จากบทความ Ep.ที่แล้ว ทาง AC News ได้แนะนำระบบ “DAOs” คอนเซปต์องค์กรที่ใช้โครงสร้างของเทคโนโลยี Blockchain เข้ามา Back Up ให้ผู้อ่านได้รู้จักกันใน “ทำความเข้าใจ “DAOs” นิยามขององค์กรรูปแบบใหม่ ที่รันด้วยระบบ Blockchain” กันไปแล้ว โดยตัวระบบ DAOs นี้ สามารถนำไปใช้บริหารจัดการได้กับเมือง ที่ทำให้เมืองนั้นๆกลายเป็น “Crypto City” เมืองแห่งนวัตกรรมที่มีอำนาจแบบกระจายศูนย์ และมี Ecosystem ที่เป็นมิตรกับทุกคนในเมือง ฉะนั้นในสัปดาห์นี้เราจึงเลยอยากพาผู้อ่าน ได้มารู้จักกับโปรเจค “Chiangmai Crypto City” เป็น Social Enterprise Platform แห่งแรกในไทย และในภูมิภาคอาเซียน
มาปูพื้นเรื่อง Crypto City กันก่อน
Crypto City หรือเมืองคริปโต เป็นนิยามของรูปแบบเมืองที่มีการนำระบบ DAOs เข้ามาบริหารจัดการ หรือเรียกได้ว่าเป็นการใช้ Blockchian เข้ามาเป็น Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน) ให้กับทุกๆอย่างของเมือง ทำให้ Data หรือข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งขึ้นไปอยู่บน On-Chain ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ Trackingได้ มันจึงมีความโปร่งใส เชื่อถือได้ และที่สำคัญการใช้ Blockchain Infrastructure นี้จะทำให้เกิด Ecosystem ที่เป็นมิตรกับ User หรือทุกๆคนที่อยู่ในเมือง เพราะคีย์หลักสำคัญเลยคือ เราสามารถตัดตัวกลางที่เข้ามาตัดผลประโยชน์ของเราระหว่างทางออกไปได้ในเมืองของ Crypto City ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเลยคือ ปัจจุบันนี้ที่เราเห็นการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับด้านของFinancial ที่เกิด Bitcoin Cryptocurrency และ DeFi ต่างๆออกมามากมาย ซึ่งเราเห็นหนทางแล้วว่าเมื่อตัดตัวกลางอย่างธนาคารออกไป การธุรกรรมทางการเงินต่างๆมันเอื้อประโยชน์กับเรามากขึ้น อย่างค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม หากเราใช้บริการผ่านตัวกลาง แน่นอนเขาชาร์จเราเพิ่มจากต้นทุนทั้งการจ้างบุคลากรของธนาคาร ต้นทุนด้านสาขา หรือด้านเอกสาร ที่จะออกมาเป็นในรูปแบบของดอกเบี้ยเงินกู้ หรือได้รับผลตอบแทนดอกเบี้ยจากการฝากเงินในจำนวนไม่มากนัก กลับกัน การใช้ DeFi มันทำให้เราเห็นแล้วว่าดอกเบี้ยที่เราได้รับจากการ Staking จากการทำฟาร์มใน DeFi มันมากกว่าอย่างชัดเจน ดอกเบี้ยการกู้ก็ลดลง (สามารถเข้าไปดูข้อมูลของ DeFi เจ้าต่างๆได้ที่: https://defillama.com/ )
นอกจากการนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาจับด้าน Financial ได้แล้ว Blockchain ยังสามารถเข้าไปเป็น Infrastructure ให้กับด้านอื่นๆได้อีก ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราคิดค้นโครงการ หรือเอาไปจับกับอะไร อาจเป็นเรื่องHealthcare การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงบน Blockchain ที่เมื่อเราเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไหน ก็จะใช้ชุดข้อมูลเดียวกัน ไม่เสียทรัพยากรด้านเวลาในการดำเนินการ หรือการเสียเวลาเขียนเอกสารที่สามารถเกิด Human Errors ได้ อาจเป็นเรื่องของการขนส่ง หรือเรื่องของด้านเกษตรกรรม ที่โดยปกติแล้วเกษตรกรกับผู้บริโภค จะไม่มีการติดต่อค้าขายโดยตรง แต่ต้องนำส่งผลผลิตผ่านคนกลางก่อน ซึ่งระหว่างทางตรงนี้เองที่จะมีการบวกราคาเพิ่มเติม ทำให้ราคาของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีราคาสูงขึ้น และเกษตรกรเองก็ไม่ได้รับผลตอบแทนตรงตามจำนวนเงินที่ผู้บริโภคได้จ่ายไป แต่การวางระบบเป็น Crypto City ขึ้นมาในเมืองนั้นๆ เมื่อข้อมูลทุกอย่างและระบบรันอยู่บน Blockchain เราสามารถตัดกระบวนการที่มันมีต้นทุนอันทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นออกไป สามารถตัดคนกลางอย่างยี่ปั๊วซาปั๊วออกไปได้ ทำให้สุดท้ายผลประโยชน์มันก็กลับมาสู่คนในเมือง คนในชุมชนจริงๆ ในบทบาทผู้บริโภค เราสามารถซื้อสินค้าได้ถูกลง และเกษตรกร (Supplier) ก็ได้รายได้จากผลผลิตของตนที่มากขึ้น จึงเรียกได้ว่า ทุกๆโปรเจค ทุกๆ Activities ที่เกิดขึ้นในเมือง Crypto City ก็เป็นไปในลักษณะของ “Social Enterprise” กิจการเพื่อสังคมนั้นเอง เพราะในการคิดโปรเจคหรือกิจการใดๆขึ้นมา มันเริ่มต้นมาจากคนในเมืองเอง สุดท้ายแล้วตัวของ Supplier และ User ก็คือคนๆเดียวกัน เป็น User ด้วยกันเองที่เอื้อประโยชน์แก่กัน
Chiangmai Crypto city คืออะไร?
ปัจจุบันนี้ได้มีเมืองที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain เข้าไปเป็น Infrastructure ให้กับเมือง และนำระบบDAOs เข้าไปบริหารจัดการ เกิดเป็น Crypto City ขึ้นมาตามตารางด้านบน โดยเฉพาะเมือง Zug ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน เอื้อต่อธุรกิจ Star-up ที่มีความเล็งเห็นคุณค่าของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จนตอนนี้มูลค่าของบริษัททั้งหมดที่รันด้วยระบบ Blockchain ในเมืองZug มีมูลค่าทั้งหมด 611 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ตัวของโปรเจค Chiangmai Crypto City (CCC) นั้นจึงได้เกิดขึ้นมาโดยพยายามทำตามเมืองCrypto City ที่ได้นำร่องมาก่อนในแต่ละประเทศ ด้วยการจับเทคโนโลยีBlockchain เข้ามาเป็นโครงสร้างพื้นฐาน และการใช้ระบบDAOs มาบริหารจัดการในเมือง เพื่อเป็น “Social Enterprise Platform” หรือการดำเนินกิจการ โปรเจคStart-up ต่างๆ ที่สรรค์สร้างโดยประชาชน เพื่อประชาชน (User ด้วยกันเองในเมือง) ลักษณะธุรกิจต่างๆที่เกิดขึ้นใน Chiangmai Crypto City จึงอยู่ในลักษณะของ Sharing Society ที่เอื้อประโยชน์กันและกัน และมี Ecosystem ที่มีการแชร์ทรัพยากรร่วมกันด้วย โดยพญ. นวพร นะลิตา Co-Founder และ Head Leader ของโปรเจค ได้กล่าวถึงVision ว่า “ต้องการอยากที่จะเป็น Silicon Valley อีกแห่งที่พร้อมสำหรับ Start-up ในประเทศไทย” อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพว่าเมือง Silicon Valley เป็นเมืองที่มีการสนับสนุนให้กับโปรเจค Start-up ทั้ง 3 ทาง จากหน่วยงานภาครัฐ, ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา จึงทำให้ Silicon Valley เป็นเมืองที่มีการรวมตัวของคนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวหน้า ที่ให้คุณค่าร่วมกันในเรื่องของนวัตกรรม เกิดเป็นธุรกิจ Start-up ต่างๆที่มีวิวัฒนาการเรื่องของเทคโนโลยีBlockchain อย่างก้าวกระโดด และมี Ecosystem ที่ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรกันได้
กลับมาที่ตัวของ Chiangmai Crypto City ในระยะนี้โปรเจคจะอยู่ในขอบเขตที่เป็น “Research Sandbox” พื้นที่ทดลองที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ (รอประกาศพื้นที่อย่างเป็นทางการจากโปรเจค) ที่จะอำนวยให้ผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันเข้ามาร่วมพัฒนาองค์กรและชุมชน ซึ่งสามารถเข้ามาลองผิดลองถูกภายในพื้นที่ อาจสามารถร่วมตัวกันจัดตั้ง Start-up ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์ให้กับ Chiangmai Crypto Cityได้ ด้วยการสนับสนุนจากหัวหอกที่สำคัญทั้ง 3 ด้าน
1. หน่วยงานภาครัฐ ให้การสนับสนุนในเรื่องของ Blockchain ความรู้เทคโนโลยี และเรื่องของข้อกฎหมาย ซึ่งตอนนี้Partner ที่ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการคือ Digital Economy Promotion Agency(DEPA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สาขาภาคเหนือตอนบน)
2. ภาคเอกชน ทรัพยากรด้านอื่นๆ
3. สถาบันการศึกษา เป็นแง่ของการผลิตทรัพยากรบุคคลเข้ามา จากการจัดการถ่ายถอดหลักสูตรความรู้ ซึ่งตอนนี้ Partner ที่ประกาศออกมาคือ มหาวิทยาลัยรังสิต
โดยทั้ง 3 ด้านนี้จะส่งเสริมโปรเจค Start-up ต่างๆที่เกิดขึ้น ให้ได้รับการสนับสนุน และเกิดการ Implement ขึ้นมาในพื้นที่ทดลองดังกล่าว และในแต่ละ Start-up ที่โยงใยกันด้วยระบบ Blockchain เครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้น ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรและถ่ายโอนองค์ความรู้ให้แก่กันได้ มีระบบ Feedback เป็นตัววัดว่าสิ่งที่ Implement ไปนั้นใช้ได้หรือไม่ มันจึงสามารถเกิดเป็น Ecosystem ในพื้นที่ดังกล่าว ที่มีการช่วยเหลือกันและกัน และผลักดันให้เกิดการพัฒนาโปรเจคที่ใช้ได้จริง และรันอยู่ต่อด้วยระบบ DAOs
Chiangmai Crypto City ถือเป็น Research Sandbox ที่ Friendly มากในการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ ที่ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนก็ตาม หากมีอุดมการณ์เดียวกันในแง่ของการสร้างเมืองที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น เชื่อในเทคโนโลยี Blockchain และระบบ DAOs ก็สามารถเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรได้ หากผู้อ่านสนใจ สามารถเข้าไปพูดคุยหรือโยนไอเดียกับคนใน Community ได้ทางช่อง Discord: https://discord.com/invite/chiangmaicryptocity หรือสามารถติดตามข่าวสารของโปรเจคได้ที่ https://twitter.com/Chiangmaicrypto
ที่มา
ข่าวเด่น