
พ่อแม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.9 ระบุว่าสภาพคล่องทางการเงินในช่วงเปิดเทอมนี้ พอๆ กับปีที่แล้ว โดยร้อยละ 50.1 เตรียมแบ่งเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร/หลานไว้อยู่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 ระบุว่าเตรียมงบประมาณสำหรับซื้ออุปกรณ์การเรียนต่างๆไว้ประมาณ 1,000-3,000 บาท ต่อคน ทั้งนี้ร้อยละ 70.4 ระบุเปิดเทอมนี้ยังมีความกังวลเรื่องการแพร่เชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน โดยคาดหวังให้ระบบการศึกษาไทยปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริง และเน้นการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน
กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “เปิดเทอมนี้ พ่อแม่เตรียมเงินในกระเป๋าพร้อมหรือยัง” โดยเก็บข้อมูลจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,040 คน พบว่า
สภาพคล่องทางการเงินของพ่อแม่ ผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปีนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.9 ระบุว่า พอๆกับปีที่แล้ว รองลงมาร้อยละ 38.5 ระบุว่า แย่กว่าปีที่แล้ว ที่เหลือร้อยละ 11.6 ระบุว่า ดีกว่าปีที่แล้ว
โดยเปิดเทอมนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.1 เตรียมเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร/หลานจากเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว รองลงมาร้อยละ 35.2 ระบุว่าใช้เงินประหยัดกว่าช่วงปกติ เพื่อมีเงินพอกับค่าใช้จ่าย และร้อยละ 26.9 ระบุว่ารอเงินเดือนล่าสุดออก
เมื่อถามว่า ท่านเตรียมเงินสำหรับซื้อ อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ (ไม่รวมค่าเทอม) ของบุตร/หลานต่อคนเป็นเงินเท่าไหร่ นั้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 ระบุว่า เตรียมไว้ 1,000-3,000 บาท รองลงมาร้อยละ 34.8 ระบุว่า 3,001-6,000 บาท และร้อยละ 7.1 ระบุว่า มากกว่า 9,000 บาท
ส่วนเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับบุตร/หลานในเทอมนี้นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ระบุว่า กังวลเรื่องการแพร่เชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน รองลงมาร้อยละ 33.5 ระบุว่า อุบัติเหตุจากการเดินทาง/โดนลูกหลง และร้อยละ 32.7 ระบุว่า การคบเพื่อนไม่ดี
สำหรับสิ่งที่คาดหวังจากระบบการศึกษาไทยมากที่สุดร้อยละ 17.7 คือ ให้ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริง คิดวิเคราะห์ได้ รองลงมาร้อยละ 11.8 คือ เน้นการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ใช้ได้จริงมากขึ้น และร้อยละ 11.2 ระบุว่า ให้การอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้เป็นคนดีของสังคม ไม่ติดอบายมุข
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สภาพคล่องทางการเงินของท่านในช่วงเปิดเทอมปีนี้เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงเปิดเทอมปีที่แล้ว
แย่กว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 38.5
พอๆกับปีที่แล้ว ร้อยละ 49.9
ดีกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 11.6
2. เปิดเทอมนี้ท่านเตรียมการค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร/หลาน จาก.........
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
มีเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว ร้อยละ 50.1
ใช้เงินประหยัดกว่าช่วงปกติ เพื่อมีเงินพอกับค่าใช้จ่าย ร้อยละ 35.2
รอเงินเดือนล่าสุดออก ร้อยละ 26.9
หารายได้เสริมนอกจากอาชีพหลัก ร้อยละ 21.5
ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง / เพื่อน ก่อน ร้อยละ 19.3
จำนำทรัพย์สิน เช่น ทอง ทีวี ฯลฯ ร้อยละ 5.0
รูดบัตรเครดิต ผ่อนจ่ายได้/จ่ายเดือนถัดไปได้ ร้อยละ 4.9
กู้เงินนอกระบบ ร้อยละ 3.4
ใช้บัตรกดเงินสด/กู้เงินธนาคาร ร้อยละ 2.0
นำของมีค่าออกมาขาย ร้อยละ 1.9
3. ท่านเตรียมเงินสำหรับซื้อ อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ (ไม่รวมค่าเทอม) ต่อคนเป็นเงิน
น้อยกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 1.9
1,000-3,000 บาท ร้อยละ 52.6
3,001-6,000 บาท ร้อยละ 34.8
6,001-9,000 บาท ร้อยละ 3.6
มากกว่า 9,000 บาท ร้อยละ 7.1
4. ในเทอมที่จะถึงนี้ ท่านกังวลเรื่องใดเกี่ยวกับบุตร/หลานของท่านบ้าง (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
การแพร่เชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน ร้อยละ 70.4
อุบัติเหตุจากการเดินทาง/โดนลูกหลง ร้อยละ 33.5
การคบเพื่อนไม่ดี ร้อยละ 32.7
ค่าใช้จ่ายที่ให้ลูกไปโรงเรียน ร้อยละ 31.9
ยาเสพติด ร้อยละ 29.1
กิจกรรมเยอะ/ ได้ความรู้ไม่เต็มที่ ร้อยละ 20.6
สถานที่เรียนไกลบ้าน ร้อยละ 9.8
อื่นๆ อาทิ ฝุ่น PM2.5 ความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน ฯลฯ ร้อยละ 0.5
5. สิ่งที่ท่านคาดหวังจากระบบการศึกษาไทยมากที่สุด (5 อันดับแรก)
ให้ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริง คิดวิเคราะห์ได้ ร้อยละ 17.7
เน้นการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ใช้ได้จริงมากขึ้น ร้อยละ 11.8
ให้การอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้เป็นคนดีของสังคม ไม่ติดอบายมุข ร้อยละ 11.2
เน้นด้านวิชาการ มากกว่ากิจกรรม ร้อยละ 10.4
ครูตั้งใจสอนและใส่ใจดูแลเด็กให้มากกว่านี้ ร้อยละ 10.1
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรหลานในเทอมใหม่นี้ รวมถึงเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับตัวบุตรหลานในเทอมที่จะถึงนี้และสิ่งที่คาดหวังจากระบบการศึกษาไทย ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างพ่อแม่ผู้ปกครองในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีบุตร หลานเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยแบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต บางเขน บางแค บางกะปิ บางซื่อ บึงกุ่ม ปทุมวัน ภาษีเจริญ สายไหมหลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานีและสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,040 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open ended) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-30 เมษายน 2566
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 6 พฤษภาคม 2566
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
เพศ
ชาย จำนวน 392 ร้อยละ 37.7
หญิง จำนวน 648 ร้อยละ 62.3
รวม จำนวน 1,040 ร้อยละ 100.0
อายุ
18 – 30 ปี จำนวน 159 ร้อยละ 15.3
31 – 40 ปี จำนวน 345 ร้อยละ 33.2
41 – 50 ปี จำนวน 347 ร้อยละ 33.3
51 – 60 ปี จำนวน 134 ร้อยละ 12.9
61 ปีขึ้นไป จำนวน 55 ร้อยละ 5.3
รวม จำนวน 1,040 ร้อยละ 100.0
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 707 ร้อยละ 68.0
ปริญญาตรี จำนวน 294 ร้อยละ 28.3
สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 39 ร้อยละ 3.7
รวม จำนวน 1,040 ร้อยละ 100.0
อาชีพ
ลูกจ้างรัฐบาล จำนวน 131 ร้อยละ 12.6
ลูกจ้างเอกชน จำนวน 301 ร้อยละ 28.9
ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร จำนวน 432 ร้อยละ 41.5
เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง จำนวน 40 ร้อยละ 3.9
พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ จำนวน 6 ร้อยละ 0.6
นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 113 ร้อยละ 10.9
ว่างงาน จำนวน 17 ร้อยละ 1.6
รวม จำนวน 1,040 ร้อยละ 100.0
ข่าวเด่น