ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลดมากกว่า 3% เนื่องจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือนก.ย. ที่ยังคงบ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อที่ระดับสูง และมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของสหรัฐฯ จะมีกำหนดในวันที่ 1-2 พ.ย.
ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก แม้ว่าในปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีนจะลดน้อยลงแล้วก็ตาม แต่จีนยังคงยึดมั่นในนโยบายปลอดโควิด ทำให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมันอย่างมาก
Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 14 ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 8 แท่นมาอยู่ที่ระดับ 610 แท่น ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ มี.ค. 63
ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 209.5 ล้านบาร์เรล อีกทั้งการส่งออกน้ำมันเบนซินที่มากขึ้นจากสิงคโปร์และจีน
ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจาก เกาหลีใต้และไต้หวัน เนื่องจากโรงกลั่นเริ่มกลับมาดำเนินการ หลังจากการปิดซ่อมบำรุง อย่างไรก็ตาม ราคายังได้ได้รับแรงหนุนจากความต้องการน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นของยุโรป
ข่าวเด่น