SCB WEALTH เดินหน้ารุกด้าน Financial Privilege มุ่งเน้นการมอบเอกสิทธิ์ทางการเงินและการลงทุน เพื่อนำไปต่อยอดความมั่งคั่งและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ผ่านกิจกรรมสัมมนา ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และอาจารย์ด้านกฎหมายและเศรษฐกิจระหว่างประเทศคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้หัวข้อ “China Reopening: Challenges and Prospects” ณ SCB Investment Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี
โดยดร.อาร์ม กล่าวในงานสัมมนาว่า คนจีนยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศตนเอง แม้ในระยะสั้น จะเป็นแบบเศรษฐกิจ Square Root Shape กล่าวคือ ดีดตัวขึ้นหลังเปิดเมืองระยะหนึ่งแล้วทรงตัว โดยในไตรมาสแรก GDP Growth อยู่ที่ 4.5% จากคาดการณ์ไว้ที่ 4% การค้าปลีกเติบโต 10% จากการฟื้นตัวการบริโภคภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังค้างอยู่ และ ผลประกอบการบริษัทจีนยังไม่ดีอย่างที่คาดหวัง ทำให้ประชาชนไม่แน่ใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังระมัดระวังการใช้จ่าย สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นคาดหวัง คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัดฉีดเม็ดเงิน
ส่วนในระยะกลางเศรษฐกิจจีนจะโตแบบขั้นบันได มีทั้งช่วงที่เศรษฐกิจนิ่งๆ และเติบโตสลับกัน ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง คือ 1)รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจีนกำลังเจอปัญหาเงินฝืด สวนทางกับชาติอื่นที่มีปัญหาเงินเฟ้อ ประชาชนคาดหวังว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ย อัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 2)ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเริ่มกลับมา หลังรัฐบาลจีน ให้ความเชื่อมั่นในการสนับสนุนภาคธุรกิจ โดยย้ำว่าภาคเอกชนมีความสำคัญกับเศรษฐกิจจีน และ3)ยังมีความท้าทายจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่วนปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ต่างชาติยังลังเลในการเข้ามาลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะลุกลามมากกว่านี้หรือไม่
สำหรับเศรษฐกิจจีนในระยะยาว มีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าประเทศอื่นๆในโลก ซึ่งสหรัฐฯ เจอปัญหาเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัญหาภาคธนาคารขาดเสถียรภาพ และปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ด้านยุโรป ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่วนจีน ได้รับผลกระทบจากนโยบาย zero covid การปราบปรามภาคเอกชน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี ที่แรงเกินไป รวมทั้ง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แต่พบว่า จีนได้เลิกนโยบายโควิดและเริ่มกลับมาเน้นภาคเอกชนอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนสนใจ และหาจังหวะเข้าลงทุน
ทั้งนี้ หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ หุ้นกลุ่มดั้งเดิม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค สนับสนุนการฟื้นตัวในช่วงหลังโควิด ส่วนในระยะยาว แนะนำกลุ่ม Soft Tech ที่ราคามีการปรับลดลงไปมาก จากผลกระทบเรื่องการออกกฎระเบียบจัดการ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ แม้ราคาจะปรับขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ นอกจากนี้ กลุ่มพลังงานสะอาด ซึ่งรัฐบาลยังสนับสนุนเต็มที่ อาจหาจังหวะเข้าลงทุน เมื่อราคาปรับลดลง
ข่าวเด่น