ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเผยรายงาน “Winning in ASEAN” จับกระแสภาคธุรกิจ โอกาส และกลยุทธ์ที่บริษัทต่างๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลและขับเคลื่อนการเติบโตในภูมิภาคนี้ ผลการสำรวจตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเร่งการฟื้นตัวและความสามารถในการเติบโตในภูมิภาคอาเซียนและอื่นๆ
ทุกคนมองเห็นโอกาสการเติบโตของอาเซียน
ในปี 2564 ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีจำนวนเงินไหลเข้า 174 แสนล้านเหรียญสหรัฐซึ่งกลับไปสู่ระดับเดียวกับก่อนการระบาดของโควิด-19 ประมาณร้อยละ 50 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสู่อาเซียนมาจากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป 27 ประเทศ และจีน การลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในปี 2564
เป็นที่คาดกันว่าข้อตกลงทางการค้า อาทิเช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) จะช่วยเร่งการเติบโต โดยผลจากความตกลง RCEP นี้ ร้อยละ 81 ของนักธุรกิจที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขามีแผนจะเพิ่มการลงทุนในอาเซียนในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า โดยรวม ร้อยละ 93 คาดว่าจะเห็นการเติบโตของรายได้จากธุรกิจในอาเซียน
ตัวอย่างบางส่วนจากรายงาน นักธุรกิจที่ตอบแบบสอบถามหลายท่านมองเห็นโอกาสการเติบโตโดยรวมของประเทศไทย โดยร้อยละ 58 มีการดำเนินงานหรือวางแผนจะดำเนินในประเทศไทยในช่วง 3 ปีนี้
เบนจามิน ฮุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เอเชีย กล่าวว่า “อาเซียนเป็นแหล่งเติบโต โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 4 มาอยู่ที่ 4.5 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2573 ในขณะที่โลกมีความซับซ้อนขึ้น เราเห็นแนวโน้มเชิงโครงสร้างที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่มีนัยสำคัญในอาเซียน ซึ่งความเชื่อมโยงระหว่างกันกำลังเติบโตขึ้นในด้านการค้าและการเคลื่อนไหวของทุน ด้านการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลอย่างเข้มแข็ง และด้านการเร่งปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเฉียบคมในการคว้าโอกาสที่มีในอาเซียน ในฐานะที่เป็นธนาคารระหว่างประเทศชั้นนำในภูมิภาค ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนลูกค้าให้สามารถคว้าโอกาสเหล่านี้ไว้ให้ได้”
พลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า "ประเทศไทยมีความสามารถในการฝ่าความท้าทายต่างๆ และยังคงเป็นแหล่งการลงทุนเป้าหมายที่นักธุรกิจให้ความสำคัญในระดับต้นๆ ในรายงานฉบับนี้ นักธุรกิจผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักประเทศไทยดีในทั้ง 4 อุตสาหกรรมหลักที่ทำการสำรวจ โดยร้อยละ 36 บอกว่ามีการดำเนินงานในประเทศไทยอยู่แล้ว และอีกร้อยละ 22 บอกว่ามีแผนจะเริ่มการดำเนินงานในประเทศไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นหนึ่งในประตูสู่ภูมิภาคอาเซียน”
งานเชิงกลยุทธ์ 6 ด้านที่จะเติบโตในอาเซียน ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาที่หน้า 21 ในรายงาน
นักธุรกิจตระหนักดีถึงความจำเป็นในการจัดลำดับการลงทุน คว้าโอกาสอย่างรวดเร็วและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ฉายภาพการเติบโต โดยเน้นที่ 6 เรื่องซึ่งบริษัททั้งหลายต่างให้ความสำคัญเพื่อความก้าวหน้าในอาเซียน:
T TALENT การคัดเลือกบุคลากร สร้างบุคลากรแห่งอนาคต
H HI-TECH เทคโนโลยีระดับสูง เร่งการปฏิรูปด้านดิจิทัล
R REGULATORY การกำกับดูแล เข้าใจประเด็นการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการกำกับดูแล
I INFRASTRUCTURE โครงสร้างพื้นฐานใช้นวัตกรรมในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อปิดช่องว่างเชิงโครงสร้างพื้นฐาน
V VALUE CHAIN ห่วงโซ่คุณค่า ประสานความร่วมมือเพื่อเสริมศักยภาพตลอดระบบนิเวศ
E ENVIRONMENT สิ่งแวดล้อม ขยายการดำเนินงานที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนถึงการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นในการสรรหาบุคลากร รายงานฉบับนี้มองไปข้างหน้าถึงการฟื้นตัว โดยผลสำรวจพบว่า 2 เรื่อง ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมให้ความสำคัญมากที่สุดในการพิจารณาการลงทุนในช่วง 3 ปีข้างหน้า มีรายละเอียดังนี้
2 เรื่องหลักที่นักธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุดในแต่ละอุตสาหกรรม
1. อุตสาหกรรมก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน ห่วงโซ่คุณค่า การคัดเลือกบุคลากร
2. สินค้าอุปโภคบริโภค ห่วงโซ่คุณค่า โครงสร้างพื้นฐาน
3. เภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพห่วงโซ่คุณค่า การเปลี่ยนแปลงด้านการกำกับดูแล
4. ดิจิทัลและอี-คอมเมิร์ซ การคัดเลือกบุคลากร เทคโนโลยีระดับสูง
นอกจากนี้ นักธุรกิจยังให้ความสำคัญกับพันธกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาว โดยผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 52 บอกว่ามีแผนจะลงทุนในโครงการด้านความยั่งยืนภายใน 3 ปีข้างหน้า
การเพิ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะช่วยเร่งการเติบโต
| ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาที่หน้า 87 ในรายงาน
การจะใช้ศักยภาพของอาเซียนได้อย่างเต็มที่ ต้องประกอบไปด้วยความร่วมมืออย่างแข็งขันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผนึกกำลังและก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ
ผลการสำรวจพบว่ามี 3 ประเด็นหลักที่จำต้องมีการเสริมความร่วมมือให้แข็งแกร่งขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าเพื่อการพัฒนายิ่งขึ้นไป:
1) ร้อยละ 65 บอกว่าจะมีการสร้างความร่วมมือใหม่มากขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า
2) ร้อยละ 60 เร่งให้มีการเพิ่มทักษะและดูแลพนักงานเพื่อเสริมฐานด้านบุคลากรในอนาคต
3) ร้อยละ 55 ต้องการให้ความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชั่นด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างแข็งขันมากขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคเชิงระบบ
ในการพิจารณาหาพันธมิตรด้านการธนาคาร นักธุรกิจพิจารณาความสามารถสำคัญดังต่อไปนี้
• แพลทฟอร์มดิจิทัลสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนและธุรกรรมธนาคาร ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและสามารถเข้าถึงได้แบบเรียลไทม์
• บริการการชำระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศแบบครบวงจรเพื่อตอบสนองการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในทุกตลาดที่พวกเขามีการดำเนินงาน
• ความสามารถในด้านการจัดการเงินสดที่แข็งแกร่ง เพื่อบริหารกระแสเงินสดและสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี
• เครือข่ายนานาชาติที่กว้างขวาง ซึ่งมีความเข้าใจตลาดท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ไฮดี้ ทอริบิโอ หัวหน้าร่วมสายงานกลุ่มลูกค้าองค์กรและลูกค้าสถาบันระดับภูมิภาคเอเซีย และเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารสายงานกลุ่มลูกค้าองค์กรและลูกค้าสถาบันของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า
“บริษัทในภูมิภาคและบริษัทต่างชาติกำลังปรับโครงสร้างธุรกิจเพิ่มขึ้น และผสานความยั่งยืนเพื่อวางฐานอนาคตของการดำเนินงานของตน ที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เรามุ่งมั่นทำงานร่วมกับลูกค้าของเราในการทบทวนกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขา และช่วยให้ลูกค้าบรรลุตามเป้าหมายการเติบโต ในฐานะที่เราเป็นธนาคารต่างชาติแห่งเดียวที่มีการดำเนินงานในทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน เครือข่ายที่หลากหลาย องค์ความรู้เชิงลึกในตลาดท้องถิ่น และศักยภาพครบวงจรทำให้เราโดดเด่นเป็นธนาคารคู่ค้าที่ธุรกิจต้องการ”
ข่าวเด่น