เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บล.อินโนเวสท์วิเคราะห์ "กังวลผลโหวตเพดานหนี้กดดัน หากต่ำกว่า 1530 จุด เป็นลบ"


SET ไม่ผ่านกรอบบนเดิมบริเวณ 1540 จุด และอ่อนตัว ซึ่งวันนี้คาดอ่อนตัวได้ต่อ จากความกังวลผลโหวตเพดานหนี้ และราคาน้ำมันลงแรงกดดันกลุ่มพลังงาน โดยดัชนีมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1530 จุด หากยืนได้ จะแกว่งในกรอบเดิมต่อบริเวณ 1530-1540 จุด ส่วนกรณีหลุดต่ำกว่า จะเป็นสัญญาณลบ และมีแนวรับถัดไปที่ 1523 จุด  

ประเด็นสำคัญ

วันนี้สภาผู้แทนฯ สหรัฐจะโหวตร่าง กม. ขยายเพดานหนี้ ก่อนจะส่งต่อเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา โดยกระบวนการจะต้องเสร็จสิ้นก่อนเส้นตาย 5 มิ.ย. ที่สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐ พ.ค. ลดลง แต่ยังสูงกว่าคาดทำให้ นลท. คาด Fed จะเดินหน้าปรับขึ้น ด.บ. เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ราคาน้ำมันปิดลงแรง 4.4% DoD หลัง นลท. กังวลผลโหวตขยายเพดานหนี้สหรัฐและจับตาผลการประชุม OPEC+ 4 มิ.ย.

วันนี้ติดตามการประชุมนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งตลาดและเราคาดจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps สู่ระดับ 2.0%

พาณิชย์ รายงานยอดส่งออก เม.ย. -7.6%YoY ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 7 ส่วน 4M66 -5.2% คาด พ.ค. ยังชะลอต่อเนื่อง จากสต็อกสินค้าประเทศคู่ค้ายังมีจำนวนมากหลังโควิดคลี่คลาย

กบน. เตรียมสมมติฐานราคาน้ำมันดีเซล หลัง ก.คลังไม่ต่ออายุลดภาษีสรรพสามิต 5 บ./ลิตรตั้งแต่ 20 ก.ค. 66 ขณะที่ ก.พลังงานระบุลดเก็บเงินเช้ากองทุนน้ำมันช่วยได้ 4 เดือน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เตรียมเปิดให้บริการประชาชนทดลองนั่งฟรี ระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ 3 มิ.ย. นี้ 

ผลการประชุม 8 พรรคร่วม รบ. มีมติจัดตั้งคณะทำงานช่วงเปลี่ยนผ่าน ประชุมนัดแรก 6 มิ.ย. นี้ ส่วนตำแหน่ง ปธ. สภาฯ ยังไม่ได้หารือ

กลยุทธ์การลงทุน

มอง  SET ยังเคลื่อนไหวผันผวนและแกว่งตัวในกรอบ โดยแม้การขยายเพดานหนี้ของสหรัฐจะได้ข้อสรุป ซึ่งเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย และการประชุมนโยบายการเงินของ กนง. มองจะมีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 pbs ตามตลาดคาด แต่ประเมิน SET จะยังคงมี Upside จำกัด เนื่องจากตลาดยังคงจับตาเสถียรภาพในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทย สถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ในจีน และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในยุโรป ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำให้ “Selective Buy”

ล็อคเป้าลงทุน  

Weekly Portfolio : แม้ช่วงสั้น SET จะได้รับ Sentiment บวกจากเพดานหนี้สหรัฐได้ข้อสรุป แต่คาด Upside ยังจำกัด เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

1. หุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดจาก MOU 23 ข้อที่ 8 พรรคการเมืองร่วมลงนาม เลือก BBL KTB KBANK HMPRO GLOBAL BCH CHG SPRC STANLY AH ONEE HTC TNP

2. หุ้นที่ INVX Research มีการปรับเพิ่ม Rating และ/หรือ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย เลือก KKP BJC OSP

3. สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ซึ่งต้องการเก็งกำไรระยะสั้นในประเด็นการเจรจาเพดานหนี้สหรัฐได้ข้อสรุป แนะนำ DELTA PTTEP BCP 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนสำหรับหุ้นที่มีความเสี่ยงหรือปัจจัยลบกดดันราคาหุ้น ดังนี้ 1) หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่ม PTT ออกไปก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือความไม่ชัดเจนของโครงสร้างราคาพลังงานากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ 2) หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบอย่างมีนัย จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลใหม่ ได้แก่ กลุ่มขนส่งพัสดุ (KEX) กลุ่มอาหาร (CPF ZEN GFPT TU AU CENTEL) กลุ่มอสังหาฯ (LPN PSH SIRI QH AP) และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (HANA KCE) 3) หุ้นที่ราคาขึ้นมาสูงกว่าโควิด-19 และเราแนะนำ Underperform (AAV SAWAD MST NRF)

Daily focus

CPALL 2Q66 คาดกำไรปกติจะเติบโต YoY โดยเกิดจากยอดขายที่ดีขึ้นทั้งธุรกิจ CVS และ MAKRO แต่จะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล ขณะที่ 2H66 กำไรจะดีขึ้น HoH จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจะลดลงหลังจากรีไฟแนนซ์หนี้ของ MAKRO เสร็จในช่วงปลายเดือนเม.ย.

BDMS 2Q66 คาดกำไรปกติจะเติบโต YoY เนื่องจากพัฒนาการในตลาดต่างประเทศใหม่ๆ จะช่วยสนับสนุนให้กำไรเติบโตต่อเนื่อง แต่จะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล ขณะที่ทั้งปี 2566 คาดกำไรปกติที่ 1.4 หมื่นลบ. เติบโต 12%YoY
 
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 พ.ค. 2566 เวลา : 10:42:13
29-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 29, 2024, 12:48 am