การค้า-อุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าเชิงรุก ชู Circular Mark เพื่อสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ


กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พร้อมร่วมมือกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข) วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมเพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือกลุ่ม PPP Plastics ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เดินหน้าส่งเสริมผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบรับรองและฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน “CIRCULAR MARK” ของไทยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย

 

 
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการไทย ที่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ของโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม กรมฯ ได้เดินหน้าสร้างและส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model (Bio Circular Green Economy) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม เป็นฮีโร่ BCG (BCG Heroes) จำนวน 50 ราย ในกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ และเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในด้านการค้าและตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์สินค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขอรับการรับรอง Circular Mark และใช้เป็นเครื่องมือการตลาด ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อรักษาฐานทรัพยากรของประเทศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกด้าน จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไทยในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
 

 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ได้มีงานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนา Circular Mark เป็นมาตรฐาน และระบบรับรองระดับชาติ รวมทั้งเปิดตัว 30 บริษัทนำร่อง 376 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ว่ามีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการหมุนเวียนของวัสดุ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน มีคำแนะนำการใช้งาน ตลอดจนมีการรวบรวมและจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน โดยเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ เกษตรอาหาร วัสดุก่อสร้าง พลาสติก บรรจุภัณฑ์และแฟชั่นไลฟ์สไตล์
 

 
จากการสำรวจข้อมูลมี 10 บริษัท จาก 30 บริษัทนำร่องที่เข้าโครงการต่างๆ ของกรมอาทิ บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด บริษัท วาสุ45 จำกัด บริษัท นิว อาไรวา จำกัด บริษัท โซไนต์ อินโนเวทีฟ เซอร์เฟสเซส จํากัด เป็นต้น ที่ผ่านโครงการต่างๆ ของกรมฯ เช่น รางวัล PM Export Award โครงการ BCG next Gen และ โครงการ BCG Heros ซึ่งเป็นโอกาสอันดี ที่จะช่วยกันส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการได้รับรู้ประโยชน์ของ Circular Mark ของประเทศไทย และร่วมกันสร้างความร่วมมือของกรมในการต่อยอดกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับ Circular mark เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าไปยังตลาดประเทศได้มากยิ่งขึ้น
 

 
นายภูสิตกล่าวว่า กรมฯ ยังสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการด้วยการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ให้ทูตพาณิชย์เชิญผู้ซื้อ ผู้นำเข้ามาเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการของไทย นำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยจะนำไปบุกเจาะตลาดที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม หรือเป็นเวทีที่มีการหยิบยกประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น ตลาดสหราชอาณาจักร ตลาดญี่ปุ่น ตลาดออสเตรเลีย และตลาดเกาหลี เป็นต้น

ถือเป็นจุดเริ่นต้นของปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มการค้าโลกในปัจจุบันและลดข้อกีดกันการค้าในอนาคต เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดได้ในวงกว้าง พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์สินค้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าและบริการของไทยให้เป็นที่ยอบรับในระดับสากล และยังช่วยสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมไทยและประชาคมโลก

หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจขอการรับรองฉลาก Circular Mark สามารถติดต่อสอบถามขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2503-3333 info@tei.or.th หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์ไม่ถูกต้องสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 พ.ค. 2565 เวลา : 11:22:02
20-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 20, 2025, 6:08 am