การแข่งขันออกแบบนวัตกรรมระดับโลก James Dyson Award ได้เดินทางมาถึงในระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ประกาศรายชื่อและผลงาน 20 ชิ้นที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ โดยหนึ่งใน 20 ทีมจากเยาวชนจากหลากหลายประเทศทั่วโลกนี้จะเป็นผู้ชนะรางวัลชนะเลิศ และได้รับเงินรางวัลมูลค่า 1,200,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาผลงานต่อไป
แค่ความคิดก็เปลี่ยนชีวิตได้
เป็นอีกปีที่ไอเดียและผลงานจากนักประดิษฐ์และนวัตกรรุ่นใหม่จากทั่วโลกพิสูจน์ให้เห็นว่าพลังในการไม่หยุดเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในการคิดค้นโซลูชันที่สามารถเปลี่ยนชีวิตได้
หนึ่งในผู้เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายจากประเทศสิงคโปร์ โดดเด่นด้วยผลงานอุปกรณ์เสื้อสำหรับช่วยพักฟื้นในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ในชื่อผลงานว่า Auxobrace โดย อี เอียน เซียว (E Ian Siew) เจ้าของผลงานผู้เป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ได้เผยว่าแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์นวัตกรรมนี้มากจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านความยากลำบากในการพักฟื้นหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ผลงานนี้ผ่านการปรึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาให้ Auxobrace สามารถใช้ได้กับผู้ได้รับการผ่าตัดแบบอื่นด้วย
ความคิดสร้างสรรค์แม้จะเป็นเรื่องที่ดูเล็กน้อย แต่ในบางครั้งอาจสามารถสร้างคุณูปการได้ในระดับโลก หนึ่งในไอเดียและผลงานที่อาจดูเล็กแต่สามารถเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายได้ มาจากประเทศฟิลิปปินส์ โดย เจอเรมี เดอ ลียง (Jeremy De Leon) เจ้าของผลงาน Make-roscope เข้ารอบด้วยผลงานพวงกุญแจที่
สามารถเปลี่ยนกล้องบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้กลายเป็นกล้องจุลทรรศน์ โดยผลงานนี้ทำให้นักเรียนและครูผู้สอนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น โดยคาดว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนักวิทยาศาตร์รุ่นใหม่เพิ่มขึ้นในอนาคต พวงกุญแจ Make-roscope นี้ถูกใช้ไปแล้วโดยนักเรียนและครูในประเทศฟิลิปปินส์กว่า 3,000 คน
ผู้เข้ารอบจากประเทศออสเตรเลีย อเล็กซานเดอร์ เบอร์ตัน (Alexander Burton) เข้ารอบด้วยผลงาน REVR อุปกรณ์ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้ยานพาหนะ และเนื่องจากในประเทศออสเตรเลียต้นทุนในการซื้อรถพลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง โซลูชัน REVR ที่เป็นอุปกรณ์ดัดแปลงเครื่องยนต์เชื้อเพลิงให้เป็นเครื่องยนต์ไฮบริดที่ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยพลังงานสะอาดลงในสู้ระดับที่เข้าถึงได้
เรเชล พิงก์ (Rachael Pink) หัวหน้าแผนกพัฒนาเทคโนโลยี Dyson ได้กล่าวถึงเกณฑ์การคัดเลือก 20 ทีมสุดท้ายไว้ว่า “เจ้าของผลงานต้องแสดงให้เราเห็นว่าพวกเขาเข้าใจในผลงานของตัวเองจริง ๆ ต้องแสดงให้เห็นถึงความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการนำใช้จริง ความพร้อมในการเจอปัญหาและความท้าทายในอนาคต ผลงานบางชิ้นที่เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้ล้มเหลวระหว่างทางของการพัฒนาผลงาน แต่พวกเข้าเลือกที่จะเอาความผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงปให้ผลงานดียิ่งขึ้น”
การแข่งขันอันเข้มข้น คัดเลือกโดยมันสมองอันหลากหลาย
ความคิดอันน่าทึ่งมักมาจากการรับฟังความคิดที่หลากหลายประกอบกับประสบการณ์ โดยคณะกรรมการที่คัดเลือก 20 ทีมสุดท้ายประกอบด้วยวิศวกรจาก Dyson จำนวน 14 คนโดยมาจากสำนักงานและศูนย์การวิจัยและพัฒนาของ Dyson จากทั่วทุกมุมโลกทั้งจาก สิงคโปร์, สหราชอาณาจักร, มาเลเซีย, และฟิลิปปินส์ โดยคณะกรรมการประกอบด้วยความเชี่ยวชาญในหลากหลายแขนงตั้งแต่ ด้านความยั่งยืน อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม เสียง และการจัดเก็บพลังงาน นอกจากนั้นยังร่วมโดยนักศึกษาจากสถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยี Dyson ที่มาแบ่งปันมุมมองสดใหม่ และท้าทายความรู้ดั้งเดิมด้านการออกแบบ
คณะกรรมการได้ทำการวิเคราะห์ หารือ และตรวจสอบผลงานจากผู้ชนะและรองชนะเลิศในระดับประเทศ จนได้มาเป็น 20 ผลงานสุดท้ายที่จะชิงชัยกันในระดับนานาชาติภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้
“รางวัล James Dyson Award ได้ให้พื้นที่แก่นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ในการแสดงความสามารถและนวัตกรรมของพวกเขาบนเวทีระดับโลก สำหรับฉันมันเป็นเรื่องน่ายินดีมากที่เรามีโอกาสได้เห็นนวัตกรรุ่นใหม่ได้คิดค้นโซลูชันที่หลากหลายที่แก้ปัญหาในหลากหลายด้าน ตั้งแต่ด้านการแพทย์จนไปถึงด้านความยั่งยืน” หง เฟย หู (Hong Fei Hu) หัวหน้าแผนกอิเล็กทรอนิกส์จาก Dyson กล่าว
เฟรยา มัวร์ (Freya Moore) นักศึกษาระดับปริญญาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี Dyson กล่าวถึงการประกวดรางวัล James Dyson Award ไว้ว่า “สำหรับนักศึกษา การแข่งขันออกแบบ James Dyson Award ได้วาดภาพความเป็นไปได้ของวิศวกรรมได้อย่างน่าทึ่ง การที่ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการทำได้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้ ที่ฉันเองอาจไม่มีวันพบเจอด้วยตัวเอง และยังได้ชื่นชมโซลูชันและความคิดในการแก้ปัญหาอันน่าทึ่งจากทีมผู้เข้ารอบอีกด้วย”
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น