ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวลดลงกว่า 2% จากสถานการณ์โควิดในประเทศจีนที่ยังคงน่าเป็นห่วง หลังยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรองสองเดือนครึ่ง และจีนยังคงใช้นโยบายปลอดโควิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อสภาวะเศรษฐกิจในจีน โดยคาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติในจีนอาจลดลงในปี 2565 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ซึ่งแม้ว่าจะปรับขึ้นตามตลาดคาดการณ์ที่ 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.0% แต่ยังคงทำให้ตลาดกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งตัวขึ้น ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบที่ซื้อขายด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันต่ออุปสงค์ของเชื้อเพลิงในตลาด
ตลาดยังคงกังวลต่ออุปทานตึงตัว จากมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันดิบรัสเซียของสหภาพยุโรปจากการรุกรานยูเครน ซึ่งมีกำหนดจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 ธ.ค. ตามมาด้วยการหยุดนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันอื่นๆ ที่จะเริ่มต้นในเดือนก.พ.เป็นต้นไป ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ปรับลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยคาดการณ์ว่าในเดือนพ.ย. กลุ่มโอเปกพลัสจะปรับลดกำลังการผลิตลงอีกกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ปรับลดลงกว่า 1.257 ล้านบาร์เรล ขณะที่อุปสงค์จากอินเดียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นในประเทศเข้าสู่ช่วงปิดซ่อมบำรุง
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันคงคลังของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำเดือนต.ค. ปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์ ท่ามกลางอุปทานที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังสถานการณ์การประท้วงหยุดงานในฝรั่งเศสเริ่มคลี่คลาย
ข่าวเด่น