ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จัดงานสัมมนาครั้งสำคัญ “เตรียมพร้อมต้านทานทุกความเปลี่ยนแปลง Thriving Forward 2024 and Beyond” ให้ลูกค้าธุรกิจรับรู้ข้อมูลและมุมมองเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน ความยั่งยืน ในช่วงเวลาสำคัญของการจัดทำแผนธุรกิจและงบประมาณสำหรับปี 2567 โดยมีตัวแทนลูกค้าบริษัทต่างๆ ตอบรับและเข้าฟังถึง 300 คน วิทยากร ได้แก่ ผู้บริหารจาก ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ดร. อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย เพา จาตกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน เจสัน ลี หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน ภิสัก อึ้งถาวร ผู้บริหารฝ่ายวิจัยตลาดเงินและที่ปรึกษาการลงทุน และ เกษม พันธ์รัตนมาลา ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวเปิดงานโดย วุธว์ ธนิตติราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บรรษัทธุรกิจและธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย งานจัดขึ้น ที่ โรงแรม ดิ แอทธินี เมื่อเร็วๆ นี้
วุธว์ ธนิตติราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บรรษัทธุรกิจและธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวเปิดงานสัมมนา ช่วงเวลานี้เป็นช่วงทำแผนธุรกิจและงบประมาณปีหน้า จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า เศรฐกิจปีหน้าจะโตช้ากว่าปีนี้ เงินเฟ้อยังมีอยู่ ดอกเบี้ยจึงขึ้นต่อ แต่เห็นสัญญาณเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว และดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้ถึงปลายทาง เศรษฐกิจสหรัฐ ยังโตได้ แต่ปีหน้าจะชะลอตัว ด้าน EU ก็เติบโตช้าเช่นกัน ฝั่งญี่ปุ่น เยนมีโอกาสอ่อนค่า เพื่อช่วยพยุงส่งออก ส่วนจีนมีความเสี่ยงมาก คาดว่าจะเติบโต 4% กว่าๆ มีกับดักหนี้ภาคธุรกิจ ขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเศรษฐกิจจีนมีผลกระทบไทย
สำหรับประเทศไทย คาดว่า GDP ปี 2566 จะอยู่ที่ 3.0% และ ปี 2567 อยู่ที่ 3.5% ปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ที่ภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลางถึงสูงซึ่งมีกำลังซื้อที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางการรอคอยการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่คาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในไตรมาส 2/2567
นโยบายรัฐบาล 4 เรื่องที่น่าจับตา 1. ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ภายในปี 2570 จะเป็นไปได้ ต้องทำให้ GDP เติบโตได้ที่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ไปเรื่อยๆ ภายในปี 2570 2. เงินดิจิทัล 10,000 บาท คาดว่าช่วงแรกจะจ่ายเงินกระตุ้นชุมชนโดยทำคู่ขนานกันระหว่างดิจิทัลและแอปเป๋าตังค์ 3. พักหนี้เกษตรกร 4. ขยายเขตเศรษฐกิจจากกรุงเทพไปภูมิภาคอื่นๆ
เกษม พันธ์รัตนมาลา ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ สาเหตุหลักคือ ผลประกอบการของบริษัจดทะเบียน Q2/23 ลดลง 1 ใน 3 เทียบกับปีก่อน จากที่ได้พูดคุยสอบถามนักลงทุนต่างชาติในงาน Thailand Focus สาเหตุที่ยังไม่กลับมาซื้อสักที เพราะนโยบายของรัฐบาลใหม่ยังไม่ชัดเจน หากรัฐบาลใหม่ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับตลาดภายในประเทศน่าจะมีผลการดำเนินงานที่ดี เช่น ธนาคาร บริษัทรับเหมา ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว ในทางตรงข้าม ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายพลังงาน อาจส่งผลให้ภาคพลังงาน underperform แต่โดยภาพรวมหากนโยบายรัฐบาลชัดเจน การเมืองมีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของตลาดจะดีขึ้นอย่างมาก
เพา จาตกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า CIMBT สนับสนุนลูกค้าขยับเงินออมมาลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนสูงขึ้น หลังบุกเบิกตลาดตราสารหนี้จริงจัง 10 ปี CIMBT ขึ้นแท่นผู้นำตลาด มูลค่าธุรกรรมซื้อขายตราสารหนี้ทุกประเภทที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ด้วยส่วนแบ่งตลาด 15% และอันดับ 1 มูลค่าธุรกรรมซื้อขายหุ้นกู้เอกชน ด้วยส่วนแบ่งตลาด 25% ในฐานะผู้นำตลาด CIMBT ไม่เคยหยุดพัฒนา บนยุทธศาสตร์เชิงรุก แผนธุรกิจปี 2567 จะก้าวเป็น CIMB Thai Best Bond House ทำให้หุ้นกู้ซื้อง่าย ขายได้ทุกวัน มองเห็นโอกาสที่หุ้นกู้ตลาดรองจะเติบโตได้อีก 10-20 เท่า
ภิสัก อึ้งถาวร Head, Market Research and Advisory ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน และผู้เชี่ยวชาญจากทีม Market Research and Advisory ให้ความรู้ลูกค้าอย่างเข้มข้น เพราะนักลงทุนไทยจำนวนมากยังไม่ทราบว่า หุ้นกู้ที่ซื้อไว้ไม่ต้องรอจนครบกำหนดก็สามารถขายเพื่อเปลี่ยนเป็นกระแสเงินสด หรือเปลี่ยนเป็นหุ้นกู้ที่อยากจะลงทุนเมื่อเห็นโอกาสใหม่ๆ ก็สามารถทำได้ CIMBT คัดคัดเลือกหุ้นกู้ดีๆ เรตติ้งดี มาให้ลูกค้าเลือกทุกวัน เป็นธนาคารเดียวที่ลูกค้าสามารถเดินเข้ามาซื้อหุ้นกู้ได้ตลอด และผลิตภัณฑ์ครบรองรับทุกสภาวะตลาด และตลาดต่างประเทศ อาทิ Offshore ELN
เจสัน ลี หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า Megatrends Beyond 2024 หรือทิศทางความยั่งยืนที่กำลังจะมา คือ อุตสาหกรรม 5.0 (Industry 5.0) ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยนำมุมมองด้าน ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) สร้างความสมดุลกับเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ และที่กำลังมาแรงคือ Green Skills และ Green Jobs คือ การจ้างบุคลากร ที่มีทักษะทางเศรษฐกิจซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการจ้างงานที่ช่วยส่งเสริมและฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดการใช้พลังงาน ซึ่งปัจจุบัน ความต้องการแรงงานด้านนี้มีสูงกว่าคนในตลาดแรงงาน
ตัวแทนลูกค้าบริษัทต่างๆ ตอบรับและเข้าฟังถึง 300 คน
ข่าวเด่น