“เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นใน ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากการผ่อนคลายของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษา ด้านเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2565 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุน จากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นใน ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคครั้งแรก ในรอบ 6 เดือน เนื่องจากการผ่อนคลายของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 17.7 และ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 26.5 และ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอลงร้อยละ -61.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 73.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จากโรงงานซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ ในจังหวัดภูเก็ต เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวน ผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 2,357.6 และ 4,132.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 37.9 และ 80.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 36.8 และ 74.7 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 56.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 14.2 และ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 629.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 0.6 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตภาชนะบรรจุอาหารในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้ จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,501.8 และ 1,443.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 40.8 และ 89.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 39.5 และ 86.4 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 49.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.5 และ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุก ส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 2.8 และ 1.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 แต่ชะลอลงร้อยละ -21.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ในด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,626.2 และ2,027.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 102.9 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 104.8
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี แต่ชะลอลงร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ แม้ว่าชะลอลงร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากเงินทุน ของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 953.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 10.6 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตอุปกรณ์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector) รวมถึงชิ้นส่วน ชิ้นส่วนทดแทน และอุปกรณ์เสริมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 757.7 และ 904.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 45.9 และ 80.6 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 44.7 และ 75.4 ตามลำดับ
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภค สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 35.5 และ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ แม้ว่าชะลอลงร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -4.9 แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 2.0 ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,229.3 และ 2,273.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 39.8 และ 89.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 38.3 และ 86.4 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนและจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 18.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -13.0 และ -8.4 ตามลำดับ แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผล ทางฤดูกาลร้อยละ 2.2 และ 1.5 ตามลำดับ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -90.2 แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ร้อยละ 1,124.2 จากโรงงานผลิตตู้ไฟ ตู้สวิทช์บอร์ด ตู้แผงวงจรไฟฟ้า และท่ออ่อนร้อยสายไฟ ฯลฯ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,458.8 และ 1,520.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 40.8 และ 89.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 39.5 และ 86.4 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมิถุนายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 6.4 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังคงชะลอตัวลง ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 792.2 และ 1,054.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.7 และ 66.1 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 43.3 และ 59.3 ตามลำดับ
ข่าวเด่น