เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว
ในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ยังได้รับปัจจัยสนับสนุน
จากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนการลงทุนภาคเอกชน การท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 34.5 และ 15.1 ต่อปี ตามลำดับ รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 19.6 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 42.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 411.4 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 99.7 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสำคัญ ในขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -8.6 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 66.6 และ 95.4 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 46.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.0 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.0 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 98.2
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว ร้อยละ 32.1 และ 18.1 ต่อปี ตามลำดับ รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 41.2 ต่อปี การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -0.3 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 31.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุก
จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -8.6 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลง เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 34.4 และ 165.1 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.8 ซึ่งอยู่เหนือระดับ 50 และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 49.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 102.4 จากความกังวลเรื่องการลดลงของอุปสงค์จากตลาดต่างประเทศที่มีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน การลงทุนภาคเอกชน การท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นโดยชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 20.0 และ 8.7 ต่อปี ตามลำดับ รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 25.8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.6 และ 23.1 ต่อปี ตามลำดับ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 151.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 40.6 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ ในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นสำคัญ เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 63.6 และ 114.6 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.0 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 48.2 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 77.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 75.8
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน การท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 28.0 ต่อปี รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 33.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -4.8 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัวร้อยละ -1.6 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 3,968.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 81.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตรองเท้า และผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -11.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 203.4 และ 998.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 46.8 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 44.8 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 98.2
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน การท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 20.5 และ 21.4 ต่อปี ตามลำดับ รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 29.9 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัวร้อยละ -34.0 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -14.9 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการบริการสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 98.0 และ 152.1 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 46.8 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 45.0 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.0 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 98.2
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกร การท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -0.3 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 9.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -29.0 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 72.7 และ 117.1 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 51.7 ซึ่งอยู่เหนือระดับ 50 เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 50.2 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 88.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.4
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 31.1 และ 11.9 ต่อปี ตามลำดับ แต่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -22.4 ต่อปี จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -0.7 ต่อปี และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 411.1 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 601.8 ต่อปี สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 44.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 92.6
ข่าวเด่น