เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "ค้าปลีกปี 66 ขยายตัวต่อเนื่อง ท่ามกลางปัจจัยท้าทายรอบด้าน"


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยอดขายค้าปลีกปี 2566 จะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังอยู่บนความท้าทายรอบด้าน สอดคล้องไปกับทิศทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยในปี 2566 คาดว่า ตลาดอาจขยายตัวราว 2.8% - 3.6% (YoY) จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผลของราคาสินค้าบางรายการที่ยังคงปรับสูงขึ้นตามภาวะต้นทุน รวมถึงมาตรการช้อปดีมีคืนและการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเลือกตั้งที่น่าจะหนุนยอดขายค้าปลีกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก

 
 
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ธุรกิจจะสร้างยอดขายได้มากน้อยเพียงใด ยังคงต้องรอติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือนโยบายของภาครัฐหลังการเลือกตั้ง ขณะที่ ธุรกิจยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยอดขายค้าปลีกปี 2566 จะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังอยู่บนความท้าทายรอบด้าน สอดคล้องไปกับทิศทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยในปี 2566 คาดว่า ตลาดอาจขยายตัวราว 2.8% - 3.6% (YoY) จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผลของราคาสินค้าบางรายการที่ยังคงปรับสูงขึ้นตามภาวะต้นทุน รวมถึงมาตรการช้อปดีมีคืนและการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเลือกตั้งที่น่าจะหนุนยอดขายค้าปลีกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก
 
 
 
 
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ธุรกิจจะสร้างยอดขายได้มากน้อยเพียงใด ยังคงต้องรอติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือนโยบายของภาครัฐหลังการเลือกตั้ง ขณะที่ ธุรกิจยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง
 
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในปี 2566 ธุรกิจค้าปลีกยังคงเผชิญกับต้นทุนที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการแข่งขันที่ยังคงยากลำบาก โดยเฉพาะตลาดในประเทศที่การบริโภคโดยรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
 
 
• ต้นทุนที่สูงขึ้น แม้ว่าต้นทุนบางตัว เช่น ต้นทุนพลังงานจะย่อลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับตัวลดลง แต่ผู้ประกอบการค้าปลีกก็ยังเผชิญกับต้นทุนอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น ค่าแรงงาน ค่าไฟ เป็นต้น ในขณะที่ การปรับขึ้นราคาสินค้าให้สอดรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการที่เป็นสินค้าควบคุมอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ 
 
 
• การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จำนวนผู้ประกอบการค้าปลีกที่ยังคงเพิ่มขึ้น (ทั้งในแง่ของผู้เล่นรายใหม่และการขยายสาขาเพิ่มขึ้นของผู้เล่นรายเดิม) ท่ามกลางความแตกต่างของสินค้าและบริการของค้าปลีกในแต่ละ Segment ที่เริ่มน้อยลงหรือไม่แตกต่างกันมากนัก ขณะที่ การใช้จ่ายหรือการบริโภคของผู้บริโภคในประเทศไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหรือมีนัยสำคัญ ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์น้อยลง และมีทางเลือกมากขึ้น ส่งผลให้การแย่งชิงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีศักยภาพเริ่มจำกัดและแข่งขันกันรุนแรงขึ้น 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การเติบโตของค้าปลีกในปี 2566 หรือระยะสั้น (Short-term) น่าจะฟื้นตัวหรือเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศเป็นหลัก ภายใต้ความท้าทายในปัจจุบันที่ยังมีอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนและการแข่งขัน ขณะที่ ระยะข้างหน้า รูปแบบของการทำธุรกิจค้าปลีกหรือ Landscape น่าจะเปลี่ยนแปลงไป ตามการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ อัตราการเกิดใหม่ของประชากรที่ลดลง เทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินธุรกิจในอนาคต
 
 
• ตลาดค้าปลีกในกรุงเทพฯ จะเริ่มแน่นและอิ่มตัว รวมถึงขยายตัวได้ยากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายเริ่มขยายแผนการลงทุนไปในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยทำการปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับพฤติกรรมของคนในต่างจังหวัด ทั้งในเรื่องของสินค้า และการให้บริการ ส่งผลให้ค้าปลีกภูธรน่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอนาคต
 
 
• การดำเนินธุรกิจค้าปลีกภายใต้การร่วมมือ (Partner) หรือร่วมลงทุนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ ระบบการเงินที่นอกจากจะอำนวยความสะดวกในเรื่องของระบบชำระเงินแล้ว ยังหมายถึงการช่วยคัดกรองหรือการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพหรืออยู่ในกลุ่ม Partner เดียวกัน ไปจนถึงระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจในยุค Omni-channel 
 
• ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือกลุ่ม Modern trade จะมองหาโอกาสทางการตลาดในต่างประเทศในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ยังมีศักยภาพในการเติบโต เมื่อเทียบกับตลาดในประเทศที่การบริโภคเริ่มอิ่มตัว หรือไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 29 ธ.ค. 2565 เวลา : 08:47:45
30-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 30, 2024, 11:42 am