ซีเอสอาร์-เอชอาร์
เชสเตอร์ "ปันรัก ปันน้ำใจ" ร่วมปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี


 

บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด หรือ เชสเตอร์ นำพนักงานจิตอาสา ปลูกป่าในพื้นที่เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี ภายใต้โครงการ "ปันรัก ปันน้ำใจ" ปีที่ 9 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สู่เป้าหมาย Net-Zero


 
นางสาวลลนา บุญงามศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด หรือ เชสเตอร์ ธุรกิจร้านอาหารในเครือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำพนักงานจิตอาสา ร่วมกิจกรรมปลูกป่า เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ "ปันรัก ปันน้ำใจ" ปีที่ 9 โดยมี นายถนอมพงษ์ สังข์ธูป หัวหน้าโครงการฟื้นฟูสภาพป่าไม้เขาพระยาเดินธง กรมป่าไม้ ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยคณะทำงานยุทธศาสตร์ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ที่ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การปลูกป่าอย่างถูกวิธี การฟื้นฟู และศึกษาธรรมชาติ ณ โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

 
 
นางสาวลลนา บุญงามศรี กล่าวว่า เชสเตอร์ จัดโครงการปันรัก ปันน้ำใจ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้พนักงานร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศของเราให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องตามหลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของเครือซีพี ซึ่งกิจรรมครั้งนี้ คณะผู้บริหารนำพนักงานจิตอาสาร่วมกันทำกิจกรรมเพาะกล้า ปั้นดินที่บรรจุเมล็ดกล้าไม้ (Seedball) และยิง Seedball เป็นกิจกรรมครั้งที่ 2 ที่บริษัทฯ มีส่วนร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่า และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในพื้นที่โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือ 3 ประสาน โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ดังกล่าวไปแล้ว รวม 7,000 ไร่

 
 
"เป็นความภูมิใจของบริษัทฯ และเชสเตอร์จิตอาสา ที่ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทุกภาคส่วนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปลูกต้นไม้ ก็เป็นหนึ่งแนวทางในแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน" นางสาวลลนา กล่าว
 

 
ทั้งนี้ โครงการ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" จังหวัดลพบุรี เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน บนพื้นที่ 7,000 ไร่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย เป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำของประเทศไทย ร่วมดูแลสมดุลระบบนิเวศ ต้นไม้ที่เติบโตในพื้นที่ยังช่วยกักเก็บคาร์บอน มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์./

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 พ.ย. 2565 เวลา : 16:29:25
27-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 27, 2024, 9:42 am