สุขภาพ
รู้ก่อน-ป้องกันได้ ตรวจดีเอ็นเอค้นหาพิมพ์เขียวของร่างกาย ทางลัดดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน


หลายท่านคุ้นเคยและเข้าใจว่า “การตรวจดีเอ็นเอ” เป็นการตรวจหาความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล แต่ทราบหรือไม่ว่ามีการตรวจดีเอ็นเออีกประเภทหนึ่งที่ช่วยในการวิเคราะห์สุขภาพ เสมือนการไขรหัสลับชีวิตของแต่ละบุคคล ทำให้ทราบความเสี่ยงไม่เพียงกับโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านทางสายเลือด ยังทราบถึงความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของแต่ละคน เช่นจากพฤติกรรมการกิน การนอน การออกกำลังกาย หรือจากความเครียด เป็นต้น


เพราะความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรมไม่ได้มีแค่โรคมะเร็ง หรือโรคที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่ปัจจัยที่สำคัญมากยิ่งกว่าคือ พฤติกรรมที่นำพาไปสู่การเกิดโรค!

การตรวจดีเอ็นเอสามารถวิเคราะห์ได้ถึงพฤติกรรม การตอบสนองต่อสารอาหารของแต่ละคน เนื่องจากร่างกายแต่ละคนมีความต้องการไม่เท่ากัน นอกจากนี้ยังบอกถึงภาวะการนอนหลับ การต้านทานความเครียด ลักษณะการออกกำลังกายที่เหมาะสม ความอ่อนไหวต่อมลพิษ เป็นต้น

 
ข้อมูลที่ได้จากการตรวจดีเอ็นเอเหล่านี้ นอกจากทำให้รู้จักตนเองมากขึ้นแล้ว ยังสามารถนำมาวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เหมือนเป็นอีกตัวช่วยเพื่อการวางแผนป้องกันและดูแลสุขภาพ ยกตัวอย่าง กรณีคนที่น้ำหนักขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับพฤติกรรมตามผลลัพธ์รหัสพันธุกรรม เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การปรับสารอาหารที่ควรได้รับ ฯลฯ

 
พญ.กชกร เจริญผลพิบูลย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน คลินิกดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) กล่าวว่า การตรวจดีเอ็นเอ หรือ Genetic Testing เป็นการตรวจรหัสพันธุกรรมเสมือนการตรวจหาต้นทุนสุขภาพที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งแต่ละคนจะมีรหัสพันธุกรรมที่ควบคุมการแสดงออกแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา สีผม รูปลักษณ์ภายนอกต่าง ๆ รวมถึงระบบการทำงานภายในร่างกายที่บ่งชี้โอกาสของการเกิดโรค หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลในอนาคต

“การตรวจดีเอ็นเอ ไม่ใช่การวิเคราะห์โรค แต่เป็นการดูแลภาวะสุขภาพ และนำข้อมูลมาวางแผนในอนาคตเพื่อไม่ให้เป็นไปตามภาวะที่น่ากังวลเหล่านั้น เหมือนมี “แผนที่” มีพิมพ์เขียวของร่างกาย ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเดินไปตามแผนที่นั้นก็ได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงหาเส้นทางที่ดีกว่า สามารถดูแลป้องกันได้ล่วงหน้า หรือเพื่อชะลอการเป็นโรคให้ช้าลง เพื่อยืด Health Span คือช่วงเวลาที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีให้ยาวขึ้น”

 
ปัจจุบันด้วยกระแสของเวชศาสตร์เชิงป้องกันเป็นที่นิยมมากขึ้น คนจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย เพราะแม้จะกินคลีน หรือมีวินัยในการดูแลสุขภาพดีเพียงใด แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคที่ส่งผ่านทางอากาศและการสัมผัส มลภาวะในสิ่งแวดล้อม PM 2.5 เป็นต้น การตรวจดีเอ็นเอจึงเป็นอีกตัวช่วยของการวางแผนดูแลสุขภาพ ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงต่อโรคได้

 
การตรวจดีเอ็นเอในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นความสำคัญไปแค่เรื่องบอกความเสี่ยงของโรค แต่ในกรณีของเด็กเล็ก การตรวจดีเอ็นเอยังทำให้ทราบถึงสมรรถภาพทางร่างกายและความถนัดต่าง ๆ เช่น ความถนัดทางภาษา ทางคณิตศาสตร์ ทางดนตรี กีฬา หรือศิลปะ เป็นต้น ผู้ที่เข้ารับการตรวจดีเอ็นเอมีทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็ก คนหนุ่มสาววัยทำงานไปจนถึงคนสูงวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุราว 40 ปี ซึ่งมักมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจึงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ใช้การตรวจดีเอ็นเอเพื่อการนำข้อมูลที่ได้เทียบเคียงกับข้อมูลสุขภาพ ณ ปัจจุบัน เสมือนเป็นตัวช่วยเพิ่มเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ขณะเดียวกันก็มีพ่อแม่หลายคนที่พาลูกเข้ารับการตรวจ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนชีวิตให้ลูกตามทักษะความถนัด หรือถ้ามีพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพทย์ผู้ชำนาญการจะช่วยวางแผนด้านสุขภาพได้ด้วย โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่ยังเล็ก

สำหรับกระบวนการตรวจดีเอ็นเอ ที่คลินิกดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ใช้วิธีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม (Buccal Swab) จึงทำได้ง่าย ไม่เจ็บเพราะไม่ต้องเจาะเลือด และใช้เวลารวดเร็ว เพียงงดน้ำและอาหาร ไม่แปรงฟันหรือทำความสะอาดช่องปาก 2 ชั่วโมงก่อนการเก็บตัวอย่าง ใช้เวลารอผลประมาณ 1 เดือน จะได้ผลออกมาเป็นรายงานพิมพ์เขียวของร่างกายใช้เสมือนเป็นคู่มือดูแลสุขภาพ โดยจะมีแพทย์ผู้ชำนาญการเป็นผู้อ่านแปลผลและแนะแนวทางการดูแลสุขภาพระยะยาวให้อย่างตรงจุด

 
ถามว่า เมื่อตรวจดีเอ็นเอแล้วยังต้องตรวจสุขภาพประจำปีหรือไม่?

พญ.กชกร กล่าวว่า ดีเอ็นเอเหมือนเป็น “สมบัติ” ที่ได้มาจากพ่อแม่ สิ่งที่ได้จากการตรวจดีเอ็นเอคือ “หนังสือชีวิตส่วนตัว” เป็นแผนที่ที่ทำให้รู้จักตัวเองและสามารถวางเป้าหมายการดำเนินชีวิตได้ว่าควรหรือไม่ควรเดินไปทางไหน แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรค ณ ปัจจุบัน มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในวันนี้ ขณะนี้ ฉะนั้นแม้ว่าจะตรวจดีเอ็นเอแล้วยังจำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อดูว่าสุขภาพองค์รวมปัจจุบันเป็นอย่างไร ฯลฯ เพราะผลจากการตรวจดีเอ็นเอเป็นการคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มความเสี่ยงโรคมากกว่าผู้อื่น แต่ภาวะสุขภาพปัจจุบันต้องตรวจสุขภาพจึงจะทราบ

“ฉะนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการก่อนจึงไปพบแพทย์ เพราะโรคบางโรคไม่ได้ออกอาการจนวันที่เป็นหนักมาก ๆ และอาจทำให้รักษาไม่ทันท่วงที”

 
ทั้งนี้ รายงานการตรวจดีเอ็นเอจะแสดงผลอัตราความเสี่ยงเป็น “สีเขียว” (ผ่าน) และ “สีแดง” (เสี่ยง) พญ.กชกร ย้ำว่า แม้ว่าตรวจแล้วจะได้ผลเป็น “สีเขียว” แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เป็น เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตนั้นสำคัญมาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย เช่น มลพิษ PM 2.5 ความเครียด ฯลฯ ที่ทำให้เปลี่ยนจาก ”สีเขียว” เป็น “สีแดง”

บางคนคิดว่าตรวจดีเอ็นเอแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจเลือดเป็นการดูว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร อยู่สถานะไหน แต่การตรวจดีเอ็นเอเป็นการบอกแนวโน้มสุขภาพระยะยาวว่ามีต้นทุนสุขภาพอย่างไร และมีความเสี่ยงอะไร เพื่อนำไปปรับสมดุล เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาวะที่ดีและไม่เป็นไปตามความเสี่ยงนั้น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

 
การตรวจดีเอ็นเอ จึงเหมือนการได้รู้ลักษณะรหัสพันธุกรรม และแนวโน้มสุขภาพของตนเองล่วงหน้า และสามารถเดินให้ถูกเส้นทาง นอกจากประเมินความเสี่ยงของโรคได้แล้วยังสามารถใช้ผลตรวจไปวิเคราะห์ศักยภาพด้านต่าง ๆ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการตรวจเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต เป็นทางลัดการวางแผนสุขภาพที่รู้ก่อน - ป้องกันก่อน

 
 
BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาและวิจัยเรื่องสุขภาพ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เพราะสุขภาพที่ดี คือของขวัญที่ดีที่สุด Live longer, Healthier, and Happier

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ไลน์ @bdmswellnessclinic or https://lin.ee/rdIDv1A เว็บไซต์ www.bdmswellness.com

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 01 ก.ย. 2566 เวลา : 11:40:10
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 3:18 am