอ่านที่ AC News เขียนไว้เรื่อง “Blockchain เบื้องหลังการสร้างมูลค่าให้ Digital Asset” )ด้วยคอนเซปต์นี้เอง ทำให้องค์กรที่เป็น DAOs มีคุณสมบัติของความเป็น Decentralized หรือองค์กรไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ DAOs Member ทุกคนมีอำนาจในการบริหารจัดการร่วมกัน ซึ่งหากจะอธิบายให้เข้าใจกว่านี้ เราต้องลงลึกไปถึงองค์ประกอบหลักของ DAOs โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ Organization Decentralizations, Peer Production, Unbundling & Deregulation และ Crypto Trust & Consensus
• Organization Decentralizations ทุกคนสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้ คือสามารถเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆภายในองค์กร และได้รับผลตอบแทน หรือ Value อะไรบางอย่างกลับไป (ตามแต่ละองค์กร) การดำเนินงานหรือธุรกรรมต่างๆมีความโปรงใส เพราะทุกคนสามารถตรวจสอบได้จาก Blockchain และมีความเป็น “Borderless” ที่แม้ว่าจะอยู่กันคนละพื้นที่ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของ DAOs ได้
• Peer Production ลักษณะการทำงานภายใน DAOs จะอยู่ในรูปแบบของ “Self-organizing” ที่แต่ละคนในองค์กรจะมีการทำงานร่วมกันตามแต่สิ่งที่แต่ละคนถนัด ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบที่คล้ายกับการอาสาทำงานต่างๆ และสุดท้ายก็จะได้ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนร่วมกัน
• Unbundling & Deregulation ต่อจากข้อที่2 ด้วยความที่เป็น Self-organizing ทุกคนจึงสามารถทำงานได้เอง ไม่มีคนที่มีอำนาจมากกว่า หรือ CEO มาคอยอนุมัติงานหรือควบคุม จึงเป็นการแก้ไขปัญหาองค์กรในรูปแบบดั้งเดิม ที่การดำเนินงานแต่ละทีต้องผ่านการ Approve เป็นลำดับขั้น ซึ่งกินระยะเวลานานโดยใช่เหตุ
• Crypto Trust & Consensus ในเมื่อ DAOs เป็นองค์กรแบบ Decentralized ที่ไม่ได้มีใครคนใดคนหนึ่งควบคุม หรือเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว จึงไม่ได้วางความเชื่อใจที่ตัวบุคคล Human Trust แต่เราเชื่อใจใน Smart Contract และระบบฉันทามติ(Consensus) ที่ดำเนินการด้วยการฟังเสียงของทุกคนในองค์กร
เส้นทางการพัฒนา DAOs
การเกิดขึ้นขององค์กรในรูปแบบ DAOS นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 6 ขั้น ได้แก่
1. Participative เริ่มต้นจากคนกลุ่มหนึ่งๆ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกันเพื่อที่จะสร้าง Product อะไรบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญกับมัน หรือมีคุณค่าร่วมกัน
2. Collaborative เป็นขั้นของการ Add Value หรือมีการตกลงร่วมกันว่าองค์กรในรูปแบบ DAOs ที่จะสร้างขึ้นมานั้นจะดำเนินไปทิศทางไหน หรืออยากให้ออกมาเป็นอย่างไร
3. Co-operative กลุ่ม Co-Founder กลุ่มนี้ก็จะมีการแชร์ Productivity ของตัวเอง หรือเกิดการทำงานร่วมกันแยกไปตามแต่ละด้านที่ตนเองถนัด
4. Distributed จากการร่วมกันระดมสร้างแนวคิดให้กลายเป็นโปรเจคที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเฟสแรก ก็จะสามารถเริ่มดึงดูดคนอื่นๆ เข้ามาเป็นสมาชิกในองค์กร ทั้งการลงทุน หรือการทำ Activity ต่างๆที่เป็นการส่งเสริมองค์กร
5. Decentralized เมื่อเกิด Ecosystem จนตอนนี้มีแพลตฟอร์ม หรือมี Product ออกมาแล้ว ก็จะเกิดการ Scale หรือขยายการให้บริการ หรือนำส่ง Product ของโปรเจค ออกไปให้กว้างขวางมากขึ้นตามที่แต่ละองค์กรวางแผนเอาไว้
6. Autonomous สุดท้ายก็เป็นการพัฒนาระบบ Smart Contract ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือเพิ่มขีดความสามารถให้กับ AI อันทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ ที่โครงสร้างขององค์กรจะรันอยู่ได้เองอย่างยั่งยืน โดยที่เราไม่ต้องใช้คนเข้าไปแก้ระบบหลังบ้านให้ยุ่งยากอีกต่อไป ซึ่งก็จะเป็นร่างสมบูรณ์ของ DAOs นั่นเอง
แล้ว DAOs แตกต่างจาก บริษัท/องค์กรดั้งเดิมยังไง?
สิ่งที่แตกต่างชัดเจนที่สุด คือองค์กรแบบ DAOs ไม่มี CEO กล่าวคือโครงสร้างองค์กรของ DAOs จะอยู่ในรูปแบบ “Flat Organization” ไม่มีใครเป็นเจ้านาย ไม่มีใครเป็นลูกน้อง ทุกคนเท่าเทียมและมีสิทธิในการโหวตเพื่อหาข้อตัดสิน แล้วนำข้อตัดสินดังกล่าวที่ได้มานั้นเขียนเป็น Smart Contract กลายเป็นหลักในการกำกับดูแล หรือการดำเนินการในองค์กร และยังมีความโปร่งใส ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตัว Smart Contract นี้เองที่ทำหน้าที่แทน CEO ซึ่งถ้านำ DAOs มาใช้บริหารบ้านเมือง ตัว Smart Contract ก็ทำหน้าที่ข้อเป็นปฏิบัติหรือข้อกฎหมายนี้เอง ตามคำในภาษาอังกฤษว่า “Code is Law” ส่วนองค์กรแบบดั้งเดิมนั้นยังคงให้น้ำหนักกับระบบของโครงสร้างอยู่ ทำให้การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกินเวลามากกว่า และหากอยากเปลี่ยนแปลงอะไรด้วยวิธีการโหวต เสียงของเราก็อาจไปไม่ถึงผู้ที่กำกับดูแลขององค์กรนั้นๆ ซ้ำร้ายยิ่งกว่าคือเรื่องของ Human Errors มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เป็นปกติ อาจทำเอกสารผิดพลาด ไปจนถึงการ Corruption ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น การเลือกตั้งที่มีการโกงผลโหวต หรือการ Manipulate คนอื่น เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจเพียงคนกลุ่มใดคนหนึ่ง เป็นต้น
ระบบแบบ DAOs นี้ สามารถนำไปใช้กับบริษัทหรือองค์กรได้หลากหลาย ทั้งตัว DeFi ที่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างแพลตฟอร์ม “MakerDAO” แพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม (Lending Platform) บนเครือข่าย Ethereum รวมถึง DApps ต่างๆในโลก Digital Asset และยังสามารถนำไปใช้บริหารจัดการได้กับเมือง (City) หรือก็คือทำให้เมืองนั้นๆกลายเป็น “Crypto City” ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ Ecosystem ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของผู้คน การเมือง หรือการคอรัปชั่น ซึ่งปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการทดลองทำ Crypto City ในหลายๆแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่กำลังจะมีโปรเจค “Chiangmai Crypto City” เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และยังเป็นโปรเจคแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ซึ่งในEp.หน้า “AC News”จะมาแชร์ข้อมูลของโปรเจคนี้ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นกับ “Chiangmai Crypto City อนาคตอันสดใสของเมืองยุคใหม่ แห่งแรกในไทย-อาเซียน”
ข่าวเด่น