เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บล.อินโนเวสท์วิเคราะห์ "หากไม่ต่ำกว่า 1540 จุด ยังขึ้นได้ต่อ"


SET สร้างสัญญาณบวกทางเทคนิค หลังมีการ breakout กรอบบนบริเวณ 1540-1545 จุด ทำให้จากแนวต้านกลายเป็นแนวรับ ดังนั้น หากไม่ต่ำกว่า คาดว่าดัชนีปรับขึ้นได้ต่อ โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1570 และ 1580 จุด ตามลำดับ ประเด็นสำคัญ ติดตามการประชุมธนาคารกลางต่างๆ ในสัปดาห์นี้

ประเด็นสำคัญ

สัปดาห์นี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง โดยการประชุม Fed 13-14 มิ.ย. คาดคง ด.บ. ที่ระดับ 5.00-5.25% ส่วนการประชุม ECB 15 มิ.ย. คาดปรับขึ้น ด.บ. 0.25% และการประชุม BOJ 15-16 มิ.ย. คาดยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ

กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ประมาณการว่า สต็อกข้าวโพดของสหรัฐในปี 2566-2567 เพิ่มขึ้น 35 ล้านบุชเชล, สต็อกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 15 ล้านบุชเชล และสต็อกข้าวสาลีเพิ่มขึ้น 6 ล้านบุชเชล

ธปท.รายงาน ศก. ไทยรายภูมิภาค เม.ย. พบว่าภาคเหนือ อีสาน ใต้ ยังใช้จ่ายฝืดเคือง การอุปโภคบริโภคยังขยายตัวติดลบจากปีก่อน แต่ได้ภาคการท่องเที่ยวช่วยกระตุ้น ขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม พ.ค. 66 ลดลงหลังท่องเที่ยวเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซั่น ด้าน ม. หอการค้าไทยประเมินการท่องเที่ยวหนุน ศก.ไทยปีนี้ สร้างรายได้ 2.38 ล้านลบ.

พาณิชย์ระบุราคาหมู-ไก่-ไข่ ปรับขึ้นจากอากาศร้อน ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ขณะที่ปุ๋ย-ยาฆ่าแมลงราคาลดลง 50% ทั้งนี้จะเร่งควบคุมราคาสินค้าปลายทางและปรับลดให้สอดคล้องกัน

ภาคธุรกิจของไทยมีความตื่นตัวในการลงทุนเทคโนโลยี AI เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลังการมาของ ChatGPT และ Generative AI
 
GM และ Ford ประกาศเตรียมใช้ระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla Supercharger

กลยุทธ์การลงทุน
 
มอง  SET จะผันผวนในกรอบ และมี Upside จำกัด หลังขาดปัจจัยสนับสนุน โดยมองการประชุมนโบบายการเงินของเฟดจะมีมติคงดอกเบี้ยตามตลาดคาด แต่ต้องจับตาหากเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน  ก.ค. และเงินเฟ้อ พ.ค. ของสหรัฐออกมาสูงกว่าตลาดคาด จะเป็น sentiment ลบระยะสั้นต่อบรรยากาศลงทุนในตลาดหุ้นไทย ควบคู่ไปกับ ความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนและสถานการณ์จัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทยที่ล่าช้า จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำให้ “Selective Buy”

ล็อคเป้าลงทุน 

Weekly Portfolio : มอง SET ผันผวนในกรอบและมี Upside จำกัด เนื่องจากตลาดอยู่ระหว่างจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดและเงินเฟ้อ พ.ค. ของสหรัฐ กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

1. หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q66 จะยังเติบโตได้ดีทั้ง YoY และ QoQ เลือก AOT BBL ADVANC MINT OSP และหุ้นที่คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เลือก KCE ONEE

2. หุ้นเชิงรับหากเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ก.ค. และเงินเฟ้อสหรัฐออกมาสูงกว่าตลาดคาด เลือก BDMS BEM

3. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ซึ่งต้องการเก็งกำไรระยะสั้น หากเฟดส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย ก.ค. และเงินเฟ้อสหรัฐออกมาต่ำกว่าตลาดคาด เลือก DELTA PTTEP BCP

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนสำหรับหุ้นที่มีความเสี่ยงหรือปัจจัยลบกดดันราคาหุ้น ดังนี้ 1) หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่ม PTT ออกไปก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือความไม่ชัดเจนของโครงสร้างราคาพลังงานจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ 2) หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบอย่างมีนัย จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลใหม่ ได้แก่ กลุ่มขนส่งพัสดุ (KEX) กลุ่มอาหาร (CPF ZEN GFPT TU AU CENTEL) และกลุ่มอสังหาฯ (LPN PSH SIRI QH AP) และ 3) หุ้นที่เราแนะนำ Underperform หรือมีความเสี่ยงที่ยังต้องติดตาม (AAV SAWAD MST NRF)

Daily focus

AOT ปี FY2566 (ต.ค. 65-ก.ย. 66) คาดผลประกอบการจะฟื้นตัวกลับมามีกำไร 1.5 หมื่นลบ. โดยกำไรจะเร่งตัวขึ้นในระยะถัดไป ด้วยแรงหนุนจากจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เติบโตเพิ่มขึ้น และการกลับมาเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ

NYT เป็นหุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องของตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยและตลาดนำเข้ารถยนต์ EV โดย 2Q66 คาดกำไรโตเด่น YoY สะท้อนจากปริมาณรถยนต์ผ่านท่าของบริษัท เม.ย. และ พ.ค. ที่โต 31%YoY และ 22%YoY ตามลำดับ
 
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 มิ.ย. 2566 เวลา : 10:52:45
28-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 28, 2024, 9:51 pm