เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บล.อินโนเวสท์วิเคราะห์ "แกว่งในกรอบ 1540-1560 จุด"


คาด SET แกว่งในกรอบ 1540-1560 จุด เนื่องจากนักลงทุนรอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้ และต่อด้วยผลประชุมเฟดในคืนพรุ่งนี้ รวมถึงติดตามสถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศ ทั้งนี้ในภาพรวม มีจุดติดตามอยู่ที่ 1540 จุด หากไม่ต่ำกว่า คาดดัชนียังปรับขึ้นได้ต่อ โดยหากขึ้นทะลุผ่าน 1560 จุด จะเป็นสัญญาณบวก และมีแนวต้านถัดไปที่ 1570 จุด 

ประเด็นสำคัญ

TDRI คาด GDP ปีนี้โต 3.5% ประเมิน ศก. ครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก หนุนจากการท่องเที่ยว-การส่งออกไปจีน-กำลังซื้อใน ปท. แต่กังวลหนี้ครัวเรือนที่สูง และการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพอาจทำงบฯ ปี 67 ล่าช้า

Goldman Sachs ปรับเพิ่มคาดการณ์ดัชนี S&P500 สิ้นปีนี้ที่ระดับ 4,500 จุด จากเดิม 4,000 จุด จากภาวะการซื้อขายที่คึกคัก แต่ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมัน Brent ส่งมอบ ธ.ค. ลงสู่ 86 จากเดิม 95 เหรียญ/บาร์เรล และ WTI สู่ 81 จากเดิม 89 เหรียญ/บาร์เรล คาดอุปทานน้ำมันสูงเกินคาดถึงปีหน้า

ซาอุดีอาระเบียประกาศข้อตกลงการลงทุนครั้งใหญ่มูลค่ากว่าหมื่นล้านเหรียญระหว่างจีนกับกลุ่ม ปท. อาหรับในการประชุมธุรกิจจีน-อาหรับ

ราคาแร่นิกเกิลปรับลดลงจากสูงสุดเมื่อปี 2565 โดยอินโดนีเซียเร่งถลุงแร่นิกเกิลจำนวนมากเพื่อป้อนอุตสาหกรรม EV และสแตนเลส

Oracle รายงานผลประกอบการกำไรและรายได้ 4Q สูงกว่าคาด ทำให้ราคาหุ้นทำจุดสูงสุดใหม่

UBS ประกาศว่าธนาคารได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการ Credit Suisse แบบเร่งด่วนแล้ว โดยจะดูแลสินทรัพย์มูลค่ากว่า 5 ล้านล้านเหรียญ

รัฐบาลจีนระบุการแพร่ระบาดโควิด-19 ในเดือน พ.ค. เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราผลตรวจเชื้อใน รพ. เพิ่มขึ้นถึงกว่า 40%MoM ใกล้เคียงจุดสูงสุดเมื่อช่วงสิ้นปี 2565

กลยุทธ์การลงทุน

มอง  SET จะผันผวนในกรอบ และมี Upside จำกัด หลังขาดปัจจัยสนับสนุน โดยมองการประชุมนโบบายการเงินของเฟดจะมีมติคงดอกเบี้ยตามตลาดคาด แต่ต้องจับตาหากเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน  ก.ค. และเงินเฟ้อ พ.ค. ของสหรัฐออกมาสูงกว่าตลาดคาด จะเป็น sentiment ลบระยะสั้นต่อบรรยากาศลงทุนในตลาดหุ้นไทย ควบคู่ไปกับ ความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนและสถานการณ์จัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทยที่ล่าช้า จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำให้ “Selective Buy”

ล็อคเป้าลงทุน 

Weekly Portfolio : มอง SET ผันผวนในกรอบและมี Upside จำกัด เนื่องจากตลาดอยู่ระหว่างจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดและเงินเฟ้อ พ.ค. ของสหรัฐ กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

1. หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q66 จะยังเติบโตได้ดีทั้ง YoY และ QoQ เลือก AOT BBL ADVANC MINT OSP และหุ้นที่คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เลือก KCE ONEE

2. หุ้นเชิงรับหากเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ก.ค. และเงินเฟ้อสหรัฐออกมาสูงกว่าตลาดคาด เลือก BDMS BEM

3. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ซึ่งต้องการเก็งกำไรระยะสั้น หากเฟดส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย ก.ค. และเงินเฟ้อสหรัฐออกมาต่ำกว่าตลาดคาด เลือก DELTA PTTEP BCP

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนสำหรับหุ้นที่มีความเสี่ยงหรือปัจจัยลบกดดันราคาหุ้น ดังนี้ 1) หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่ม PTT ออกไปก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือความไม่ชัดเจนของโครงสร้างราคาพลังงานจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ 2) หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบอย่างมีนัย จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลใหม่ ได้แก่ กลุ่มขนส่งพัสดุ (KEX) กลุ่มอาหาร (CPF ZEN GFPT TU AU CENTEL) และกลุ่มอสังหาฯ (LPN PSH SIRI QH AP) และ 3) หุ้นที่เราแนะนำ Underperform หรือมีความเสี่ยงที่ยังต้องติดตาม (AAV SAWAD MST NRF)

Daily focus

OR ราคาน้ำมันที่ลดลงจะช่วยลดแรงกดดันจากการกำหนดเพดานราคา (โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล) ของรัฐบาลและค่าการตลาดของ OR โดยปี 2566 คาดกำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 31%YoY จากค่าใช้จ่ายการตลาดลดลงและค่าการตลาดที่ดีขึ้น

KCE มองผลประกอบการคาดจะกลับมาเติบโตอีกครั้งใน 2H66 จาก Pent up demand โดยเฉพาะจากลูกค้าฝั่งยุโรปซึ่งคาดจะชดเชยการปรับลดราคาขายให้กับลูกค้าได้ และคาดจะดีต่อเนื่องไปถึงปี 2567 ที่มีการขยายกำลังผลิตครั้งใหญ่
 
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 มิ.ย. 2566 เวลา : 10:42:47
28-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 28, 2024, 9:37 pm