เศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ และภาคเหนือ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีในทุกภูมิภาค ทั้งจากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและชาวต่างชาติ
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ และภาคเหนือ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีในทุกภูมิภาค ทั้งจากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและชาวต่างชาติ” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน รายได้เกษตร และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 15.6 และ 4.4 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 36.2 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 52.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -6.6 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 86.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.6 เช่นเดียวกับเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 35.8 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 59.0 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน รายได้เกษตร และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 22.8 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปี และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 20.1 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 49.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.3 เครื่องชี้ ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -15.0 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 14.4 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.6 เช่นเดียวกับเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวน ผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 42.7 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 42.3 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 25.2 และ 24.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 47.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.9 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -14.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -1.8 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อีกทั้งเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.3 ขณะที่เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 152.9 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 279.9 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน รายได้เกษตร และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชนในส่วนของโรงงาน ที่เริ่มประกอบกิจการที่ยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 20.9 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -28.5 ต่อปี แต่ขยายตัว ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 2,790.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 269.6 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ในจังหวัดหนองคาย เป็นสำคัญ ด้านอุปทานเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.1 เช่นเดียวกับเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 46.1 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 63.9 ต่อปี
ข่าวเด่น