การค้า-อุตสาหกรรม
"วิรัตน์ เอื้อนฤมิต" โบกมือลาตำแหน่ง CEO ไทยออยล์ พร้อมส่งต่อภารกิจกลยุทธ์ 3V's


 
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่าตนกำลังเกษียนอายุในสิ้นเดือนกันยายนนี้ พร้อมเตรียมส่งต่อกลยุทธ์ 3V’s ให้ CEO คนใหม่ เพื่อเดินหน้าไทยออยล์ให้เติบโตสอดรับกับทิศทางของ New S-Curve

นายวิรัตน์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องเร่งพัฒนาไทยออยล์ ให้รองรับกับการเติบโตในธุรกิจใหม่ๆ ตามความก้าวหน้าของโลก ด้วยการใช้กลยุทธ์ 3V’s ซึ่งประกอบด้วย 
 
1. Value Maximization บูรณาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจโรงกลั่นสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เช่น อะโรเมติกส์ โอเลฟิน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับผลิตภัณฑ์ และเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทยออยล์ กล่าวคือ เป็นการมุ่งพัฒนาสินค้า จากประเภท Commodity ให้กลายเป็น High Value Product  อย่างการลงทุนโครงการพลังงานสะอาด (CFP) ที่เพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นจาก 2.75 แสนบาร์เรล/วัน สู่ 4 แสนบาร์เรล/วัน ลดต้นทุนน้ำมันดิบ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และสามารถต่อยอดไปยังธุรกิจปิโตรเคมีตามที่ได้กล่าวไป และการลงทุนใน CAP ทำให้ไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้อย่างสมบูรณ์  
 
 
2. Value Enhancement บูรณาการขยายตลาดและกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ต่างประเทศในระดับภูมิภาค เน้นตลาดที่มีความต้องการสูงเพื่อเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ซึ่งมีการเจริญเติบโตสูง รวมถึงเพิ่มโอกาสในการลงทุนในประเทศเหล่านี้ เพื่อเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของ End user มากขึ้น โดยการลงทุนใน CAP ของไทยออยล์ จะเป็นการขยายตลาดเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก
 
 
3. Value Diversification กระจายการเติบโตสู่ธุรกิจที่มีความมั่นคงของผลกำไร เช่น ธุรกิจไฟฟ้า ผ่านการเจริญเติบโตในบริษัท GPSC รวมถึงแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต เช่น Biojet, Bioplastics/ biochemicals, Blue/green hydrogen โดยใช้กลไกการลงทุน 2 แบบ ได้แก่ การลงทุนผ่าน Corporate Venture Capital และการลงทุนในรูปแบบการร่วมทุน Joint Venture และการควบรวมกิจการ Merger and Acquisition ร่วมถึงลงทุนใน Start-ups ที่น่าสนใจทั่วโลก
 

 
นายวิรัตน์ กล่าวถึงผลการดำเนินงานปี 2565 ว่าบริษัทคาดค่าการกลั่น(GRM)ในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จึงมีแนวโน้มที่กำไรปีนี้จะมีการเติบโตจากปีก่อนหน้า (ปี 2564 ค่าการกลั่นอยู่ที่ 2.20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล) โดยช่วงครึ่งแรกปีนี้ มีกำไรสุทธิสูงสุด 32,510 ล้านบาท สูงกว่าปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 12,578 ล้านบาท
 

 
สำหรับความคืบหน้าของโครงการ CFP ที่มีการลงทุนไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท ได้ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 87% และคาดว่าจะสามารถทยอยเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 และสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปี 2568

ส่วนความคืบหน้าของโครงการCAP หรือ PT Chandra Asri Petrochemical Tbk ที่ไทยออยล์ได้ร่วมลงทุนในบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2564 นั้นจะสร้างโอกาสการเติบโตในประเทศอินโดนีเซีย เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต โดย CAP มีโครงการแผนขยายกำลังการผลิต CAP2 โดยจะมี FID ภายในไตรมาส 4 ปี 2565 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2569 
 

 
ทั้งโครงการ CFP และ CAP อยู่ในแผนการดำเนินงานในเฟสที่ 2 ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568-2569 ซึ่งจะทำให้ไทยออยล์มีความแข็งแกร่งด้านการเงิน พร้อมเข้าสู่ New Round Growth ในเฟส 3 ต่อไป โดย นายวิรัตน์ พร้อมส่งต่อกลยุทธ์ดังกล่าวต่อซีอีโอท่านใหม่ เพื่อผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ซึ่งวันที่ 23 กันยายน 2565 จะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยออยล์คนใหม่ 
 

LastUpdate 23/09/2565 09:12:38 โดย : Admin
21-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 21, 2025, 11:22 am