แบงก์-นอนแบงก์
ทีเอ็มบีธนชาต ทำธุรกรรมการค้าผ่านช่องทางดิจิทัล ยกระดับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก


ทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารแรกและธนาคารเดียว ส่งประสบการณ์ทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ยกระดับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เอสเอ็มอีไทย 

 

 
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) แนะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจนำเข้าและส่งออก เตรียมรับมือเศรษฐกิจโลก เผชิญความผันผวนของค่าเงิน ด้วยดิจิทัลโซลูชันเต็มรูปแบบ ส่ง “บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน” (ttb multi-currency account) พร้อมกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการ ที่ตอบโจทย์การทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้ธุรกิจเอสเอ็มอีประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

นางสาวสุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนำเข้าและส่งออก มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีเอสเอ็มอีเป็นฟันเฟืองสำคัญ แม้ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ธุรกรรมนำเข้าและส่งออกของเอสเอ็มอี ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 เอสเอ็มอีไทยมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมกันมากกว่า 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.70% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวม และล่าสุดตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่ากว่า 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวถึง 16.23% โดยเป็นสัดส่วนของเอสเอ็มอีถึง 12% 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้ประเมินภาพรวมธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของไทย ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2565 ว่ายังคงเติบโตได้ดี แม้ปัจจุบันจะมีปัจจัยในด้านอื่นๆ ที่อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เช่น ปัญหาการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน หรือราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

“ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจนำเข้าหรือส่งออก ยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านต้นทุนในการบริหารจัดการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากความผันผวนของค่าเงินที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ทีเอ็มบีธนชาต จึงแนะนำให้ผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์การเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด และควรหาตัวช่วยเพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน และช่วยลดขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมด้านวงเงินสินเชื่อให้พร้อมหากมีโอกาสลงทุน หรือมีวงเงินไว้เสริมสภาพคล่องหากมีผลกระทบต่อธุรกิจ” นางสาวสุกัญญา กล่าว

นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb)  กล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนมากขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการซื้อ-ขายหรือทำธุรกรรมต่างๆ ยังคงเน้นใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก ซึ่งเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่น ทำให้ผู้ประกอบการแบกรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น จึงเริ่มหันมาซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยสกุลเงินท้องถิ่นมากขึ้น แต่ก็ยังมีความยุ่งยาก เนื่องจาก หนึ่งบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) รองรับได้หนึ่งสกุลเงิน ดังนั้นหากผู้ประกอบการทำธุรกิจโดยมีคู่ค้าหลายประเทศ บนหลายสกุลเงิน จำเป็นต้องเปิดบัญชี FCD หลายบัญชี ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารหลายบัญชี

ทีเอ็มบีธนชาต จึงเป็นธนาคารแรก และธนาคารเดียวในประเทศไทย ที่ได้พัฒนา “บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน” (ttb multi-currency account) บัญชีที่ดีสุดเพื่อให้ผู้ประกอบเอสเอ็มอีสามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้อย่างสะดวกและง่าย ผ่านประสบการณ์ออนไลน์เต็มรูปแบบ ยกระดับการใช้งานให้เป็นดิจิทัล ครบทุกขั้นตอน แบบ end-to-end ผ่าน 4 แนวคิดหลัก คือ
 
1. One Account – บัญชีเดียว รองรับได้มากถึง 11 สกุลเงินหลัก คือบัญชีเงินบาท และอีก 10 สกุลเงินหลักได้แก่ USD, EUR, GBP, AUD, JPY, CAD, CNY, SGD, CHF และ DKK
 
2. One Platform – เข้าถึงทุกบริการ จากทุกอุปกรณ์ ประสบการณ์เดียวกันทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ทำทุกธุรกรรม ได้ทุกที่ทุกเวลา 
 
3. One to Control – ระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม โอนเงินได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงธุรกรรมด้านสินเชื่อ ติดตามอัตราแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา พร้อมล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่ต้องการ
 
4. One to Command – สรุปรายงานของทุกบัญชี ทุกสกุลเงินได้ภายในหน้าเดียว (11 สกุลเงิน) พร้อมดาวน์โหลดเอกสารได้ง่าย ๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก สามารถสรุปทุกวงเงินสินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครบถ้วนในหน้าจอเดียว รวมทั้งเรียกดูข้อมูลและบัญชีของบริษัทในเครือได้ด้วย Group Company View

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อผู้นำเข้า หรือ OD for Importer สำหรับผู้ประกอบเอสเอ็มอี ที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารอยู่แล้ว โดยคุณสมบัติเด่น คือ การเบิกใช้วงเงินที่สะดวกและง่าย โดยใช้เพียงใบแจ้งหนี้ (Invoice) ก็สามารถเบิกใช้ได้แล้ว และโอนเงินออกชำระค่าสินค้าได้เลย ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งของธนาคาร อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถใช้วงเงิน OD for Importer เพื่อออก LC ได้ทันที และได้รับวงเงิน FX-Forward เพิ่ม โดยไม่ใช้หลักประกันเพิ่มอีกด้วย 

ทีเอ็มบีธนชาต เชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์และบริการด้านธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น 1) บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน หรือ ttb multi-currency account 2) สินเชื่อเพื่อผู้นำเข้า หรือ OD for Importer 3) ประสบการณ์การใช้งานผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นโซลูชันที่ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บริหารธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้สะดวก คล่องตัว ทำให้เรื่องการนำเข้าและส่งออกเป็นเรื่องง่าย โดยธนาคารยังคงมุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านการพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน และพร้อมเป็นพันธมิตรที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจลูกค้าในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการด้าน ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศสำหรับเอสเอ็มอี สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/pr-tradefx-apr22 หรือ ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร.0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ 08:00 – 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร
 
#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต 
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#ttb #MakeREALChange

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 เม.ย. 2565 เวลา : 14:08:25
21-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 21, 2025, 3:40 pm