สุขภาพ
แพทย์เฉพาะทางแนะนั่งทำงานถูกวิธีลดความเสี่ยง "โรคกระดูกสันหลัง"


 
เตือน!มนุษย์ออฟฟิศ แพทย์เฉพาะทางชี้ท่านั่งทำงานมีผลต่อความเสี่ยง “โรคกระดูกสันหลัง” แนะนั่งถูกต้อง ลดโอกาสเกิดโรคได้  
 
 
จากสถานการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังและระบบประสาท ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องเร่งรีบในการทำงาน หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน  จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าโรคปวดหลังทุกชนิดมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 33.29  และพบว่าสูงสุดในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป, พนักงานเอกชน รองลงมาคือกลุ่มทำงานภาคเกษตรกรรม โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบมากคือ 45-54 ปี รองลงมาช่วงอายุ 55-64 ปี  ส่วนสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังที่มักพบได้มากในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ  เนื่องจากพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้  ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และอักเสบได้ 
 
 
 
นพ.ศรัณย์ จินดาหรา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ กล่าวว่า หากมีการปรับพฤติกรรมจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังได้   เช่น การจัดท่าทางในการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยการเสริมจอคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้น และขยับจอมาชิดตัวเราในท่าที่พอดีไม่ต้องก้มเงยมากเกินไป ส่วนเก้าอี้ทำงานถือเป็นส่วนสำคัญไม่ต่างจากจอคอมพิวเตอร์เพราะเก้าอี้ที่ดีควรรับสรีระของเรา ได้ เก้าอี้ที่ดีต้องมีที่พักแขน ที่รับบริเวณคอ ทำให้คอเราสบายขึ้น  อีกส่วนสำคัญที่หลายคนลืมคือ การนั่งทำงานควรมีหมอนซัพพอร์ตหลังเพื่อสรีระที่ดี โดยรวมเราควรมองเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ในลักษณะหน้าตรงให้มากที่สุด และควรเปลี่ยนอิริยาบถในขณะทำงาน โดยลุกเดินอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง หรือหากใช้โน๊ตบุ๊ค ต้องมีอุปกรณ์เสริมช่วยในการวางโน๊ตบุ๊คให้ตั้งตรง ที่สำคัญควรต้องมีคีย์บอร์ดที่แยกต่างหาก  การปรับสภาพแวดล้อมจัดโต๊ะเก้าอี้และคอมพิวเตอร์ในการทำงาน ถือเป็นวิธีหนึ่งที่แพทย์แนะนำเพื่อลดความเสี่ยง แต่หากเกิดภาวะเจ็บป่วยแล้ว  การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายถือเป็นการรักษาในระยะเริ่มต้นวิธีหนึ่ง แต่บางรายเมื่อแพทย์พบว่ามีอาการปวดเรื้อรัง สุดท้ายต้องเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกสันหลังด้วย เทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) ถือเป็นเทคนิคที่ดีและปลอดภัยสูง ซึ่งในประเทศไทยการรักษาด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากขาดบุคลากรในการใช้ และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญมีน้อยมาก ดังนั้น โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ถือเป็นแห่งแรกที่นำเทคนิคนี้มาใช้ โดยทีมแพทย์ที่นี่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในเทคนิคการรักษาสมัยใหม่

 
เทคนิคดังกล่าวคือ การส่องกล้องรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Percutaneous Stenoscopic LumbarDecompression : PSLD) เป็นการส่องกล้องรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลัง โดยแพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression) ผ่านทางแผลผ่าตัดขนาด 5.0 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression) จะอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาอยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก แต่ได้ผลการรักษาดีเทียบเท่าการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมจะต้องตัดกระดูกและกล้ามเนื้อออก ทำให้มีแผลขนาดใหญ่ ฟื้นตัวช้า นอนโรงพยาบาลหลายวัน อาจจะต้องให้เลือดและมีความเสี่ยงสูง
 
 
สำหรับทางเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เพียง 0.5 เซนติเมตร สูญเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว หลังจากการผ่าตัดสามารถลุกขึ้นได้ และนอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนก็กลับบ้านได้ โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  ปรึกษา โทร 02 034 0808
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 พ.ย. 2565 เวลา : 14:39:57
23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 3:22 am