
สัปดาห์ที่ผ่านราคาทองคำแกว่งตัวผันผวน เริ่มจากช่วงต้นสัปดาห์ก่อนการประชุม FOMC ตลาดกังวลว่าเฟดอาจมีมุมมองเชิงลบเพิ่มเติมต่อนโยบายการเงิน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ปรับตัวขึ้นบริเวณ 2.97% สอดคล้องกับดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าระดับ 103.50 ส่งผลให้ทองคำปรับตัวลงทำจุดต่ำสุดบริเวณ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ต่อมาเมื่อประชุม FOMC เสร็จเฟดไม่มีมุมมองเชิงลบตามที่ตลาดกังวล กล่าวคือขึ้นดอกบี้ยที่ 0.5% พร้อมเริ่มลดขนาด QT ที่ 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์ส่งผลให้ทองคำรีบาวด์กลับสามารถเบรคแนวต้านและขึ้นไปทำจุดสูงสุดบริเวณ 1,909 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
ตลาดกลับมากังวลว่าเฟดจะไม่สามารถควบคุมขึ้นเงินเฟ้อได้จนต้องใช้ยาแรงที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.75% ในการประชุมเดือน มิ.ย. ความกังวลดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสามารถเบรคทะลุแนวต้านที่ระดับ 3.0% ได้ ดัชนีดอลลาร์รีบาวด์กลับบริเวณ 103.55 ทองคำถูกกดดันอีกครั้งหลุดแนวรับบริเวณ 1,875 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วน SPDR เริ่มต้นเดือนนี้ไม่ดีนักเทขายไป 9.57 ตัน
สัปดาห์นี้ต้องจับตาดูเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่อ่อนตัวลงสะท้อนผ่านราคาน้ำมันดิบเดือนเมษายนที่แกว่งตัวต่ำกว่าเดือนมีนาคมเหลือ 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่เงินเฟ้อเดือนเมษายนถูกคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% หากออกมามากกว่าอาจเป็นแรงหนุนทองคำในระยะสั้นได้ แต่หากออกมาน้อยกว่าคาดการณ์อาจเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำในระยะถัดไป
ฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก ประเมินว่าโมเมนตัมทองคำเริ่มถูกกดดันอีกครั้งด้วยนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ทั้งตลาดเริ่มกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอย มุมมองทองคำเป็นลบ กรอบการซื้อขาย 1,850-1,920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1,920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้ทยอยเทขายทำกำไร
ส่วนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 พ.ค. ) ดัชนีปรับตัวร่วง -25 จุดช่วงเปิดตลาด ก่อนที่จะรีบาวด์ sideway ในแดนลบเหลือ -14 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ และตลาดหุ้นต่างประเทศ ปัจจัยกดดันมาจาก กระแสคาดการณ์ว่าเฟด อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนหน้า และสภาพคล่องในระบบที่จะลดลงจากการทำ QT ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,629.58 จุด -13.72 จุด -0.83% มูลค่าการซื้อขาย 72,582 ล้านบาท
ฝ่ายวิจัยคาดดัชนีสัปดาห์นี้ปรับตัวลงในลักษณะ Sideway Down จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟด อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนหน้า ส่งผลให้เกิดแรงขายในสินทรัพย์เสี่ยง คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,600-1,650 จุด
สำหรับหุ้นที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้ ได้แก่ หุ้น AAV ราคาหุ้นปิดล่าสุดที่ 3.02 บาท กลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยทุกระดับ โดยมี Volume เข้าสองวันติด และ Slow Sto. เตรียมพลิกตัวส่งสัญญาณซื้อ หากผ่าน High เดิมที่ 3.08 บาท จะมีต้านถัดไปแถว 3.20 บาท มีแนวรับอยู่ที่ 2.94 บาท และมีจุด cut loss อยู่ที่ 2.90 บาท
และหุ้น CAZ มีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 5.60 บาท ดีดตัวทำแท่งเทียนเขียวยาว พร้อมมี Volume สะสม และ Slow Sto.+MACD เตรียมส่งสัญญาณบวกหากผ่านต้านแรกที่ 6.00 บาท ลุ้นทดสอบ High เดิม 6.30 บาท มีแนวรับอยู่ที่ 5.40 บาท และมีจึด cut loss อยู่ที่ 5.30 บาท
ข่าวเด่น