กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ปรับลง โดยมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ยังตึงเครียด และเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารเรื่องรัสเซียสั่งเตรียมพร้อมสำหรับนิวเคลียร์ หรือสองฝ่ายหาทางออกด้วยการเจรจา ส่วนชาติพันธมิตรคว่ำบาตรรุนแรงขึ้น ทำให้ดัชนีผันผวน ด้านแนวรับอยู่ที่ 1658-1668 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1688-1700 จุด กลยุทธ์ Selective Buy หรือเก็งกำไรอย่างระมัดระวัง ส่วนพอร์ตหลักจุดซื้อเพิ่มรอคำแนะนำอีกครั้ง
ล็อคเป้าลงทุน:
> ภายใต้ความเสี่ยงด้านความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เพิ่มขึ้นและยากจะคาดการณ์ Downside อีกทั้งจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นยังสร้างความกังวลต่อมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนสำหรับผู้ที่ได้รับความเสี่ยงได้สูงจึงแนะนำหาจังหวะลงทุนในช่วงที่ความผันผวนเพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำอาจชะลอลงทุนจนกว่าจะมีสัญญาณคลี่คลายในระยะแรกในการเจรจาหยุดยิงเพื่อลดความเสี่ยง
> Core Portfolio : คงน้ำหนักพอร์ตไว้ที่ 50% โดย Let Profit Run สำหรับหุ้นที่ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโตดี มีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอกอย่าง KBANK AMATA LH GULF ADVANC ONEE
> Weekly Portfolio : เก็งกำไรน้ำหนักไม่เกิน 25% ดังนี้ 1) นักลงทุนรับความเสี่ยงได้สูงและมองสถานการณ์ในยูเครนจะยืดเยื้อ แนะนำเก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นน้ำมันอย่าง PTTEP และ BCP หรือ หาจังหวะซื้อหุ้นหลังตลาดปรับลงแรงมาบริเวณ 1650 จุด ในหุ้นที่คาดจะเด้งแรงหากสถานการณ์คลี่คลายอย่าง KBANK, MINT, IVL, CRC, GPSC และ 2) นักลงทุนที่กังวลต่อประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน อาจจะพิจารณาหุ้นที่มีลักษณะเชิงรับอย่าง BDMS, BJC, ADVANC
> Daily Focus : แนะนำ LH หลัง 4Q64 กำไรสูงกว่าเราคาด 8% จากอัตรากำไรขั้นต้นที่แข็งแกร่งและ SG&A ที่ลดลง ส่วนปี 65 คาดกำไรเติบโต 14%YoY และมี upside จากการขายสินทรัพย์ใน 2Q65 และ OSP ปี 65 คาดกำไรโต 14.8%YoY จากการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์หลัก M150 ขวดละ 12 บาท และตั้งเป้าลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
ประเด็นสำคัญ
# ตลาดหุ้นสหรัฐ-ยุโรปขึ้นแรง ราคาน้ำมันร่วง
ตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นแรง นลท. คลายกังวลจากข่าวรัสเซียพร้อมเจรจากับยูเครน รวมทั้งการรายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ม.ค. ดีกว่าคาด ขณะที่ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ม.ค. เพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดเล็กน้อย ด้านตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวแรง ราคาน้ำมันปรับลดลง
# EU-UK-แคนาดา-สหรัฐ ถอดรัสเซียออกจากระบบ SWIFT
ซึ่งเป็นระบบตัวกลางในการโอนเงินระหว่าง ป.ท. เบื้องต้นเราประเมินว่าผลกระทบต่อไทยค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสัดส่วนของตลาดรัสเซียในการส่งออก นำเข้า และ นทท.เข้า ป.ท. ราว 0.4%, 0.6% และ 5% ตามลำดับ หาก นทท. รัสเซียไม่เข้าไทยในปีนี้ จะทำให้สูญเสียรายได้ราว 0.2% ของ GDP เท่านั้น
# สัปดาห์นี้ติดตามถ้อยแถลง ปธ.Fed-ประชุม OPEC+
ประเด็นใน ป.ท. 28 ก.พ. รายงานยอดส่งออก–นำเข้าของ ม.ค., 4 มี.ค. ตัวเลขเงินเฟ้อ ก.พ. ส่วนประเด็น ตปท. 2 มี.ค. ประชุม OPEC+ คาดยังเพิ่มกำลังการผลิต 4 แสนบาร์เรล/วันใน มี.ค., 2-3 มี.ค. ปธ. Fed แถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรส และ 4 มี.ค. รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน ก.พ. ของสหรัฐ
Wealth Strategy
แนะนำหุ้นต่างประเทศประจำสัปดาห์ 1) หุ้นกลุ่มที่ลดลงจากประเด็นความขัดแย้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานจำกัด Booking, Boeing, Oracle, AT&T, Visa, Apple 2) หุ้นกลุ่มพลังงานสะอาดที่คาดว่าจะลดความพึ่งพาน้ำมันน้อยลง (ICLN, TSLA) 3) หุ้นที่คาดว่าจะรีบาวด์แรงในระยะสั้นหากสถานการณ์เริ่มดีขึ้น Philip Morris, Bank of America, Coca-Cola, Veon, และ Uniper
บทวิเคราะห์วันนี้
BAM – 4Q64: ฟื้นตัวดีตามคาด
BGRIM – 4Q64: กำไรอ่อนแอต่อเนื่อง
BLA – 4Q64: ผลประกอบการอ่อนแอกว่าคาด
CRC – 4Q64: กำไรสุทธิเป็นไปตามคาด
ESSO – 4Q64: ได้แรงหนุนจาก GRM และ crude run ที่ดีขึ้น
DIF – 4Q64: ผลประกอบการเป็นไปตามคาด
LH – 4Q64: กำไรสูงกว่าคาดอยู่ 8%
MINT – 4Q64: ดีเกินคาด กลับมามีกำไรปกติครั้งแรกตั้งแต่ปี 2562
TCAP – 4Q64: ดีเกินคาด เพราะกำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
TQM – 4Q64: กำไรสุทธิต่ำกว่าคาดเล็กน้อย กำไรปกติน่าพอใ
ข่าวเด่น