· ปฏิบัติการอุปกรณ์แบบบูรณราการสำหรับการผลิต การกักเก็บ และการใช้ไฮโดรเจนคาดว่าจะนำไปสู่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนรุ่นใหม่
· การดำเนินการเร่งเชิงพาณิชย์ของกังหันก๊าซไฮโดรเจนคาดว่าจะมีส่วนทำให้สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนเกิดขึ้นจริงได้โดยเร็ว
มิตซูบิชิ พาวเวอร์ แบรนด์โซลูชั่นด้านพลังงานของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด (MHI) ได้ประกาศว่าทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์ค โรงงานทดสอบไฮโดรเจนแบบบูรณาการแห่งแรกของโลกได้เข้าสู่ปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์ค ตั้งอยู่ที่โรงงานเครื่องจักรทากาซาโงะของมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ ในจังหวัดเฮียวโงะ ทางตอนกลางฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่น เมื่อไม่นานมานี้ที่ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์ค ได้เริ่มเดินเครื่องการผลิตไฮโดรเจนแบบอิเล็กโทรไลซิส และมิตซูบิชิ พาวเวอร์ มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบการเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมกับไฮโดรเจน และการเผาไหม้ไฮโดรเจน 100% โดยใช้กังหันก๊าซ ในขณะเดียวกันก็ยังดำเนินการขยายอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนรุ่นใหม่
ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์คแบ่งออกเป็นพื้นที่ต่าง ๆ โดยแบ่งไฮโดรเจนออกเป็นสามส่วน ได้แก่ การผลิต การกักเก็บ และการใช้ไฮโดรเจน ในส่วนของพื้นที่การผลิต อัลคาไลน์อิเล็กโทรไลเซอร์ที่ผลิตโดยไฮโดรเจนโปร เอเอส ของนอร์เวย์ที่มีกำลังการผลิตไฮโดรเจนอยู่ที่ 1,100 ลูกบาศก์เมตร/ชม.ซึ่งสูงที่สุดในโลก โดยได้เริ่มปฏิบัติการเดินเครื่องแล้ว ไฮโดรเจนที่ผลิตจะเก็บในอุปกรณ์กักเก็บโดยมีความจุทั้งหมดอยู่ที่ 39,000 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้การตรวจสอบอุปกรณ์เผาไหม้ไฮโดรเจนจะดำเนินการที่โรงงานตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังงานร่วม T-Point 2 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่การใช้งาน โดยใช้กังหันก๊าซขนาดใหญ่ JAC (J-series Air-Cooled) ของมิตซูบิชิ พาวเวอร์ (ขนาด 450 เมกะวัตต์) ตลอดจนกังหันก๊าซ H-25 ขนาดเล็กและขนาดกลาง (ขนาด 40 เมกะวัตต์) ซึ่งติดตั้งไว้เพื่อขับเคลื่อนคอมเพรสเซอร์ที่โรงงานทดสอบการเผาไหม้ไฮโดรเจนจะผลิตที่ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์คเพื่อตรวจสอบการเผาไหม้ไฮโดรเจน 30%*1 ที่ T-Point 2 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมแบบใช้กังหันก๊าซ JAC ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า และมีแผนที่จะเสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีนี้ การตรวจสอบการเผาไหม้ไฮโดรเจน 100% ในกังหันก๊าซ H-25 มีแผนที่จะดำเนินการในปี 2567
มิตซูบิชิ พาวเวอร์ กำลังพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน ซึ่งรวมถึงเซลล์อิเล็กโทรไลซิสชนิดออกไซด์แข็ง (SOEC) เมมเบรนแลกเปลี่ยนประจุลบ (AEM) อิเล็กโทรไลเซอร์น้ำ และเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนสีฟ้าน้ำทะเลรุ่นใหม่ที่ผลิตไฮโดรเจนโดยไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) ผ่านกระบวนการไพโรไลซิสมีเทนให้กลายเป็นไฮโดรเจนและคาร์บอนที่อยู่ในสภาพของแข็ง บริษัทมีแผนที่จะดำเนินการยืนยันและตรวจสอบในด้านต่อไปนี้ตามลำดับ หลังจากพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีของตนเองที่นางาซากิ คาร์บอน นิวทรัล พาร์ค*2 มิตซูบิชิ พาวเวอร์ วางแผนที่จะดำเนินการตรวจสอบการผลิตไฮโดรเจนของเทคโนโลยีเหล่านี้ที่ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์ค โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุการต่อยอดเชิงพาณิชย์
กลุ่มบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ กำลังดำเนินการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในฐานะกลไกขับเคลื่อนการเติบโตตามคำประกาศ "MISSION NET ZERO" โดยตั้งเป้าหมายที่จะไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2583 บริษัทฯริเริ่มโครงการโดยแบ่งออกเป็นสามด้านหลัก ๆ ได้แก่ การลดการปล่อยคาร์บอนของโครงสร้างพื้นฐานเดิม การทำให้ระบบนิเวศโซลูชั่นไฮโดรเจนเกิดขึ้นจริง การบรรลุการสร้างระบบนิเวศโซลูชั่นคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2)มิตซูบิชิ พาวเวอร์ พยายามที่จะสร้าง "ระบบนิเวศโซลูชั่นไฮโดรเจน" ซึ่งจะใช้ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์คเพื่อเป็นส่วนช่วยในการผลักดันการพัฒนาและการตรวจสอบอุปกรณ์จริงของเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนและการสร้างพลังงานไฟฟ้า บริษัทจะยังคงมีส่วนในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกอย่างมั่นคง และทำให้สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนเกิดขึ้นจริงอย่างรวดเร็วโดยอาศัยผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงของบริษัท
หมายเหตุ
*1: อัตราส่วนปริมาณไฮโดรเจนแสดงเป็นอัตราส่วนปริมาตร
ข่าวเด่น