ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลัง OPEC คาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกปรับเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับที่ 101.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 ขณะที่ IEA คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับที่ 101.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังทางการจีนเริ่มส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายปลอดโควิด ซึ่งจะหนุนการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 50 bps หรือ 0.5% มาอยู่ที่ระดับ 4.25-4.5% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ และตลาดคาดว่า FED มีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป หลังส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 5.1% ในปี 2566
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขน้ำมันดิบคงคลัง ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ธ.ค. เพิ่มสูงขึ้น 10.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 3.6 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์น้ำมันเบนซินในอินเดียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเข้าใกล้วันหยุดเทศกาลปลายปี
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในฝั่งตะวันตกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากผลของอุณหภูมิในยุโรปที่ปรับตัวลดลง
ข่าวเด่น