บริษัท เวียตเจ็ท เอวิเอชั่น จอยท์สต็อค (VJC) ประเทศเวียดนาม (HOSE: VJC) จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 เพื่อทบทวนผลประกอบการทางธุรกิจในช่วงการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งพิจารณาคณะกรรมการบริษัท และลงมติรายงานงบการเงินประจำปี 2564 ที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว รวมทั้งแผนการพัฒนาประจำปี 2565
อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกเผชิญกับช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์อันยาวนาน กระนั้น เวียตเจ็ทได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันแข็งแกร่งด้วยจิตวิญญาณแห่งการเป็นผู้นำ ความอุตสาหะ และความเข้มแข็งภายในอันแรงกล้า
เวียตเจ็ทได้รับรายงานว่ามีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 1.89 หมื่นล้านบาท (555 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2564 โดยมีกำไรหลังหักภาษีอยู่ที่ประมาณ 146.46 ล้านบาท (4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ ประมาณ 7.49 หมื่นล้านบาท (2.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.9 และอัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.6 ซึ่งนับเป็นตัวชี้วัดที่ดีในอุตสาหกรรมการบิน
ในปี 2564 เวียตเจ็ทฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและขยายเครือข่ายเส้นทางบินอย่างต่อเนื่อง มอบโอกาสการเดินทางที่มากขึ้นแก่ผู้โดยสารและร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม ในปีที่ผ่านมา สายการบินฯ ปฏิบัติการบินกว่า 40,000 เที่ยวบิน ให้บริการผู้โดยสารกว่า 5.4 ล้านคนบนกว่า 50 เที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ ขนส่งสินค้าทางอากาศกว่า 63,000 ตัน โดยรายงานรายได้ขยายตัวกว่า 200% เมื่อเทียบกับปี 2563
พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทได้ปฏิบัติการเที่ยวบินเพื่อขนส่งหน่วยแพทย์ ตำรวจ และทหาร ไปยังพื้นที่ที่มาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 เข้มงวด พร้อมขนส่งวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 เป็นจำนวนหลายล้านโดส รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรในเครือโซวิโก (Sovico Group) บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ รถพยาบาล เครื่องช่วยหายใจ ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และเตียงพยาบาลแก่หลายพื้นที่ในเวียดนาม
ภายในสิ้นปี 2564 เวียตเจ็ทมีอากาศยานในฝูงบินทั้งสิ้น 76 ลำ ให้บริการเที่ยวบินบน 44 เส้นทางบินภายในประเทศ และ 95 เส้นทางบินระหว่างประเทศ พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทได้ลงนามในข้อตกลงพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับแอร์บัส (Airbus) ในการสั่งซื้ออากาศยานและความร่วมมือในการพัฒนาฝูงบินลำตัวกว้างของเวียตเจ็ท เตรียมพร้อมรับการฟื้นฟูในยุคหลังการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
เวียตเจ็ทยังได้ลงทุนในอากาศยานลำตัวกว้างแบบ Airbus A330-300 ปักหมุดหมายใหม่ในการเริ่มให้บริการเส้นทางบินที่ยาวนานขึ้น เวียตเจ็ทและแอร์บัสได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อสานต่อความร่วมมือระยะยาวในการสั่งซื้ออากาศยาน มุ่งพัฒนาเวียดนามสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ณ ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 ผู้ถือหุ้นลงมติให้ผ่านแผนพัฒนาธุรกิจประจำปี 2565 ซึ่งเวียตเจ็ทวางแผนขยายฝูงบินเพิ่มเป็น 82 ลำ ให้บริการเที่ยวบินถึง 100,000 เที่ยวบิน และขนส่งผู้โดยสารถึง 18 ล้านคน
ผู้ถือหุ้นยังร่วมลงมติให้มีการจ่ายหุ้นปันผล 20% จากกำไรสะสมซึ่งยังไม่ถูกแบ่งสรรปันส่วนนับตั้งแต่ปีก่อนเกิดการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
ในปีนี้ สายการบินฯ มีแผนสร้างรายได้กว่า 3.26 หมื่นล้านบาท (959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นรายได้จากการขนส่งทางอากาศและจากผลกำไร
นับตั้งแต่เริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกในปี 2554 เวียตเจ็ทได้ริเริ่มการใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษและการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) ภายในปี 2565 สายการบินฯ มุ่งมั่นพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ระบบอัตโนมัติ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการสนับสนุนภาคธุรกิจดิจิทัลในการขนส่งทางอากาศ การขนส่งอากาศยาน และการบริการด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งการขยายบริการทางอากาศ ได้แก่ การบริการภาคพื้นดิน การฝึกอบรม การเงิน การลงทุนโครงการ และบริการด้านอื่น ๆ
เวียตเจ็ทได้เปิดตัว SFC02 รวมถึงแผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในการใช้งานเครื่องบิน เพื่อช่วยลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยในอนาคตอันใกล้นี้ สายการบินฯ จะยังคงดำเนินโครงการติดตามและจัดการการใช้เชื้อเพลิง และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเครื่องบินพลเรือน โดยมุ่งเป้าไปที่การลดการปล่อยมลพิษและการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ย้อนไปเมื่อปี 2564 ถือเป็นปีที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการบิน อย่างไรก็ตาม นาย Le Anh Tuan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของเวียดนาม ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลเวียดนาม ยกย่องว่าเวียตเจ็ทได้ก้าวข้ามผ่านวิกฤตกลับสู่สภาพเดิมได้สำเร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามและความสำเร็จของธุรกิจ
นาย Le เผยว่าเวียตเจ็ทมุ่งมั่นกลับมาให้บริการเส้นทางบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอีกครั้ง หลังจากควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ได้ รวมทั้งการเริ่มให้บริการเส้นทางใหม่ สู่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย โดยหวังว่าฝูงบินแอร์บัส A330 ขนาดลำตัวกว้าง ซึ่งถูกเพิ่มเข้ามาในฝูงบินของเวียตเจ็ท เพื่อเตรียมพร้อมบิน สู่ ออสเตรเลียและยุโรปจะนำความสำเร็จมาสู่สายการบินฯ มากขึ้น
นาย Dinh Viet Son รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม รับทราบถึงคุณูปการของเวียตเจ็ทที่มีต่อความปลอดภัยของอุตสาหกรรมการบินและคุณภาพการให้บริการบริการ โดยเล็งเห็นว่าเวียตเจ็ทเป็นแบบอย่างสำหรับการยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้มั่นคงตลอดระยะเวลาการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในขณะเดียวกัน สายการบินฯ ยังมองหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการขนส่งทางอากาศ
นาย Dinh Viet Son เผยว่า “ตามแผน 'บินในยุคดิจิทัล' เวียตเจ็ทได้ค้นพบแนวทางเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดทิศทางของรัฐบาล โดยเฉพาะภาคการบินซึ่งต้องการความปลอดภัยสูงสุดและเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งยังเป็นกระแสโลกปัจจุบัน”
คณะกรรมการบริหารของเวียตเจ็ทได้รับทราบแนวทางของผู้นำกระทรวงคมนาคม และร่วมเสนอแนวคิดจากผู้ถือหุ้น การประชุมยังได้อนุมัติแผนการกระจายกำไรในปี 2564 และแผนการจ่ายเงินปันผลในปี 2565 แผนการออกพันธบัตร การเพิ่มทุนเช่าเหมาลำ และเลือกกรรมการบริหาร ประจำปี 2565 – 2570 โดยมีสมาชิกอิสระที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญด้านประกันภัยและการบิน
เกี่ยวกับไทยเวียตเจ็ท:
นับตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2557 สายการบินไทยเวียตเจ็ทดำเนินงานร่วมกับ เวียตเจ็ท กรุ๊ป มุ่งมั่นขยายเครือข่ายเส้นทางบินและมอบโอกาสในการเดินทางแก่นักท่องเที่ยวสู่หลากหลายเส้นทางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ด้วยบริการที่เป็นมิตรและสนุกสนาน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนและการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ มอบโอกาสในการเดินทางที่มากขึ้นด้วยบัตรโดยสารราคาประหยัด พร้อมบริการที่หลากหลาย สอดรับกับความต้องการของผู้โดยสาร
สายการบินไทยเวียตเจ็ทได้รับรางวัล “สายการบินโลว์คอสที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งปี 2563” จากนิตยสารโกลบอล บิสซิเนส เอาท์ลุค กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทั้งยังได้รับรางวัล “สารการบินที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นมิตรมากที่สุดประจำปี 2564” โดยนิตยสารอินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เน้นย้ำบริการที่ยอดเยี่ยม ตอกย้ำพันธกิจหลักของสายการบินฯ ในการให้บริการด้วยความสนุกสนานและเป็นมิตร ควบคู่กับความปลอดภัย ตรงต่อเวลา และราคาที่เข้าถึงได้
ปัจจุบัน สายการบินไทยเวียตเจ็ทให้บริการครอบคลุม 14 เส้นทางบินภายในประเทศ ได้แก่ เส้นทางบินจากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี เส้นทางบินข้ามภูมิภาค จากภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ เชียงราย และอุดรธานี รวมถึงเส้นทางบินตรงจาก หาดใหญ่ สู่ เชียงราย พร้อมกันนี้ สายการบินฯ ได้ขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศสู่หลากหลายจุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมต่อประเทศไทย กับ เวียดนาม ไต้หวัน สิงคโปร์ และอีกหลายจุดหมายปลายทางทั่วทั้งภูมิภาค
ติดตามกิจกรรมและข่าวสารล่าสุดได้ทาง www.vietjetair.com
ข่าวเด่น