หากใครอยู่ในวงการ NFT หรือคนที่อยู่ในวงการ DeFi แล้วกำลังแง้มประตูจะพิจารณาซื้อ NFT สักภาพ คงน่าจะได้เห็น NFT ที่ชื่อ “MetaWarden” กันแทบทุกคน เจ้าตัวการ์ตูนที่ออกแบบมาใน Theme อวกาศ หน้าตาน่ารักและมีเอกลักษณ์อยู่บนดวงตา ซึ่งเราสังเกตได้เลยว่ามันดูเหมือนจะเป็นกระแสอย่างมาก เพราะด้วยความที่มีคนที่ถือ NFT ของ MetaWarden เป็น Influencers ชื่อดังในหลากหลายวงการ ตั้งแต่วงการการเงิน ดารานักแสดง Youtuber หรือแม้กระทั่งค่ายเพลงเองก็ตาม แถมเรื่องของราคา Floor ถ้าไม่นับภาวะตลาดหมีในช่วงนี้ก็ดูสูงขึ้นอย่างมาก จากวันที่เปิดให้ Mint และยังมีสิทธิพิเศษให้กับผู้ที่ถือ NFT โปรเจคนี้มากมาย อะไรกันที่ทำให้ MetaWarden เป็นโปรเจค NFT ที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในตลาด วันนี้ "AC News" จะมาถอดบทสำเร็จให้ได้อ่านกัน
จุดเริ่มต้นมาจาก การวาง Community เป็นหัวใจสำคัญ
หากผู้อ่านได้อ่านบทความ “NFT คืออะไรกันแน่? งานศิลปะไฟล์ JPEG มีมูลค่าด้วยเหรอ?” ที่ทาง AC News เคยได้โพสไป คงพอจะเข้าใจถึงคุณสมบัติของ NFT ว่าเป็นประตูอีกบานหนึ่งในการเข้าสังคม ที่เราสามารถซื้อสะสมงานศิลปะได้ในโลกออนไลน์ และการที่ระบบ Blockchain นั้นรันอยู่เบื้องหลัง ทำให้การแสดงถึงสิทธิความเป็นเจ้าของของ NFT ที่เราซื้อนั้นเปิดเผยออกสู่สาธารณะ ทุกคนจึงรู้ได้ว่าเรานั้นสะสมงานอะไร ของโปรเจคไหนบ้าง และการที่เราเลือกซื้อ NFT ของโปรเจคไหนนี้เอง ที่จะทำให้เรากลายเป็นส่วนหนึ่งใน Community ของโปรเจคนั้นๆ เพราะ Community มันเกิดขึ้นมาจากคนที่ชอบอะไรเหมือนๆกันมารวมตัวกัน ซึ่งเราเห็นได้จากการมี Group ต่างๆใน Facebook หรือเรื่องใกล้ตัวอย่างเพื่อนที่เราคบ ชมรมกิจกรรมที่เราเคยอยู่สมัยเรียน ใน Community นั้นสังเกตได้เลยว่าเรามีการยึดถือคุณค่าอะไรบางอย่างที่เหมือนๆกัน ตรงนี้เองที่เป็นเหตุให้หลายๆโปรเจคในตลาด NFT ที่สร้างสรรค์ผลงานออกมามากมาย แต่เปิดขายได้สักพักราคาก็สไลด์ตัวดิ่งจมดินกันไป บ้างก็ขายไม่ได้เลย Volume การซื้อขายน้อย หรือไม่ก็เป็นงาน NFT ที่สร้างขึ้นมาแล้วเป็นเสมือนเป็นภาพเปล่าๆที่ไม่มีเรื่องราวอะไรในนั้น (เหมือนทำขึ้นมาเรื่อยเปื่อย)
เพราะสิ่งที่สามารถอธิบายถึงความล้มเหลวที่เกิดขึ้นอย่างง่ายเลยก็คือ การที่ Founder หรือศิลปินผู้ริเริ่มโปรเจคนั้นๆ “ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา Community เลย” หรือถ้าเปรียบกับการขายของก็เหมือนกับไม่สนใจในการทำ Branding หรือไม่มีบริการหลังการขายใดๆ ที่ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจหรือความผูกพันในแบรนด์ของตน เพียงแต่สร้างงานขึ้นมาเพียงหวังว่างานจะขายได้ เมื่อขายแล้วก็ถือว่าปิดจ็อบ ภารกิจสำเร็จเสร็จสิ้นเพียงแค่นั้น ซึ่งแนวคิดนี้ดูยังไงก็ไม่ได้เกิดขึ้นเลยกับโปรเจค NFT MetaWarden เพราะถ้าไปดูที่มาของโปรเจค ทีมที่สร้างขึ้นมานั้นก็คือ ทีม Founder และ Developer ของ “WardenSwap” เป็น DeFi ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของ Best Rate Swap มีความปลอดภัยจากการได้รับการ Audited โดย Certik และ Valix (เพราะช่วง1-2ปีก่อนหน้านี้ DeFi เป็นเรื่องที่ใหม่มาก เห็นการโกง หรือการ Rugpull ของโปรเจค DeFi เป็นประจำ) และยังได้รับการเชื่อถือ จาก Influencers ด้าน Digital Asset อย่างคุณ Kim DeFi Daddy หรือช่องของคุณ Kim Property Live ที่แน่นอนว่าใครก็ตามที่เริ่มสนใจในเรื่องของ Cryptocurrency หรือการใช้ DeFi ช่องที่กล่าวมานี้ก็ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกที่ให้ความรู้ และสอน How-to ต่างๆในโลกของ Digital Asset จึงไม่แปลกที่ Community มันเริ่มบ่มเพาะมาตั้งแต่ตัวของ DeFi แล้ว โดยเราก็สามารถเปรียบ WardenSwap ได้กับแบรนด์สินค้าแบรนด์หนึ่งที่มี Loyal Customer มารวมตัวกันเป็นกลุ่ม Community ที่พูดคุยเรื่องของ DeFi ขึ้นมา และเมื่อทาง WardenSwap ได้เปิด Roadmap ปี2022 ที่จะทำ
NFT (https://www.wardenswap.finance/nft/) ก็ได้มีการเปิด Whitelist (ได้รับสิทธิในการ Mint ก่อน) ซึ่งก็แทบจะเป็นคนที่รับรู้ข่าวมาก่อน หรือก็คือคนใน Community ที่ใช้งานในตัว DeFi อยู่ก่อนแล้วทั้งหมดเป็นคนที่ Mint NFT MetaWarden ไป เมื่อ Scale มันใหญ่ขึ้นจากการทำ Product ไลน์ใหม่ การได้รับความสนใจก็มีมากขึ้นไปด้วยจากคนใหม่ๆในตลาด NFT ซึ่งก็ส่งผลให้ Community ขยายใหญ่ขึ้น มีการเชื่อมโยงเครือข่ายทอดยาวออกไปเรื่อยๆ (หรือภาษาบ้านๆเรียกว่าการเติมกาว หรือการป้ายยาให้คนข้างเคียง) เราจึงได้เห็นปรากฏการณ์ที่มี Influencers ชื่อดังจากหลากหลายวงการครอบครองน้องๆ MetaWarden กัน
· ตัวอย่าง Influencers ที่เป็นคนใน Community
คุณนิรันดร์ CEO ของ AVA Advisory ที่ใครหลายๆคนในวงการ DeFi จะรู้จักเขาจากทางFacebook https://www.facebook.com/niranpr เพราะก็เป็นอีก1คน ที่กระจายความรู้ในเรื่องของ DeFi และ How-to ต่างๆเช่นกัน ก็เป็นคนใน Community ของ MetaWarden
The Fadd Youtuber รายการกินจุจาก https://www.youtube.com/c/TheFadd ที่มีผู้ติดตามกว่า 8 แสนคนก็ถือ MetaWarden เช่นกัน
หลุยส์ 1Flow แร็ปเปอร์ชื่อดัง ก็ได้มีน้อง MetaWarden ไว้ในครอบครอง
Yupp Entertainment ค่ายเพลงชื่อดังของไทย ก็ร่วม Join ใน Community อีกเช่นกัน
การที่มี Influencers ในหลากหลายวงการอยู่ใน Community ทำให้โปรไฟล์ของผู้ที่ถือ MetaWarden ที่มีจำกัดอยู่เพียง 3,000 ภาพ นั้นมีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากราคาที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และสิ่งที่ทำให้ Community นี้น่าอยู่และยิ่งชักชวนให้คนอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย คือทีมเจ้าของโปรเจคนั้น ใส่ใจดูแลคนใน Community ตรงที่การมีการสื่อสาร ตอบคำถาม และเปิดรับความคิดเห็นกับคนใน Community อยู่ตลอด ซึ่งมันเป็นการ Built ให้เกิด Ecosystem ที่คนในนั้นสามารถสรรค์สร้างสิ่งอื่นๆ Spin off ออกมาที่เกิดประโยชน์กับคนในสังคมนั้น อย่างเช่นในเรื่องของลิขสิทธิ์ภาพ NFT ที่ทาง Warden ได้ไขข้อข้องใจ เปิดไฟเขียวให้สามารถนำ NFT ของโปรเจคที่ตนถืออยู่ไปใช้ในรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้ จึงได้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Privileges” หรือการให้สิทธิประโยชน์เฉพาะพวกพ้องเดียวกันขึ้นมา ที่แสดงตนว่าเป็นเจ้าของ MetaWarden ก็จะดีรับสิทธิประโยชน์ในการลดค่าอาหาร,เครื่องดื่ม,คอร์สเรียนวาดรูป ไปจนถึงส่วนลดสำหรับการจัดพิธีแต่งงาน ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้ให้กับชาว Warden ก็คือชาว Warden ด้วยกันเองที่เป็นเจ้าของกิจการต่างๆอยู่
รายชื่อร้านค้าที่Offer สิทธิประโยชน์ให้กับคนใน Community ซึ่งก็เป็นคนใน Community ด้วยกันเอง สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wardenswap.finance/nft/#/privileges
และด้วยการที่มีร้านอาหาร คาเฟ่ต่างๆที่เปิดประตูต้อนรับคนใน Community ดังกล่าว ที่เจ้าของร้านก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น หรือเป็นชา วWarden เหมือนๆกัน ทำให้ร้านเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นพื้นที่รวมตัวของชาว Warden ในชีวิตจริง (นอกจากในโลกของออนไลน์)
ภาพเครื่องดื่มของร้าน Sobta Cafe ที่มีคนใน Community แวะเวียนไปเป็นประจำ
นอกจากนี้ก็มีการจัดงาน Meeting อย่างเป็นทางการจากทาง Official ตอกย้ำการให้ความสำคัญของการดูแลรักษา Community (ซึ่งผู้ที่โพสงาน Meeting ในภาพก็คือคุณมายด์ Community Manager ของทาง Warden)
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็เป็นเส้นทางความสำเร็จของโปรเจค NFT MetaWarden ที่เห็นได้ว่าเรื่องของการดูแล Community นั้นคือหลักสำคัญที่สุดที่จะรันให้โปรเจค NFT ไปต่อและประสบความสำเร็จได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทาง AC News ไม่ได้มีเจตนามาชักชวนให้ผู้อ่านลงทุนกับโปรเจคนี้ เพียงแค่นำมาเป็น Study Case ให้ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นหลักพิจารณาประกอบการเลือกซื้องาน NFT เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนในโปรเจค NFT ที่เสี่ยงต่อการโดนโกง หรือมูลค่าลดต่ำลงในอนาคต ฉะนั้นแล้วผู้อ่านควรทำการค้นหาข้อมูลและเลือกศึกษาโปรเจคต่างๆด้วยตัวเองก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง (DYOR) ซึ่งท้ายที่สุดเราอาจจะเจอ Hidden Gems ที่มี Community ที่เหมาะสมกับตัวเราเองที่สุด และสามารถสร้างผลตอบแทนหรือความมั่งคั่งให้กับเราในอนาคตได้
ที่มา
- WardenSwap
https://www.wardenswap.finance/nft/
- บัญชีทวิตเตอร์ Panas.Wad
https://twitter.com/PanasL27
- บัญชีทวิตเตอร์ FC Warden
https://twitter.com/fc_warden
- บัญชีทวิตเตอร์ BB8
https://twitter.com/bomwoq
ข่าวเด่น