
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยฝ่ายโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (GLOBE) ประกาศผลการตัดสินการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2565 (Thailand Junior Water Prize 2022) แบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM วันที่ 2 – 3 พฤษภาคม 2565 ผลปรากฎว่ารางวัลชนะเลิศคือ งานวิจัยเรื่อง ถุงเพาะชำชีวภาพจากยางพาราสองชั้นเสริมโอเอซิสจากขุยมะพร้าวเพื่อกักเก็บน้ำสำหรับเพาะต้นกล้าทุเรียน ผลงานวิจัยของ นางสาวธัญญรัตน์ ขำขาว และนายรติภัทร บัวแก้ว โรงเรียนศรียาภัย จ.ชุมพร มีนายธีรภาพ แก้วอ่อน เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 งานวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมควบคุมเปิดปิดน้ำและอัตราการไหลของน้ำอัตโนมัติเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าในชุมชนดารุสสาลาม จ.ยะลา ผลงานวิจัยของ นางสาวอัฟนาน วาเยะ และนายฮิดายัต บูหา โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จ.ยะลา มีนางฮาร์ตีนี มะเซ็ง เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 งานวิจัยเรื่อง เครื่องดักจับหินปูนในน้ำ ผลงานวิจัยของ นางสาวศิรภัสสร จันทร์แดง และนางสาวซานียา โคแหละ โรงเรียนชะรัดชนูปถัมภ์ จ.พัทลุง มีนางสาวสโรชา ไชยเพชร เป็นครูที่ปรึกษา
สำหรับรางวัลชมเชยได้แก่ งานวิจัยเรื่อง ประหยัดน้ำ รักษ์ โลก มีตังค์เก็บ 3’S ( Save Water, Save World, Save Money) ผลงานของ นางสาวภีมวรา วิวัฒน์วารินทร์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ มีนางสาวอริญา สุริยาบุตร เป็นครูที่ปรึกษา งานวิจัยเรื่องการเพิ่มประสทธิภาพของการดูดคอปเปอร์ (II) ไอออนโดยการใช้กรดแทนนิกตรึงบนถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียน ผลงานของ นางสาวกานต์รวี แย้มจะบก และ นายภูริ จรรยาเจริญ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม มีนายสาโรจน์ บุญเส็ง เป็นครูที่ปรึกษา งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาวิธีการตรวจวัดปริมาณตะกั่วในน้ำด้วยอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติร่วมกับเซ็นเซอร์ตรวจสอบค่าสี ผลงานของ นางสาวชยานุตน์ วงษ์เจริญ และนางสาวพิยะดา เสวลาภี โรงเรียนศรียานุสรณ์ จ.จันทบุรี มีนายชาญ เถาวันนี เป็นครูที่ปรึกษา
ทีมชนะเลิศจะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวด Stockholm Junior Water Prize 2022 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัด ณ กรุงสต๊อกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน ดูรายละเอียดที่ https://www.facebook.com/GLOBE ThailandOfficial
ข่าวเด่น