แบงก์-นอนแบงก์
ทีทีบี รีเซิร์ฟ ส่งต่อประสบการณ์ความรู้และความสำเร็จของทายาทนักธุรกิจรุ่นใหม่พร้อมสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


ท่ามกลางความผันผวนและเทรนด์ต่างๆ ของโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ทำให้ในวันนี้การทำธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จไม่ง่ายและไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว ทีทีบี รีเซิร์ฟ (ttb reserve) เห็นความสำคัญของการทำธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ จึงได้จัดงาน The Infinite Success Forum เป็นครั้งแรก ในหัวข้อ “เคล็ดลับการสานต่อธุรกิจครอบครัวสู่ความสำเร็จ” เพื่อให้ลูกค้า ttb reserve ที่เป็นทายาทผู้ดูแลธุรกิจต่อของครอบครัว ได้รับฟังประสบการณ์การทำธุรกิจที่น่าสนใจจากผู้ที่ประสบความสำเร็จจริง และสามารถนำมุมมองหรือเคล็ดลับไปต่อยอดความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยภายในงานได้รับความสนใจจากทายาทธุรกิจชั้นนำเข้าร่วมงานกว่า 40 คน จาก 23 ครอบครัว 


 
ยืนยง ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธนบดีธนกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) กล่าวว่า “งาน The Infinite Success Forum หัวข้อ เคล็ดลับการสานต่อธุรกิจครอบครัวสู่ความสำเร็จ นับเป็นความตั้งใจของ ttb reserve ในการมอบประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และแชร์ประสบการณ์ตรงสู่ทายาทผู้ดูแลธุรกิจต่อของครอบครัวและเป็นลูกค้าของธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถใช้โอกาสในการเรียนรู้มาต่อยอดในธุรกิจให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีต่อไป โดยนอกจากการได้ฟังประสบการณ์ตรงและการร่วมกิจกรรมแล้ว ลูกค้าที่เข้าร่วมเสวนายังได้มีโอกาสทำความรู้จัก พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดซึ่งกันและกัน นำไปสู่การเป็นพันธมิตรที่ดีทางการค้าในอนาคต” 
 

 
รวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการต่อยอดธุรกิจ ได้บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้าไปสานต่อธุรกิจของครอบครัวว่า เดิมทำงานธนาคาร และไม่มีความคิดที่จะทำธุรกิจของครอบครัว แต่เกิดจุดเปลี่ยนที่ทำให้ต้องเข้ามารับช่วงสานต่อธุรกิจจากคุณปู่ นับเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานและเกิดเป็นเรื่องราวจุดเปลี่ยนของธุรกิจจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลังจากที่ตัดสินใจเข้ามาสานต่อสิ่งที่มองเห็นในขณะนั้นคือ ธุรกิจศรีจันทร์สหโอสถขนาดเล็กมาก และมีสินค้าเพียงตัวเดียว คือ “ผงหอมศรีจันทร์” ซึ่งมีความเก่าแก่และมีกลุ่มลูกค้าหลักคือผู้สูงอายุ หากหยุดนิ่งไม่มีการพัฒนา ท้ายที่สุดสินค้าอาจจะหายไปจากตลาดได้ในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก แต่สิ่งที่เป็นความโชคดีคือครอบครัวเปิดโอกาสให้อิสระในการบริหารธุรกิจ โดยเริ่มต้นจากการปรับระบบภายในองค์กรให้มีความทันสมัยและเปิดรับเทคโนโลยีมากขึ้น และต่อด้วยการรีแบรนด์ “ศรีจันทร์” ให้เป็นที่รู้จัก ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “แป้งศรีจันทร์” พร้อมกับการทำโฆษณาแป้งศรีจันทร์โดยใช้พรีเซนเตอร์ต่างชาติ นับว่าสร้างปรากฎการณ์ให้กับวงการเครื่องสำอางได้บันทึกชื่อของ “ศรีจันทร์” กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของธุรกิจเป็นอย่างมาก  

“ทุกวันนี้เราทำได้ จากผลิตภัณฑ์ราคา 18 บาท สามารถเพิ่มคุณค่าจนกลายเป็น 218 บาท และหากเดินเข้าไปในร้านเครื่องสำอางคุณจะได้เห็นศรีจันทร์อยู่เคียงข้างเครื่องสำอางแบรนด์ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามกลยุทธ์และเคล็ดลับความสำเร็จที่ใช้ได้ในยุคนั้น อาจจะนำมาใช้ไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงให้เร็วอยู่เสมอ ต้องเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ และทำความเข้าใจผู้มีส่วนร่วมทุกคนทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ทีมงาน หุ้นส่วน ลูกค้ารวมไปถึงชุมชนรอบด้าน เพื่อรักษาสมดุลให้ดี” รวิศ กล่าว 
 
 
หลังจากรีแบรนด์ครั้งใหญ่ การยืนอยู่บนความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ความมั่นใจที่ได้จากความสำเร็จครั้งแรก ทำให้การออกผลิตภัณฑ์ในครั้งถัดมาไม่ได้มีการสอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างจริงจัง ส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
จึงได้กลับมาทบทวนและเรียนรู้ว่า การจะทำอะไรก็ตามจะต้องวิจัยความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การทำตลาดแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้กับยุคปัจจุบัน การดึงเทคโนโลยีและการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยเป็นอีกช่องทางสำคัญในการทราบถึงความต้องการของลูกค้า เนื่องจากปัจจุบันเราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ซึ่งในอนาคตหากผู้ประกอบการตกเทรนด์ตรงนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ 
 

 
พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด หรือ ชาตรามือ อีกหนึ่งทายาทธุรกิจที่มาบอกเล่าประสบการณ์การสานต่อธุรกิจของครอบครัว กล่าวว่า ชาตรามือ เป็นธุรกิจที่ตั้งต้นมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่และคุณพ่อคุณแม่ได้เข้ามาสานต่อ ก่อนจะมาถึงรุ่นตนเองในปัจจุบันพร้อมด้วยเป้าหมายที่ต้องการเห็นธุรกิจชาตรามือเติบโตในอนาคต จากชาตรามือที่เป็นเพียงชาชง ทำตลาดขายส่งตามร้านกาแฟ ได้มีการพัฒนาช่องทางการทำตลาดและปรับโฉมแบรนด์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงไม่ทิ้งจุดยืนในความเป็นชาตรามือ โดยมีการขยายช่องทางการตลาดผ่านการออกงานฟู้ดส์เอ็กซ์ซิบิชันไปสู่การส่งออกต่างประเทศ การขยายหน้าร้าน ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มากกว่าชาชง รวมทั้งการขยายไลน์เป็นไอศกรีมชาไทยรสชาติอร่อยในปัจจุบัน
 
 
“จุดเปลี่ยนที่สำคัญของชาตรามือ เริ่มจากวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การดื่มชาชงตามบ้านเริ่มกลายเป็นความล้าสมัย เราจึงพยายามคิดและปรับเปลี่ยนทำให้เป็นลักษณะชาชงที่เติมใส่น้ำตาลใส่น้ำแข็งขายผ่านหน้าร้านและมองว่าตลาดนี้น่าจะไปได้ รวมไปถึงการปรับโฉมเพิ่มเมนูใหม่ เพิ่มภาษาอังกฤษสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เปลี่ยนภาพลักษณ์ ปรับแพ็คเกจจิ้งให้ดูเป็นเครื่องดื่มที่วัยรุ่นขึ้น เพิ่มเมนูใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น ชากุหลาบ ไอศกรีมชาไทย จนกลายเป็นกระแสที่คนให้ความสนใจและเป็นไวรัลยอดฮิตในขณะหนึ่ง” พราวนรินทร์ กล่าว 
 
 
เมื่อการปรับโฉมที่สอดคล้องกับจังหวะของกระแสสื่อโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เห็นความชัดเจนว่าแบรนด์ชาตรามือในปัจจุบันควรจะใช้สื่อช่องทางใดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง ถึงจุดนี้สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน ขอให้เปิดมุมมองให้กว้างและเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ซึ่งการส่งต่อธุรกิจให้รุ่นต่อไปได้สืบทอดนั้น หากรุ่นทายาทไม่ต้องการเข้ามารับช่วงต่อ อาจจะต้องสร้างโมเดลธุรกิจที่ไม่ยึดติดกับตัวบุคคลเพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
 

 
 
นอกจากเต็มอิ่มกับประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจแล้ว ttb reserve ยังเปิดพื้นที่ให้กับทายาทธุรกิจได้ร่วม Experience Workshop ค้นหาแก่นคุณค่าของธุรกิจเพื่อนำไปต่อยอดความสำเร็จด้วยกระบวนการ LEGO® SERIOUS PLAY เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคิดที่ถูกออกแบบอย่างสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานได้ค้นหาเป้าหมายของธุรกิจของตนเอง โดยได้รับเกียรติจาก คุณณฤดี คริสธานินทร์ CEO and Transformation Facilitator บริษัท Eureka Global มาเป็นวิทยากรภายในงานด้วย 
 
#ttbreserve
#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต 
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#ttb #MakeREALChange
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 20 พ.ค. 2565 เวลา : 12:46:26
21-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 21, 2025, 3:51 am