แบงก์-นอนแบงก์
อุบัติเหตุเล็กน้อย อย่ามองข้ามการรักษา เพียงเพราะแค่ไม่อยากเสียค่าใช้จ่าย อาจส่งผลกระทบตามมามากกว่าที่คิด


แม้จะมีประกันอุบัติเหตุอยู่กับตัว แต่หลายคนก็มักจะละเลยที่จะรักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ไม่ได้มีอุปสรรคกับการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะไปพบแพทย์เพื่อรักษา เพียงเพราะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไกลหัวใจ ไม่อยากจ่ายค่ารักษาไปโดยไม่จำเป็น แต่รู้หรือไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยวันนี้ อาจส่งผลกระทบให้เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นได้ในอนาคต แต่ถ้าเรามีสวัสดิการฟรีๆ ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ปลอดภัยและอุ่นใจขึ้น   


ทราบกันหรือไม่ว่า อุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ อาจจะเป็นสาเหตุของปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา และกลายเป็นสาเหตุของโรคภัยร้ายแรง โดยเฉพาะกับผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะหลายเคส เรามองไม่เห็นแผลจากภายนอกร่างกาย แต่ผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุนั้นกลับอยู่ภายในร่างกายที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
 
 
อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยถึงปีละกว่า 1,600 คน เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ (Unintentional) รองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน เพราะผลที่เกิดตามมามีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงอาการใหญ่ ๆ โดย 1 ใน 3 ของผู้ประสบอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มมักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากเด็ก วัยรุ่น หรือคนหนุ่มสาววัยทำงาน และหากผู้ประสบอุบัติเหตุมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง หัวใจ เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ ก็จะยิ่งทำให้การดูแลรักษามีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก บ่อยครั้งที่การหกล้มไม่ได้ส่งผลให้เกิดบาดแผลใดๆ บนร่างกาย แต่แรงกระแทกที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลกระทบกับระบบอวัยวะภายในร่างกาย และส่งผลกระทบให้เกิดโรค หรืออาการที่หนักตามมาได้ หากไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงที

 
จากสถิติการเคลมค่ารักษาพยาบาลของ บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี พบว่า อุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น มีการเคลมค่ารักษาเข้ามา ตั้งแต่ยอด 700 กว่าบาทขึ้นไป จนถึงยอดเบิกเต็มเพดาน 3,000 บาท โดยอุบัติเหตุที่มีการเคลมเข้ามา นอกจากเรื่องการหกล้ม หรือเดินสะดุดแล้ว ยังมีกรณีอื่นๆ หลากหลายที่คาดไม่ถึง และสามารถนำมาเบิกค่ารักษาได้ อาทิ แมลงเข้าหู ก้างปลาติดคอ ใบมีดโกนบาดใบหน้า อาการบวมแดงที่เกิดจากการจับหูกะทะร้อน เครือกล้วยทิ่มนิ้วมือ สุนัขกัด แมวกัด ฯลฯ
 

 
ปกติแล้ว ค่ารักษาพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณครั้งละ 2,000 บาท แต่บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี ได้มอบความคุ้มครองวงเงินค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงถึงครั้งละ 3,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลชั้นนำทั้งโรงพยาบาล และคลินิกในเครือธนชาตประกันภัยที่เป็นคู่สัญญากับทีทีบี ที่มีอยู่มากกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน เพียงแสดงบัตร all free E-Care Card  หรือในกรณีสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนเมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา สามารถนำใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน สำเนาบัตรประชาชน และใบบันทึกประจำวัน (กรณีมีการแจ้งความ) แจ้งยื่นเคลมผ่านทางเว็บไซต์ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งที่ผ่านมา ทีทีบี ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลและวงเงินคุ้มครองชีวิตกรณีเสียชีวิตไปแล้ว รวมกว่า 77.3 ล้านบาท 
 
 
นางสาวนันทพร ตั้งเจริญศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าบุคคลและประสบการณ์ลูกค้า ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า จุดประสงค์สำคัญของบัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี คือการให้เจ้าของบัญชีได้มีชีวิตการเงินที่ดีขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต้องจ่าย พร้อมกับการมีหลักประกันให้คนที่รักได้ด้วย ทั้งจากการได้ฟรีค่าธรรมเนียมเมื่อทำธุรกรรมใดๆ ผ่านแอป ttb touch หรือ ตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศ และการได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงถึงครั้งละ 3,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง หรือกรณีเสียชีวิตรับความคุ้มครองชีวิต 20 เท่าของเงินฝาก สูงสุด 3 ล้านบาท เพียงคงเงินฝากไว้ในบัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ก็สามารถรับความคุ้มครองนี้ได้โดยอัตโนมัติในเดือนถัดไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งสิทธิความคุ้มครองที่ได้รับนี้ เป็นการเพิ่มความคุ้มครองให้กับตนเอง ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต้องจ่าย เหมือนได้สวัสดิการฟรี อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลกับการจ่ายเบี้ยทิ้งไปในแต่ละปี นับว่าเป็นการฝากที่คุ้มค่ากว่าการฝาก เพื่อรับดอกเบี้ยอย่างแท้จริง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ttb contact center 1428  

 
#ttballfree 
#ให้ชีวิตดีทั้งวันนี้และอนาคต 
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#ttb #MakeREALChange 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 ก.ย. 2565 เวลา : 10:55:06
18-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 18, 2025, 5:57 pm