
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การเมือง เศรษฐกิจ และโควิด 19 ในปี 2566” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 3-6 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และโควิด 19 ในปี 2566 การสำรวจ อาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไปในปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.27 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 36.11 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 10.07 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง ร้อยละ 7.86 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 62.60 ระบุว่า มีแนวโน้ม ว่าจะมีการซื้อเสียงเลือกตั้ง รองลงมา ร้อยละ 36.56 ระบุว่า มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้อิทธิพล และ/หรือ อำนาจรัฐในการหาเสียง ร้อยละ 33.74 ระบุว่า จะมีการโกงการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถเอาผิดผู้บงการได้ ร้อยละ 29.39 ระบุว่า จะมีการใช้เงินในการหาเสียงมากกว่าที่คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด และจะมีแค่การทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งในเรื่องเล็ก ๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 20.23 ระบุว่า จะไม่มี การซื้อเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 16.95 ระบุว่า จะไม่มีการใช้อิทธิพล และ/หรือ อำนาจรัฐในการหาเสียง ร้อยละ 12.82 ระบุว่า จะมีการใช้เงิน ในการหาเสียงตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ร้อยละ 11.30 ระบุว่า จะไม่มีการทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ร้อยละ 4.05 ระบุว่า จะมีการโกงการเลือกตั้ง และสามารถเอาผิดผู้บงการได้ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.25 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 34.51 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะเหมือนเดิม ร้อยละ 28.09 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทย ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบ กับปี 2565 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.57 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะไม่น่ากลัวอีกต่อไป รองลงมา ร้อยละ 32.06 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะลดน้อยลง ร้อยละ 19.70 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะเหมือนเดิม และร้อยละ 12.67 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะรุนแรงขึ้น
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.73 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.05 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.14 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.88 สมรส และร้อยละ 1.98 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.72 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.04 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.86 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.17 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.21 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.03 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.69 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.37 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.91 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.93 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.40 ไม่ระบุรายได้
1. ท่านคิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไปในปี 2566 จะเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับปี 2565
สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม ร้อยละ 45.27
สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 36.11
สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง ร้อยละ 10.07
สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย ร้อยละ 7.86
เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.69
รวม ร้อยละ 100.00
2. ท่านคิดว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ในเขตเลือกตั้งของท่าน จะเป็นอย่างไร (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
มีแนวโน้มว่าจะมีการซื้อเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 62.60
มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้อิทธิพล และ/หรือ อำนาจรัฐในการหาเสียง ร้อยละ 36.56
จะมีการโกงการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถเอาผิดผู้บงการได้ ร้อยละ 33.74
จะมีการใช้เงินในการหาเสียงมากกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ร้อยละ 29.39
จะมีแค่การทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งในเรื่องเล็กๆ ร้อยละ 29.39
จะไม่มีการซื้อเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 20.23
จะไม่มีการใช้อิทธิพล และ/หรือ อำนาจรัฐในการหาเสียง ร้อยละ 16.95
จะมีการใช้เงินในการหาเสียงตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ร้อยละ 12.82
จะไม่มีการทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ร้อยละ 11.30
จะมีการโกงการเลือกตั้ง และสามารถเอาผิดผู้บงการได้ ร้อยละ 4.05
เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.53
3. ท่านคิดว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น ร้อยละ 37.25
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะเหมือนเดิม ร้อยละ 34.51
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง ร้อยละ 28.09
เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.15
รวม ร้อยละ 100.00
4. ท่านคิดว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในปี 2566 ในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะไม่น่ากลัวอีกต่อไป ร้อยละ 35.57
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะลดน้อยลง ร้อยละ 32.06
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 19.70
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะรุนแรงขึ้น ร้อยละ 12.67
รวม ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค
กรุงเทพฯ จำนวน 112 ร้อยละ 8.55
ภาคกลาง จำนวน 243 ร้อยละ 18.55
ภาคเหนือ จำนวน 236 ร้อยละ 18.01
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 438 ร้อยละ 33.44
ภาคใต้ จำนวน 180 ร้อยละ 13.74
ภาคตะวันออก จำนวน 101 ร้อยละ 7.71
รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ
ชาย จำนวน 630 ร้อยละ 48.09
หญิง จำนวน 680 ร้อยละ 51.91
รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ
18-25 ปี จำนวน 169 ร้อยละ 12.90
26-35 ปี จำนวน 233 ร้อยละ 17.79
36-45 ปี จำนวน 248 ร้อยละ 18.93
46-59 ปี จำนวน 349 ร้อยละ 26.64
60 ปีขึ้นไป จำนวน 311 ร้อยละ 23.74
รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา
พุทธ จำนวน 1,254 ร้อยละ 95.73
อิสลาม จำนวน 40 ร้อยละ 3.05
คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใดๆ จำนวน 16 ร้อยละ 1.22
รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส
โสด จำนวน 421 ร้อยละ 32.14
สมรส จำนวน 863 ร้อยละ 65.88
หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ จำนวน 26 ร้อยละ 1.98
รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า จำนวน 337 ร้อยละ 25.72
มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 459 ร้อยละ 35.04
อนุปริญญาหรือเทียบเท่า จำนวน 103 ร้อยละ 7.86
ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 369 ร้อยละ28.17
สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 42 ร้อยละ 3.21
รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00
ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก
ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 112 ร้อยละ 8.55
พนักงานเอกชน จำนวน 207 ร้อยละ15.80
เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ จำนวน 295 ร้อยละ 22.52
เกษตรกร/ประมง จำนวน 162 ร้อยละ 12.37
รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน จำนวน 210 ร้อยละ 16.03
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน จำนวน 258 ร้อยละ 19.69
นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 66 5.04
รวม จำนวน 1,310 100.00
ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
\ไม่มีรายได้ จำนวน 280 ร้อยละ 21.37
ไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 287 ร้อยละ 21.91
10,001-20,000 บาท จำนวน 379 ร้อยละ 28.93
20,001-30,000 บาท จำนวน 151 ร้อยละ 11.53
30,001-40,000 บาท จำนวน 57 ร้อยละ 4.35
40,001 บาทขึ้นไป จำนวน 59 ร้อยละ 4.51
ไม่ระบุ จำนวน 97 ร้อยละ 7.40
รวม จำนวน1,310 ร้อยละ 100.00
ข่าวเด่น