วันภาษาไทยแห่งชาติที่ถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันที่ย้ำเตือนให้คนไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการมีภาษาประจำชาติ รวมถึงปลูกฝังให้เห็นถึงแนวทางการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นทักษะการอ่าน การพูด ล้วนเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญ ตลอดจนตอกย้ำ ความผูกพันที่คนไทยมีต่อภาษาไทยในฐานะเอกลักษณ์และภาษาประจำชาติ
ทั้งนี้ ความผูกพันที่เชื่อว่าแทบจะทุกคนมีต่อภาษาไทยนั่นก็คือ “ทักษะการเขียน” ซึ่งเป็นทักษะ ที่นำไปใช้กับกิจกรรมการเรียน ช่วยในการจัดระเบียบความคิด และแทบจะทุกอาชีพล้วนต้องใช้ทักษะ การเขียนแทบทั้งสิ้น ซึ่งหนึ่งในเครึ่องมือสำคัญที่ช่วยให้หลายคนมีสกิลการเขียนที่ดีคงหนีไม่พ้น “จดหมาย” ที่ถูกบรรจุอยู่ในชั่วโมงการเรียนการสอนภาษาไทย และเชื่อว่าหลายคนคงเคยผ่านการเขียนจดหมายหลากหลายประเภท แต่ที่น่าจะจดจำกันได้อย่างดีก็คือการส่งสารไปยังเพื่อนต่างโรงเรียนสมัยประถม ผ่านตู้ไปรษณีย์สีแดงนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันอาจจะเห็นได้น้อยแล้วที่จะมีผู้คนเขียนจดหมายหากัน
ไปรษณีย์ไทยชวนเปิดจดหมายเก่า พร้อมเปิดเหตุผลที่จดหมายทำให้ทุกคนมีมัลติสกิล
การเขียนจดหมายในช่วงวัยเด็กอาจไม่ใช่เรื่องที่ง่ายสำหรับใครหลายคน เพราะการเรียนการสอนในอดีตส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการท่องจำ ทำให้บางคนอาจนึกไม่ออกว่าสิ่งที่จะเขียน หรือสื่อสารออกไปนั้นจะต้องมีวิธีการอย่างไร อีกทั้งการเขียนจดหมายยังเป็นการทำให้ผู้เขียนซึมซับวิธีการจัดการ กับลำดับความคิด ความมีเหตุและผล ลายมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล
“จดหมาย” ผู้สร้างกลวิธีและคุณค่าแห่งการสื่อสาร - การรักษาสัมพันธภาพที่ยังคลาสสิค
ในอดีตเวลาที่บุรุษไปรษณีย์มาส่งสัญญานเรียกที่หน้าบ้าน ทุกๆ คนมักจะมีความตื่นเต้น กับจดหมายที่ถูกส่งมา เนื่องจากความใคร่รู้ในข้อความ หรือการตอบกลับจากปลายทางในกรณีที่เป็น กิจธุระสำคัญ ทั้งนี้ เมื่อลองคลี่กระดาษจดหมายแต่ละชิ้นก็จะยังจะทำให้เห็นอีกว่าวัตถุประสงค์ในการเขียนจดหมายแต่ละชิ้นนั้นยังเป็นการฝึกกลวิธีในการบรรยาย การสร้างสรรค์งานเขียนให้มีความน่าสนใจ ซึ่งมั่นใจว่าทุกคนล้วนได้รับอิทธิพลเหล่านี้มาเรียบเรียงเรื่องราวจนถึงปัจจุบัน
หลายคนกล่าวว่าการสื่อสารผ่านจดหมายเป็นการสื่อสารที่มีคุณค่า เนื่องด้วยในอดีตที่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อบุคคลได้รวดเร็วดังเช่นในปัจจุบัน จึงทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของ การรอคอย การสื่อสารทุกคำ ทุกประโยคต้องใช้ทั้งความบรรจงในเชิงความคิด ตัวอักษร เพื่อให้เรื่องราวเหล่านั้นถูกส่งต่อออกไปแบบครบสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ จดหมายในบางฉบับยังมีความสนใจและน่าเก็บสะสมจากองค์ประกอบที่มาด้วยกัน เช่น ซองจดหมาย กลิ่นหอมๆ ของแสตมป์ ลายกระดาษ และทุกๆ คนก็คงจะมีจดหมายที่เก็บไว้ในกล่องสะสม ยังจำได้ไหมว่าฉบับไหนกันนะ ??
ความนิยมในจดหมายยังมีหรือไม่ในปัจจุบัน
แม้ว่าทุกวันนี้เราจะสื่อสารกันผ่านเสียงพูดบนช่องทางโทรศัพท์มือถือ การแจ้งกิจธุระผ่านอีเมล หรือทักหาคนที่ต้องการคุยด้วยผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ แต่จดหมายก็ยังไม่ได้เลือนหายไปเสียทีเดียว ยังมีการใช้ทั้งในเชิงธุรกิจ จดหมายราชการ การแจ้งเตือนการทำธุรกรรมต่างๆ นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งจดหมายจะมีระบบดิจิทัลเข้ามาเป็นตัวกลาง แต่ระบบการส่งผ่าน “ไปรษณีย์ไทย” และ “ตู้ไปรษณีย์” ก็ยังคงอยู่และสามารถใช้บริการได้เช่นเดิม ทั้งนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่าการเขียนจดหมายด้วยลายมือยังมีอยู่หรือไม่ แอบถามพี่ไปรฯ ก็ได้คำตอบมาว่ายังมีและสามารถทำได้อยู่ และพี่ไปรฯ พร้อมสแตนด์บายส่งถึงทุกคนอย่างแน่นอน
140 ปี ไปรษณีย์ไทย ชวนคนไทยมาย้อนทักษะการเขียนจดหมายกันอีกครั้ง
แม้ว่าจะผ่านการทำหน้าที่ผู้ส่งสารมาถึง 140 ปี แต่ไปรษณีย์ไทยยังคงเป็นช่องทางที่จะส่งสารสำคัญของทุกคนให้ถึงทุกปลายทาง และในวาระสำคัญปีนี้คนไทยทุกคนสามารถมาย้อนอดีตและความผูกพันที่มีต่อไปรษณีย์ไทยผ่านจดหมาย โปสการ์ดไปถึงคนที่คิดถึงผ่าน “ตู้ไปรษณีย์” สีแดง ทั่วประเทศ โดยองค์ประกอบในการส่งนั้นก็ยังคงเดิมทั้งรหัสไปรษณีย์ ซองจดหมาย แสตมป์ หยิบปากกาให้พร้อมแล้วไปเล่าเรื่องราวที่อยากส่งต่อถึงใครบางคนพร้อมกันได้เลย
นอกจากนี้ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปไปรษณีย์ไทยยังได้เปิดให้บริการเอาใจคนชอบส่งจดหมาย-โปสการ์ดด้วยบริการดิจิทัลกับแอปพลิเคชัน Prompt Post : พร้อมโพสต์ ที่ช่วยเก็บ – บันทึกข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ใครที่สนใจทำโปสการ์ดออนไลน์เพียงโหลดแอปฯ Prompt Post จากนั้นเลือกรูปที่ชอบด้วยตัวเองใส่ข้อความหรือสติกเกอร์ในโปสการ์ดและปักหมุดสถานที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถคลิกส่งต่อให้คนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วยบริการที่ไร้รอยต่อ
ในความเป็นจริงแล้วความนิยมของจดหมายไม่ได้เลือนหายไปกับกาลเวลา แต่สิ่งที่แปรเปลี่ยนคือจดหมายที่เป็นลายมืออาจไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ เหมือนในอดีต เนื่องด้วยวิถีชีวิต การแข่งขันกับเวลา ที่จดหมายต้องใช้ความรวดเร็วในการส่งถึงปลายทาง และอีกสิ่งที่ไม่เคยเลือนหายคือ “บทบาท” ที่หลายครั้ง “จดหมาย” ยังคงทำหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางในการส่งสารไปยังสาธารณชน ....คิดถึงความคลาสสิคของจดหมายกันไหม ลองเขียนจดหมายเซอร์ไพรส์คนที่คุณคิดถึงสักฉบับ และส่งผ่านพี่ไปรฯ กันเถอะ
ข่าวเด่น