บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ Sustainable Fisheries Partnership หรือ SFP รายงานความสำเร็จจากการทำงานร่วมกันในปีแรก เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างเป็นรูปธรรม โดยในรายงานระบุความคืบหน้าใน 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ปกป้องความหลากหลายทางชีว ภาพทางทะเล ความเข้าใจในห่วงโซ่อุปทาน และมีการส่งต่อความเข้าใจนี้ในระดับสากล การลดความสับสนในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล การระบุประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ และการสร้างตัวอย่างในการทำงานและผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหารทะเล
อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เพราะเราต้องลงมือทำกันอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ ทำให้เราตั้งใจที่จะผลักดันให้ทั้งอุตสาหกรรมทะเลทั่วโลกดีขึ้นผ่านกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® ของเรา ซึ่งพันธกิจต่างๆ ที่เราตั้งไว้นั้น มีเป้าหมายที่ชัดเจนและต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึง SFP ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างในระยะยาวเป็นจริงขึ้นได้ และด้วยความร่วมมือนี้ เรากำลังขอให้อุตสาหกรรมในวงกว้างมาร่วมมือกันทำงานด้านความยั่งยืน”
แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติ องค์กร SFP กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนได้สร้างมาตรฐานและความคาดหวังใหม่ให้กับการทำงานด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ด้วยพันธกิจที่ชัดเจนและมีเป้าหมายที่สูงในการปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเล ถ้าทุกคนปฏิบัติตามแนว ทางดังกล่าว อุตสาหกรรมอาหารทะเลก็จะมีบทบาทสำคัญในการเน้นย้ำถึงวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพในครั้งนี้ และช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ทะเลเหล่านี้"
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้เป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่ได้ลงนามกับ SFP เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาปกป้องสัตว์น้ำในมหาสมุทร ซึ่งแคธริน โนวัค และอดัม เบรนนัน ได้ลงนามร่วมกัน
ความคืบหน้าการทำงานด้านความยั่งยืนระหว่างไทยยูเนี่ยนและ SFP ใน 1 ปีแรก
1. ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล: ด้วยความร่วมมือกับ SFP ทำให้ไทยยูเนี่ยนได้มีการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานเพื่อตรวจสอบหาความเสี่ยงในการจับสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการปกป้องสัตว์น้ำเท่านั้น ไทยยูเนี่ยนยังเป็นผู้บุก เบิกในข้อเรียกร้องดังกล่าว และแนวทางการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบนี้มีการระบุไว้ในกลยุทธ์ SeaChange® 2030 อย่างชัดเจน
2. ความเข้าใจในห่วงโซ่อุปทาน และมีการส่งต่อความเข้าใจนี้ในระดับสากล: การใช้ระบบที่เรียกว่า Seafood Metrics system ของ SFP ทำให้ไทยยูเนี่ยนได้รับข้อมูลเชิงลึกในห่วงโซ่อุปทานในระดับสากล และสามารถเพิ่มความโปร่งใสในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และการที่บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลของแหล่งอาหารทะเลทั้งจากการประมงและการเพาะเลี้ยงในฟาร์ม ผ่านโครงการ Ocean Disclosure Project ของ SFP ทำให้การทำงานต่อยอดพันธกิจของบริษัทมีข้อมูลสนับสนุนให้เกิดความน่าเชื่อถือไว้วางใจยิ่งขึ้น
3. การลดความสับสนในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล: ในช่วงแรกที่มีการนำระบบ universal fishery identification system ของ SFP มาใช้นั้น ไทยยูเนี่ยนสามารถปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับได้ในห่วงโซ่อุปทานของปูม้า ซึ่งมาตรฐานในการประมงนี้ช่วยให้ไทยยูเนี่ยนพัฒนาเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับไปได้ไปอีกระดับ
4. การระบุประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ: เป็นไปตามแนวกลยุทธ์ SeaChange® 2030 ไทยยูเนี่ยนได้ทำงานด้านการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
5. สร้างตัวอย่างในการทำงานและผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหารทะเล: ไทยยูเนี่ยนได้จัดสรรงบประมาณซึ่งเทียบเท่ากำไรสุทธิในปี 2565 ในการดำเนินงานความยั่งยืนตามกลยุทธ์ SeaChange® ไปจนถึงปี 2573 ทำให้ทั้งอุตสาหกรรมหันมาให้ความสนใจ ความร่วมมือของไทยยูเนี่ยนกับ SFP และการมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาขึ้นในวงกว้าง โดยใช้แนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปกป้องระบบนิเวศของมหาสมุทร
ข่าวเด่น